ในอีกแค่ 10 ปี โลกเราจะมีมหาเศรษฐีที่รวยถึง 'ล้านล้าน' คนแรกในประวัติศาสตร์

ในอีกแค่ 10 ปี โลกเราจะมีมหาเศรษฐีที่รวยถึง 'ล้านล้าน' คนแรกในประวัติศาสตร์

Oxfam มูลนิธิเพื่อการกุศลระดับโลกเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมและอำนาจขององค์กรทั่วโลก ว่า บุคคลที่ร่ำรวยที่สุด 5 อันดับแรกของโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 405,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 869,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2563 

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้รวยขึ้นใน 14 ล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมง 

ในขณะที่ผู้คนเกือบ 5,000 ล้านคนมีฐานะยากจนลง  หากแนวโน้มปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป โลกจะมีมหาเศรษฐีระดับ "ล้านล้านดอลลาร์" หรือ Trillionaire  เป็นคนแรกภายในหนึ่งทศวรรษ แต่ความยากจนจะไม่หมดสิ้นไปอีก 229 ปี

ปัจจุบันโลกของเรามีมหาเศรษฐีในระดับ Billionaire เท่านั้น โดยคนกลุ่มนี้รวยในหลักพันล้าน (billion)  หมื่นล้าน (tens of billion) และแสนล้านดอลลาร์ (hundreds of billion) แต่ยังไม่มีใครที่มีทรัพย์สินส่วนตัวมากถึง "ล้านล้านดอลลาร์" หรือ Trillion

รายงานนี้มีชื่อว่า “Inequality Inc.” เผยแพร่ในขณะที่กลุ่มนักธุรกิจชั้นนำรวมตัวกันในเมืองตากอากาศดาวอสของสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อร่วมการประชุมของบรรดามหาเศรษฐีและนักการเมืองโลก คือการประชุม World Economic Forum หรือ WEF 

รายงานเปิดเผยว่า 7 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีมหาเศรษฐีเป็น CEO หรือผู้ถือหุ้นหลัก บริษัทเหล่านี้มีมูลค่า 10.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับมากกว่า GDP รวมกันของทุกประเทศในแอฟริกาและละตินอเมริกา

“เรากำลังเห็นจุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการแบ่งแยก โดยผู้คนหลายพันล้านต้องแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ อัตราเงินเฟ้อ และสงคราม ในขณะที่ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีกำลังเฟื่องฟู ความไม่เท่าเทียมกันนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ชนชั้นมหาเศรษฐีกำลังทำให้มั่นใจว่าบริษัทต่างๆ จะส่งมอบความมั่งคั่งให้กับพวกเขามากขึ้น โดยที่คนอื่นๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่าย” อมิตาภ เพหาร์ (Amitabh Behar) ผู้อำนวยการบริหารชั่วคราวของ Oxfam International กล่าว

“อำนาจหลบเลี่ยงของบริษัทต่างๆ และอำนาจผูกขาดเป็นกลไกที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ด้วยการบีบคนงาน การหลบเลี่ยงภาษี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการกระตุ้นให้เกิดการพังทลายของสภาพภูมิอากาศ บรรษัทต่างๆ กำลังส่งมอบความมั่งคั่งอันไม่มีที่สิ้นสุดให้กับเจ้าของที่ร่ำรวยเป็นพิเศษของพวกเขา แต่พวกเขากำลังลั่นทอนอำนาจ บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยและสิทธิของเราด้วย ไม่มีบริษัทหรือบุคคลใดไม่ควรมีอำนาจมากขนาดนี้เหนือเศรษฐกิจและชีวิตของเรา พูดให้ชัดเจนก็คือ ไม่มีใครควรมีเงินหนึ่ง 1,000 ล้านดอลลาร์”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การสั่งสมความมั่งคั่งมหาศาลในคนไม่กี่คนแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่ความยากจนทั่วโลกยังคงจมอยู่ที่ระดับเท่ากับก่อนเกิดการระบาดใหญ่ บรรดามหาเศรษฐีต่างก็ร่ำรวยขึ้นมากกว่าในปี 2020 ถึง 3.3 ล้านล้านดอลลาร์ และความมั่งคั่งของพวกเขาก็เติบโตเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อถึง 3 เท่า

แม้จะเป็นตัวแทนเพียงร้อยละ 21 ของประชากรโลก แต่ประเทศร่ำรวยในซีกโลกเหนือเป็นเจ้าของความมั่งคั่งร้อยละ 69 ของโลก และประเทศเหล่านี้ยังเป็นที่เก็บรักษาความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีร้อยละ 74 ของโลก
 
การเป็นเจ้าของหุ้นเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่ร่ำรวยที่สุดอย่างท่วมท้น คนที่รวยที่สุดในโลกที่มีจำนวนแค่ร้อยละ 1 ของประชากรโลก เป็นเจ้าของร้อยละ 43 ของสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก พวกเขาถือครองความมั่งคั่งทางการเงินร้อยละ 48 ในตะวันออกกลาง, ร้อยละ 50 ในเอเชีย และร้อยละ 47 ในยุโรป

บริษัทขนาดใหญ่ต่างๆ เตรียมทำลายสถิติจากการกอบโกยกำไรประจำปีในปี 2566 โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 148 แห่งรวมกันมีกำไรสุทธิรวม 1.8 ล้านล้านดอลลาร์จากตัวเลขจนถึงเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับ กำไรสุทธิเฉลี่ยปี 2561-2564 ผลกำไรของพวกเขาเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 700,000 ล้านดอลลาร์ 

รายงานพบว่าเงินทุกๆ 100 ดอลลาร์ของกำไรที่ทำได้โดยบริษัทใหญ่ 96 แห่งระหว่างเดือนกรกฎาคม 2565 ถึงมิถุนายน 2566 จะมีแบ่งจ่าย 82 ดอลลาร์ให้กับผู้ถือหุ้นที่มีฐานะร่ำรวย

ในขณะที่คนจนก็มีชีวิตที่ยากลำบากขึ้น ผู้คนทั่วโลกทำงานหนักขึ้นและยาวนานขึ้น บ่อยครั้งพงกเขาต้องทำงานหนักเพื่อค่าจ้างที่ต่ำมากในงานที่ไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัย ค่าจ้างของคนงานเกือบ 800 ล้านคนไม่สามารถไล่ตามอัตราเงินเฟ้อได้ และคนจนทั่วโลกต้องสูญเสียเงินรวมกันถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เทียบเท่ากับการสูญเสียค่าจ้างเกือบหนึ่งเดือน (25 วัน) สำหรับคนงานแต่ละคน

Photo by AHMAD AL-RUBAYE / AFP