"หมั่นไส้ ขอซักเปี๊ยะ" ระบายความโกรธโดยใช้ความรุนแรง ไม่ได้ช่วยให้หายโกรธ

เมื่อโกรธ โมโห หงุดหงิด คนเรามักมีวิธีจัดการกับอารมณ์ดังกล่าวแตกต่างกันออกไป อีกหนึ่งวิธีที่ใช้มากที่สุดคือการระบายความโกรธแค้น หรือการใช้ความรุนแรง ที่หลายคนคิดว่าการระบายความโกรธคือทางออกที่ดีที่สุด

เมื่อโกรธ โมโห หงุดหงิด คนเรามักมีวิธีจัดการกับอารมณ์ดังกล่าวแตกต่างกันออกไป อีกหนึ่งวิธีที่ใช้มากที่สุดคือการระบายความโกรธแค้น หรือการใช้ความรุนแรง ทั้งทางวาจาและร่างกาย ที่หลายคนคิดว่าการระบายความโกรธคือทางออกที่ดีที่สุด แต่จะช่วยได้จริงหรือ?!

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยบทความ "พฤติกรรมความรุนแรง เป็นอาการทางจิตเวชหรือไม่?" พฤติกรรมความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือวาจา การทำร้ายร่างกาย การด่าทอเสียดสี ล้วนนำมาซึ่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 

พฤติกรรมความรุนแรงยังก่อให้เกิดความอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อีกด้วย หลายคนยังสงสัยอยู่ว่าพฤติกรรมนี้เรียกว่าอาการป่วยทางจิตเวชหรือไม่ สามารถรักษาได้หรือไม่ได้อย่างไร

ขั้นแรกเราต้องทำความเข้าใจ พฤติกรรมความรุนแรง และอาการทางจิตเวช พฤติกรรมความรุนแรงแสดงออกถึงความก้าวร้าว รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม

อาจไม่ใช่อาการทางจิตเวชเสมอไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของพฤติกรรมส่วนบุคคล ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมความรุนแรงบางประเภทก็มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตเวชได้

พฤติกรรมความรุนแรง มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

ภาวะทางอารมณ์
เกิดจากการถูกกดดัน หรือถูกรบกวนทางอารมณ์ ทำให้เกิดภาวะโกรธ หงุดหงิด บางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดจากสาเหตุนี้มักมีเป็นครั้งคราวไม่ใช่ทุกครั้ง สามารถเกิดได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรค

โรคทางจิตเวช
อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา ทำให้มีอาการหวาดระแวง ประสาทหลอน หรือในบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์บางอย่าง หากมีอาการมากๆ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง หงุดหงิด และยับยั้งชั่งใจได้ยาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคจิตเวชก็ไม่ได้ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมความรุนแรงเสมอไป

โรคทางกาย
การแสดงพฤติกรรมความรุนแรงอาจมีสาเหตุมาจากภาวะทางร่างกาย ยกตัวอย่าง ผู้ใช้สารเสพติด อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโรคทางจิตเวช เช่น ประสาทหลอน ทำให้มีพฤติกรรมความรุนแรงเกิดขึ้นได้ หรืออาจเกิดจากโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคทางระบบประสาท ลมชักบางชนิด ที่ทำให้มีอาการพฤติกรรมความรุนแรง

ครอบครัว
ถ้าหากเติบโตในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมักใช้ความรุนแรงอยู่เสมอ เด็กที่เติบโตในครอบครัวนั้นอาจมีพฤติกรรมความรุนแรงเช่นกันเนื่องจากการเลียนแบบ เด็กกลุ่มนี้อาจเลือกใช้พฤติกรรมความรุนแรงในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด

การระบายความโกรธหมายความว่าอย่างไร เวรี่เวลมายด์ เผยการจัดการระบายควมโกรธว่า ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ แม้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในหลายครั้ง แต่บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะรู้สึกอารมณ์พุ่งเกินควบคุม ก่อตัวจนถึงจุดแตกหัก

