กว่า 36% ของประชากรไทย ไม่ได้ต้องการเลิกบุหรี่ การใช้ Harm Reduction คือนโยบายหรือมาตรการสาธารณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเสพติดในผู้ใช้สารเสพติด
อันตรายจากการสูบบุหรี่มวนเป็นที่รับรู้กันดีมาโดยตลอด สาเหตุของการเสพติด และอันตรายจริงๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้นั้นได้ถูกแทนที่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้า หรือหมากฝรั่ง แต่กระนั้นก็ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่เลิกสูบบุหรี่มวน และการรับข้อมูลจากภาครัฐเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีมากพอๆกับบุหรี่มวนนั้นยิ่งทำให้คนเลือกจะสูบบุหรี่มวนต่อไป
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า กว่า 36% ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่กลับบอกว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการเลิกบุหรี่ ขณะที่อีก 27% เคยคิดแต่ไม่เคยพยายามเลิกบุหรี่ แม้จะมีการรณรงค์อย่างเข้มข้นทั้งจากทางสาธารณสุข หรือการใช้กฏหมายทั้งเรื่องของการซื้อขาย แพคเกจจิ้งที่ชี้ให้เห็นอันตรายก็ตามทำให้เป้าหมายที่จะลดจำนวนคนสูบบุหรี่ลงนั้นอยู่ในอัตราที่ช้า แบบไม่มีนัยยะสำคัญใดๆ
ต่างจากประเทศในแถบราชอาณาจักร อเมริกา แคนนาดา และนิวซีแลนด์ที่ใช้วิธีการรณรงค์ลดอันตรายจากการเสพติด หรือเรียกว่า Harm Reduction ในการช่วยให้ประชาชนในประเทศเลิกสูบบุหรี่มวน แล้วหันมาใช้วิธีอื่นในการเสพติดนิโคตินแทน เพื่อลดอันตรายจากสารก่อมะเร็ง และควันมือสอง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (Office for National Statistics: ONS) ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ในปี 2564 กว่า 13.3% ของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูบบุหรี่ หรือคิดเป็นประมาณ 6.6 ล้านคน และนับเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งมีอัตราผู้สูบบุหรี่อยู่ที่ 20.2%
บทบาทของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (vaping) กว่า 7.7% ของผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป หรือประมาณ 4 ล้านคนระบุว่ามีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันหรือเป็นครั้งคราว เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำทุกวันหรือเป็นครั้งคราวอยู่ที่ 6.4%
ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการลดอัตราผู้สูบบุหรี่ในสหราชอาณาจักร โดยสัดส่วนของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มากที่สุด 25% อยู่ในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบัน และกลุ่มผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว 15% รายงานระบุว่ามีเพียง 1.5% ของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน
Harm Rduction คือนโยบายหรือมาตรการสาาธารณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเสพติดในผู้ใช้สารเสพติดที่ยังไม่ต้องการจะเลิกใช้สาร หรือไม่สามารถจะเลิกใช้ได้
การพัฒนานโยบายและมาตรการในด้านการลดอันตรายมีจุดเริ่มต้นมาจาก การค้นพบว่าการใช้เข็ฉีดยาร่วมกันของผู้ฉีดสารเสพติดเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อเอขไอวีหรือเอดส์ และความสูญเสียทางสาธารณสุขที่เกิดจากการติดเชื้อและป่วยเป็นโรคเอซไอวีหรือเอดส์ มีมูลค่ามากกว่าความสูญเสียที่เกิดจากการใช้สารเสพติด
จากข้อค้นพบนี้ทำให้นักวิชาการและนักนโยบายทางสาธรณสุขมองเห็นความสำคัญของการลดอันตราย และกำหนดเป้าหมายของโยบายเพื่อลดอันตรายหรือความสูญเสียที่สัมพันธ์กับการฉีดสารเสพติดเสียใหม่เป็นลำดับขั้น
แทนที่จะเป็นการวางเป้าหมายให้ผู้ติดสารเสพติดเลิกใช้สาร ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทำสำเร็จได้ยากในความเป็นจริง เปลี่ยนมาเป็นการลดอุบัติการณ์ของการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ลดอุบัติการณ์ของการฉีดสารเสพติด และลดการใช้สารเสพติดที่ไม่ปลอดภัยแทน
เช่นเดียวกับการลดการเสพติดบุหรี่แบบมวน หากใช้วิธีดังกล่าวอาจจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยจากการสูบได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่เกิดอันตรายตามมา สำนักงานบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom National Health Service) หรือ NHS กล่าวว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง
แต่ก็นับว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพียงแค่เสี้ยวเดียวของความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการสูบบุหรี่มวน แต่ความเสี่ยงในระยะยาวก็ยังคงระบุไม่ได้ชัดเจน เนื่องจากไอระเหยของนิโคตินเหลวและส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าอาจยังคงมีสารเคมีอันตรายซึ่งพบในควันบุหรี่ แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาก
สุดท้ายแล้วเมื่อเลิกไม่ได้ การลดอันตรายจากการเสพติดจึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ที่ควรผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ รัฐควรสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการลดความเสี่ยงต่อการเสพติดอย่างถูกจุด