Social Space ที่มีประโยชน์ ตอบโจทย์มากกว่าแค่การนัดพบ

Social Space ที่มีประโยชน์ ตอบโจทย์มากกว่าแค่การนัดพบ
MQDC Design Competition 2023 เมื่อพื้นที่สาธารณะตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ กับโครงการ “การออกแบบองค์ประกอบใหม่ของพื้นที่ ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของชุมชน"

เมื่อพื้นที่ว่างเปล่า ที่ไม่ได้รับการปรับปรุง หรือพื้นที่ว่างที่ถูกนำไปใช้งานไม่เต็มประโยชน์ สามารถออกแบบให้เป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ตอบโจทย์ต่อการใช้พื้นที่เมืองในอนาคต มีประโยชน์ทั้งการใช้งาน ทั้งการพัฒนาความคิด และจิตใจ พื้นที่ๆคนในชุมชนได้ประโยชน์ และเป็นพื้นที่นัดพบสำคัญของเมือง

โครงการประกวดแบบ “การออกแบบองค์ประกอบใหม่ของพื้นที่ ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของชุมชน (Design Intervention)” (“MQDC Design Competition 2023 – RE-imagining Thai Social Space: City Festival as Design Intervention”) ในรอบคัดเลือกเพื่อเฟ้นหาผลงานไอเดียการออกแบบที่ตอบโจทย์ต่อการใช้พื้นที่เมืองในอนาคต ให้มีความพร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล

มีทีมคนรุ่นใหม่ทั้งนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปสนใจเข้าร่วมสมัครแข่งขันประกวดแบบมากกว่า 525 ทีม รวมกว่า 1,222 คน ถือเป็นโครงการประกวดแบบที่มีผู้สมัครเข้าร่วมมากที่สุดในประเทศไทย

ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันประกวดแบบยังได้รับความรู้ใหม่และแรงบันดาลใจเพื่อนำไปต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ผลงาน จาก “Lecture Series” โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและระดับโลกกับหัวข้อการบรรยายและ Panel Discussion อาทิ การบรรยายหัวข้อ “Festival as a driver of social movement” โดย คุณพอล สิริสันต์  Senior Vice President 

การบรรยายหัวข้อ What does the city want from festivals? โดย คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณมุม-องศา จรรยาประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการ Cloud 11 คุณราชิต ระเด่นอาหมัด ผู้จัดงาน Pattani Decoded และคุณธรรศ วัฒนาเมธี ผู้จัดงานสกลจังซั่น การเสวนาแบบกลุ่มหัวข้อ City Festival: A Case Study at George Town Festival โดย Joe Sidek, Managing Director, Joe Sidek Productions, ผู้จัดงาน George Town Festival 

และหัวข้อ City Festival as Design Intervention โดย คุณพิชิต วีรังคบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คุณโจ-ดลพร ชนะชัย และคุณฟิวส์-นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Cloud-floor และการบรรยายหัวข้อ “Service Design / Experience Journey” โดย Erik Roscam Abbing, Experience Design Strategist และคุณธนิชา นิยมวัน นักผังเมืองและอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการวางแผนและเมืองฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิก บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด และที่ปรึกษา UDDC เป็นต้น

ขณะนี้การประกวดแบบ RE-imagining Thai Social Space: City Festival as Design Intervention ได้เดินทางมาถึงรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการทั้งจาก Creative Lab, MQDC, CDAST และคณะกรรมการจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศและระดับโลกได้พิจารณาคัดเลือกผลงานอย่างเข้มข้นทุกชิ้นงานอย่างละเอียดรอบครอบ จนได้ทีมที่ผ่านเข้ารอบที่จะมาแสดงฝีมือกันต่อในรอบการนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศ โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด ได้แก่

ประเภทนิสิต/นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ ผังเมือง ออกแบบชุมชนเมืองและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ทีม (นำเสนอผลงานวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566) 