ในบางครั้งความโกรธที่รุนแรงขึ้นจนรู้สึกว่าถูกกระตุ้นอย่างหนัก อยากระบายออกด้วยการตะโกน ทำร้ายตัวเอง หรือพฤติกรรมที่เป็นอันตรายอื่นๆ

แม้ว่าการระบายความโกรธด้วยการหันไปหาสิ่งที่ไม่เป็นความรุนแรง หรือการระบายความโกรธแบบไม่อันตรายต่อใคร เช่น กระทืบเท้า ต่อยหมอน ปาของนิ่มๆ หรือตะโกนตอนอาบน้ำ อาจช่วยได้ แต่วิธีนี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด

แม้จะไม่อันตราย แต่รูปแบบการระบายที่ไม่เป็นอันตรายเหล่านี้จะแสดงผล เพิ่มพฤติกรรมก้าวร้าวในภายหลัง เพราะร่างกายถูกฝึกให้ใช้ความรุนแรงเป็นวิธีจัดการกับอารมณ์ จึงสรุปได้ว่าการระบายความโกรธไม่ได้ช่วยให้หายโกรธ หรืออารมณ์ดีขึ้น

ผลของการระบายความโกรธ การแสดงออกแบบก้าวร้าวอาจนำไปสู่ผลร้ายแรง ในบางกรณี การระบายความโกรธด้วยวิธีนี้อาจบานปลายจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง ผู้อื่น หรือทรัพย์สินได้ แม้แต่รูปแบบการระบายความโกรธที่ทำลายล้างน้อยกว่าก็อาจส่งผลตามมาได้เช่นกัน เช่น

  • ความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากขึ้น
  • หงุดหงิด เกิดอารมณ์เชิงลบมากขึ้น
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแย่ลง
  • เกิดปัญหาในที่ทำงาน ที่บ้าน หรือในสถานการณ์ทางสังคม
  • เกิดปัญหาทางร่างกาย เช่น การนอนหลับไม่สนิท ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อาการปวดหัว และปัญหาการย่อยอาหาร

แทนที่จะระบาย ออกหมัด ฟาดงวงฟาดงา มีวิธีจัดการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพื่อรับมือกับความโกรธได้ และเทคนิคบางอย่างที่จะช่วยให้จัดการความโกรธได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ได้แก่

พักสมอง ให้เวลาตัวเองห่างจากสิ่งที่ทำให้โกรธ

ออกกำลังกาย เดินเล่นหรือเข้ายิม ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้พลังงานได้โดยไม่ต้องมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายใดๆ

เขียนลงไป จดความรู้สึกของคุณลงในบันทึกหรือบล็อกส่วนตัวของคุณ อย่างไรก็ตาม แทนที่จะเอาแต่คร่ำครวญถึงอารมณ์ด้านลบ ให้ใช้โอกาสนี้คิดถึงขั้นตอนเชิงบวกที่คุณสามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหา

หากวิธีดังกล่าวยังไม่สามารถช่วยให้ลดความโกรธได้ ควรจะต้องเข้ารับการรักษาพฤติกรรมความรุนแรง โดยมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ก้าวร้าวรุนแรง ทั้งทางชีวภาพ ทางด้านจิตใจ และทางด้านสังคม

จากนั้นประเมินความรุนแรงของอาการ ว่ามีการทำร้ายคนอื่นหรือไม่ บางรายพบว่าพันธุกรรมมีส่วนแต่ไม่เสมอไปหรือบางรายมีความกดดัน ความขัดข้องใจแล้วจัดการไม่เป็น ทำให้แสดงความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังพบว่าบางรายมีการเลียนแบบจากสื่อ เป็นต้น จากนั้นทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิด

TAGS: #สุขภาพจิต #ความรุนแรง #ศรีสุวรรณ