'ไล่หนูตีงูเห่า' กับที่มาของตำนาน 'ราชสีห์กับหนู' ถึง 'ชาวนากับงูเห่า'

'ไล่หนูตีงูเห่า' กับที่มาของตำนาน 'ราชสีห์กับหนู' ถึง 'ชาวนากับงูเห่า'
ถึงเราจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของยุทธศาสตร์ "ไล่หนูตีงูเห่า" แต่อย่างน้อย เราลองมาเปิดตำนานที่มาของนิทานที่เกี่ยวกับคำพูดยอดฮิตของวงการเมืองไทยในตอนนี้กันดีกว่า 

"ไล่หนูตีงูเห่า" ฟังดูเหมือนเอาชื่อของนิทานอีสปเรื่อง "ราชสีห์กับหนู" (The Lion and the Mouse) และ "ชาวนากับงูเห่า" (The Snake and the Farmer) มาผสมกัน เอาเข้าจริงแล้วมันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่พอสมควรด้วย แต่ก่อนอื่น เรามาดูกันก่อนว่า นิทานเรื่อง "ราชสีห์กับหนู" และ "ชาวนากับงูเห่า" มาจากไหน

นิทานเก่าไม่เคยแก่
นิทานอีสป หรือ Aesopica คือ นิทานต่างๆ ที่เล่าโดย "อีสป" (Aesop) ทาสและนักเล่าเรื่องที่อาศัยอยู่ในกรีกโบราณระหว่าง 620 ถึง 564 ปีก่อนคริสตศักราช จากต้นกำเนิดที่หลากหลาย นิทานบางส่วนมีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด เช่น จากอารยธรรมซูเมอร์  บางส่วนมีความคล้ายคลึงกับทนิทานที่เล่ากันในเอเชียตะวันออก บางเรื่องได้รับอิทธิพลจากนิทานชาดกของศาสนาพุทธและปัญจตันตระของศาสนาฮินดู ดังนั้น นิทานอีสปจึงเป๋นการสืยทอดเรื่องเล่าที่เก่าแก่ของมนุษยชาติจากต้นกำเนิดอารยธรรมของโลก ไม่ว่าจะเป็นเมโสโปเตเมีย อินเดียโบราณ ไปจนถึงกรีกโบราณ และมันยังถูกเล่าขานต่อมาจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญ นิทานและตัวละครจากนิทานอีสปยังถูกใช้เปรียบเปรยสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่คำว่า "ไล่หนูตีงูเห่า"

ราชสีห์กับหนู
ราชสีห์กับหนูเป็นหนึ่งในนิทานอีสป แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันโดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือสถานะของบุคคลนั้นๆ เรื่องนี้มีหลายเวอร์ชั่น 

ในเวอร์ชันที่เก่าแก่ที่สุด เล่าว่า สิงโตขู่หนูที่ปลุกสิงโตจากการหลับใหล หนูจึงขอให้สิงโตให้อภัย และชี้ว่าหนูเป็นเหยื่อที่ไม่คู่ควรกับสถานะสิงโตและสิงโตจะเสื่อมเสียเกียรติถ้าจะกินมัน สิงโตตกลงและปล่อยหนูให้เป็นอิสระ ต่อมาสิงโตถูกนายพรานล่าจนติดตาข่าย หนูได้ยินเสียงคำรามของสิงโตและระลึกถึงความเมตตากรุณาของมัน จึงมาช่วยปลดปล่อยสิงโตด้วยการใช้ฟันแทะตาข่ายจุดสิงโตหลุดอกมาได้ คติธรรมของเรื่องคือ: ความเมตตานำมาซึ่งรางวัล และไม่มีสัตว์ตัวใดที่เล็กจนไม่สามารถช่วยเหลือผู้ที่ใหญ่กว่าได้ 