1. ทีม A035 “กาล ฯ เทศะมังค์ KAL-THESA MONK” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เน้นการใช้พื้นที่โดยรอบของวัดธรรมมงคลเป็นสื่อกลางในการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน-วัด-โรงเรียนและดึงกลุ่มคน Gen Z เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน จึงเกิดโครงการกาละ (การละเว้น) เทศะ (สถานที่) 
ขึ้นนำเสนอกิจกรรมหมุนเวียนตามวันสำคัญทางพุทธศาสนา อาทิ เวิร์กชอปผ้าไตร การวาดภาพบนผืนจีวร ตู้เก็บของจากคอนเทนเนอร์เก่า

2. ทีม A049 “นิทรรศการเสี่ยงดวง SNAKE SNAKE RICH RICH” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การนำพื้นที่เพลินพระโขนงมาจัดเป็นนิทรรศการของคนที่ชอบเสี่ยงดวง ด้วยรูปแบบการเล่นเกมบันไดงู ให้คนได้มุมมองใหม่ ๆ และเริ่มต้นใหม่ไปด้วยกัน

3. ทีม A050 “มาหา-นคร” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การสร้างพื้นที่ช่วยเหลือผู้คนที่กำลังหลงทางได้ค้นหาตัวตน หาแรงบันดาลใจ และจุดประกายความฝันเพื่อค้นหาคำตอบให้กับผู้คน ผ่านเทศกาลมาหา-นคร ณ ลานหน้าโรงเรียนวัดธรรมมงคล โดยมี 2 ส่วนหลัก คือ ปฐมบท (พื้นที่แห่งการค้นหา) อาทิ นิทรรศการ และปัจฉิมบท (พื้นที่แห่งการทดลองทำ) อาทิ เวิร์กชอปศิลปะ เป็นต้น

4. ทีม A112 “ไทย-มู(ง) THAI-MU(NG)” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การใช้พื้นที่ ณ ลานหน้าวัดธรรมมงคล มาจัด “ไทย-มู(ง)” เทศกาลแห่งความเชื่อเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้คนที่มีความหลากหลายทางสังคมและความเชื่อ และตีแผ่ให้เข้าใจถึงอีกแง่มุมของความเชื่อที่เหนือกว่าความงมงาย อาทิ Coin Wishing Well เป็นต้น

5. ทีม A133 “คราวนี้พบกัน FESTIVAL : CLOUD 11” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การใช้พื้นที่ย่านพระโขนงบางนา จัดเทศกาล Cloud 11 เทศกาลผสานชุมชนเก่าและชุมชนใหม่ผ่านสื่อกลางอย่าง Urban Playground งานศิลปะและเทคโนโลยี นำไปสู่การเป็นย่านนวัตกรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม อาทิ CONTENT CREATOR CONTEST (กิจกรรมการประกวดออกแบบ) และ Food Cloud Kitchen (พื้นที่ทดลองขายอาหารในรูปแบบใหม่) เป็นต้น

6. ทีม A158 “Cherry FESTIVAL (ARTxFOODxCULTURE)” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การใช้พื้นที่สวนสาธารณะเพลินพระโขนงที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ มาจัดงานเทศกาลเมือง Cherry FESTIVAL เพื่อให้ผู้คนได้มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยน พูดคุย ขับเคลื่อนสังคมในทุก ๆ ด้านและส่งเสริมการคัดแยกขยะผ่านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนขยะ กิจกรรมภายในเทศกาล อาทิ นิทรรศการ เวิร์กชอป เป็นต้น

7. ทีม A222 “ลานละคร LARN LA KORN” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัด “ลานละคร” ที่เริ่มจาก “นิทรรศการ” สู่ “เทศกาล” โดยการนำพื้นที่วัดธรรมมงคลมาใช้เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างสำหรับมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะภายในเมืองให้เกิดขึ้นได้ อาทิ Public Show เป็นต้น

8. ทีม A265 “อัสดงร่วมกัน” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การใช้ช่วงเวลาอัสดงที่ทุกคนใฝ่หาที่มาทำกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญต่าง ๆ จึงจัดเทศกาลอัสดง ที่มีกิจกรรมที่จะเชื่อมโยงผู้คนและเมืองเข้าด้วยกันที่พื้นที่ Cloud11 ย่านพระโขนง ถนนสุขุมวิท อาทิ เทศะ+กาล ร่วมกัน เป็นต้น

9. ทีม A313 “วิถีอีสาน KHONKAEN FESTIVAL” จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การนำพื้นที่รกร้างใต้ทางรถไฟที่ติดกับชุมชน มาจัดงานเทศกาลเพื่อแสดงศักยภาพของคนในชุมชนภายใต้ธีม “หมู่ ม่วน ซื่น” ผ่านแนวคิด “ปัจจัย 4” มีกิจกรรม อาทิ งานหนังเก่าเล่าใหม่ เป็นต้น

10. ทีม A322 “เด็กคะนอง-คึกโขนง” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
การนำพื้นที่ย่านพระโขนงที่มีปัญหาชุมชนแออัดริมคลองพระโขนง คลองเตยมาจัดเป็นโครงการ “เด็กคะนอง-คึกโขนง” เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยเปิดเป็นพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม อาทิ กิจกรรม Workshop รับฟังความคิดเห็น เป็นต้น

ประเภทบุคคลทั่วไป สถาปนิกหรือนักออกแบบทั่วไป จำนวน 10 ทีม (นำเสนอผลงานวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566)

1. B009 “MAZE WATER FES”
การนำประเพณีสงกรานต์มาตีความใหม่ผ่านภาพจำที่สามารถรับรู้ได้ทั้งกายภาพและทางเสียงเพื่อดึงดูดผู้คนในพื้นที่สุขุมวิทใต้ ผ่านกิจกรรม อาทิ ก่อเจดีย์ทราย เป็นต้น โดยใช้ True Digital Park ที่มีพื้นที่หลากหลายเหมาะกับทุกวัยในย่าน

2. B044 “ยกโขนง”
การยกระดับย่านพระโขนงที่ยังขาดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน จึงมีการจัดเทศกาลยกโขนงที่มีทั้งเทศกาลไปจนไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อชักชวนผู้คนให้ออกมาใช้พื้นที่สาธารณะ อาทิ กิจกรรมวันศุกร์แห่งชาติ เป็นต้น

3. B073 “Pakphanang young หฺมฺรับ”
การใช้พื้นที่เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดเทศกาล Pakphanang young หฺมฺรับ (อ่านว่า หมับ) ที่มีความเชื่อมโยงจากความเชื่อดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาผสมผสานกับความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้ทุกวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อาทิ Exhibition space เป็นต้น

4. B081 “ล้อเล่น”
การจัดเทศกาลหมุนเวียนรอบ ๆ พื้นที่เพลินพระโขนงโดยโครงการ ล้อเล่น ออกแบบมาโดยใช้รถจากหน่วยงานของภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นหลักที่ว่างจากการปฏิบัติภารกิจมาใช้งาน โดยนำรถมาต่อเติมและเคลื่อนย้ายไปตามชุมชนต่าง ๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เผยแพร่ และต่อยอด เอกลักษณ์จากชุมชนสู่ชุมชน 

5. B102 “X.CO (DIGITAL X PHYSICAL AND COLLABORATION)”
การนำพื้นที่ของโครงการ CLOUD11 และย่านพระโขนงเป็นพื้นที่ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานมาพัฒนาเป็นพื้นที่โครงการที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่สาธารณะกับโลกออนไลน์ผ่านกิจกรรมและเทศกาล อาทิ วันเด็ก x game เป็นต้น