ต่อมายังมีเวอร์ชั่นยุคหลังที่แต่งเติมจนคติธรรมของเรื่องผิดเพี้ยนไป เช่น ลอเรนติอุส อับสเตมิอุส ( Laurentius Abstemius) นักปรัชญาสำนีกนีโอ-ละตินสร้างภาคต่อของเรื่องราวด้วยคติธรรมที่ตรงกันข้ามจากเวอร์ชั่นเดิมในหนังสือของเขา ชื่อ Hecatomythium (ค.ศ. 1499) ในเรื่องนี้สิงโตสัญญากับหนูว่าจะตบรางวัลใดให้กับหนูทุกอย่าง ขอแค่ให้บอกมาถ้าหนูช่วยปล่อยให้มันเป็นอิสระ หนูขอลูกสาวของสิงโตแต่งงาน แต่เจ้าสาวเหยียบสามีของเธอที่เป็นหนูโดยไม่ได้ตั้งใจในคืนวันแต่งงาน  นิทานเวอร์ชั่นนี้สอนว่าชี้ให้เห็นว่าคนเราไม่ควรพยายามยกระดับสถานะของตัวเองด้วยการแต่งงาน 

ชาวนากับงูเห่า

เรื่องนี้มีหลายเวอร์ชั่นยิ่งกว่าและมีคติสอนใจที่หลากหลายกว่า เรามักจะได้ยินเรื่องนี้ในเวอร์ชั่นที่ชาวนาไปช่วยงูเห่าที่กำลังจะหนาวตาย แต่พอรอดตายแล้ว งูกลับฉกชาวนาเสียอย่างนั้น คติสอนใจจากเวอร์ชั่นนี้จะบอกกับเราเรื่องตัวอย่างของคนอกตัญญไม่รู้คุณ  แต่ในเวอร์ชั่นอื่นๆ ของนิทานอีสปกลับสอนเราเรื่องการอาฆาตแค้นของคนและงูที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัวเพราะความโลภ 

นิทานกรีกเวอร์ชั่นที่เก่าแก่ที่สุด เล่าว่า งูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในโพรงที่ธรณีประตูบ้านของชาวนา แต่ชาวนาก็ยอมทนให้งูอยู่ได้เรื่อยมา จนกระทั่งลูกชายไปเหยียบมันเข้าโดยบังเอิญจึงถูกงูกัดและเสียชีวิต พ่อที่โกรธแค้นจึงไล่ล่างูด้วยขวานและตัดหางของมัน เมื่อเขาพยายามที่จะคืนดีกับงูในภายหลัง มันก็ปฏิเสธเพราะทั้งคู่จะไม่มีวันลืมความเจ็บปวดที่ต่างฝ่ายต่างกระทำต่อกัน 

อีกเวอร์ชั่นหนึ่งจากนิทานปัญจตันตระของอินเดียในปลายศตวรรษที่ 12 เล่าว่า ชาวนาเห็นงูโผล่ออกมาจากเนินดินในนาของตน และนำอาหารมาเซ่นไหว้ ในทางกลับกันงูก็จะทิ้งเหรียญทองไว้ในชามเป็นการตอบแทน แต่ลูกชายของชาวนานี้เชื่อว่าเขาจะพบขุมสมบัติในรูงูและพยายามจะฆ่ามัน แต่ลูกชายของชาวนากลับเสียชีวิตแทน เมื่อชาวนาคนนั้นมาขอโทษ งูปฏิเสธที่จะตคืนดี และประกาศว่าชาวนาทำดีกับงูก็เพราะความโลภเท่านั้น

เกี่ยวอะไรกับไล่หนูตีงูเห่า?
อาจจะไม่เกี่ยวกับนิทานอีสป แต่มันหยิบยืมจากคำจากคนละบริบทมาต่อกันจนคล้ายกับชื่อของนิทานอีสป "หนู" ในยุทธศาสตร์ "ไล่หนูตีงูเห่า" ของพรรคเพื่อไทย หมายถึง อนุทิน ชาญวีรกูล ผู้มีชื่อเล่นว่า "หนู" ส่วนคำว่า "งูเห่า" หมายถึงนักการเมืองที่พร้อมที่จะย้ายพรรคหนีเมื่อผลประโยชน์ไม่ลงตัว 

แต่ถ้าดูให้ดีๆ เราจะพบว่า "หนู" อนุทิน มีส่วนช่วยพรรคใหญ่ที่เหมือนราชสีห์อย่างเพื่อไทยอยู่เหมือนกัน แต่ในพรรคเพื่อไทยเองก็เอาจเกิดความขัดแย้ง จนกระทั่งเกิดการหักหลังกันเหมือนนิทานเรื่องชาวนากับ "งูเห่า" 

Photo credit: Library of Congress / Commons 

 

TAGS: #ไล่หนูตีงูเห่า #อีสป #เพื่อไทย