6. B106 “Lamphun Art and Craft Festival ศิลปะ ทอ เมือง” 
การนำเทศกาล “ลำพูนบ้านเฮา สุขกาย สบายใจ”ปี 2019 มาใช้เป็น Prototype ในการออกแบบ 3 พื้นที่ในเขตคูเมืองลำพูน ดังนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Historical Area) โดยใช้หลักการออกแบบ Creative Economy และ Creative Space พัฒนาพื้นที่รอบพิพิธภัณฑ์ ศาลากลางเก่าจังหวัดลำพูน (Future Area) ใช้โครงสร้าง Pavilion ที่ถอดมาจากทอผ้า และท่าสิงห์ ริมน้ำกวง (Relax and Reflect Area) อาทิ Creative Art Garden เป็นต้น

7. B114 แสงตะวันรามา THE SANG TAWAN RAMA THEATER
การนำโรงภาพยนตร์แสงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่มารีโนเวทใหม่ที่สร้างสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมนำมาเป็นกลไกหลักในการสร้างสถาปัตยกรรมภายใต้ Living room for the city ที่เป็นแก่นความคิดหลักเพื่อเป็นต้นแบบของการใช้สถาปัตยกรรมเพื่อฟื้นเมืองสำหรับพื้นที่อื่น ๆ  โดยมีกิจกรรมหมุนเวียนตามวันสำคัญต่าง ๆ อาทิ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

8. B124 อ้อ-มา-กา-เสะ ma ka sa 
การใช้พื้นที่ของ Cloud 11 ซึ่งติดอยู่กับคลองบางอ้อ มาจัดเทศกาล อ้อ-มา-กา-เสะที่จะชวนทุกคนมาชิมของอร่อยแห่งย่านพระโขนงโดยเทศกาลนี้หวังเป็นต้นแบบของเทศกาลที่จะจัดขึ้นริมคลอง โดยมีพี่วิน ‘ผู้รู้ประจําย่าน’ ในการเข้าตรอกซอกซอยเพื่อคัดสรรร้านเด็ดร้านลับเสมือนเชฟโอมากาเสะ มีกิจกรรม อาทิ เทศกาลโต๊ะแถว เป็นต้น

9. B137 อาร์ท อิน อาราม เฟสติวัล
โครงการ “อาท อิน อาราม” เฟสติวัล ได้ออกแบบภายใต้แนวคิดทางศาสนาพุทธ คือการ เกิด-แก่-เจ็บ-ตายซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของเฟสติวัลที่มีการจัดแค่ชั่วคร่าว วนเวียนเป็นวัฏจักร โดยนำเสนอผ่านรูปแบบกิจกรรมของงานวัด แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้ เกิด แก่-เจ็บ ตาย ภายในเทศกาลมีกิจกรรม อาทิ เทศน์ Talk เป็นต้น

10. B152 รัก ล่อง หน
การใช้พื้นที่รอบ ๆ วัดธรรมมงคล จัดรัก ล่อง หน เทศกาลสัมผัสรักที่มองไม่เห็น ผ่านความรักอันสากลที่ไม่เคยมองเห็น แต่สัมผัสได้ ไร้ตัวตนฉบับ ง่ายๆ สบายๆ ไทยๆ ผ่านคุณลักษณะ 4 ประการ “นั่งกับพื้น”, “อยู่กับร่มกับเงา”, “เปิดเมื่อใช้ ปิดไปเมื่อเลิก”, “โครงเบาๆ” ให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงผู้คน และ ความเชื่อ ผ่านพื้นที่ว่างที่แทรกตัวตามธรรมชาติของที่ตั้ง โดยมีเอกชนเป็นผู้พัฒนาร่วมกับวัด เพื่อสร้างรายได้กลับไปแก่ชุมชน อาทิ บริจาค + โรงทาน เป็นต้น

นอกจากนี้ทางโครงการได้เปิดโอกาสให้ผู้ผ่านรอบคัดเลือกทั้ง 20 ผลงานร่วมจัดแสดงผลงานในนิทรรศการประกวดแบบที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เพื่อชิงรางวัล Popular Vote ด้วย

สามารถติดตามข่าวสารได้ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage MQDC Design Competition 2023

TAGS: #ออกแบบ #สุขภาพ #สุขภาพจิต