ใครๆก็ทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิดและอยากทำให้ถูก สิ่งแรกที่เราคิดถึงคือ "การขอโทษ" อย่างไรก็ตาม คนประเภทหนึ่งที่คำขอโทษจากใจจริงและจริงใจนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมคือกลุ่ม "คนหลงตัวเอง"
ใครๆก็ทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิดและอยากทำให้ถูก สิ่งแรกที่เราคิดถึงคือ "การขอโทษ" โชคดีที่การขอโทษอย่างจริงใจสามารถช่วยลดความโกรธจากอีกฝ่ายได้ และยังช่วยสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่ เยียวยาความสัมพันธ์ที่เสียหายไป
อย่างไรก็ตาม คนประเภทหนึ่งที่คำขอโทษจากใจจริงและจริงใจนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมคือกลุ่ม "คนหลงตัวเอง"
การใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้อื่นหรือการสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่โดยทั่วไปแล้วไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดของผู้ที่หลงตัวเอง ด้วยความไม่สมัครใจที่จะยอมรับความผิดพลาด คนหลงตัวเองมุ่งเน้นไปที่การรักษาภาพลักษณ์ของตนเองและปกป้องตนเองจากความรู้สึกไม่สบาย ไม่ว่าพวกเขาจะทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจก็ตาม
คำขอโทษที่ขึ้นต้นด้วยวลี
- ขอโทษแบบผลักความผิด "ฉันขอโทษแต่..."
- ขอโทษแบบมีเงื่อนไข "ฉันขอโทษ ถ้าหากทำให้เธอ..."
- ขอโทษแบบขอไปที "ฉันแค่... เช่น "ฉันแค่ล้อเล่น"
- "ฉันเสียใจที่..." ความเสียใจคือความรู้สึก การขอโทษคือการกระทำ การบอกใครสักคนว่าคุณเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจ
- ขอโทษแบบไม่ขอโทษ เช่น "รู้ใช่ไหมว่าฉันขอโทษ"
คำขอโทษเหล่านี้นั้นขาดความน่าเชื่อถือ การขอโทษที่ไม่น่าให้อภัยดังกล่าว สะท้อนถึงการพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ หาข้อแก้ตัว ดูถูกสิ่งที่ทำไปแล้ว ทำให้เป็นโมฆะ สร้างความสับสน หรือต้องการมูฟออนจากสถานการณ์อึดอัดใจ โดยไม่ใส่ใจอีกฝ่าย
แม้ว่าพวกเราหลายคนจะพลาดประเด็นสำคัญในการขอโทษในบางครั้ง แต่ลักษณะเฉพาะของผู้หลงตัวเองก็คือพวกเขามีแนวโน้มที่จะปฏิเสธที่จะขอโทษหรือแสดงคำขอโทษที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกหนักใจ สับสน หรือรู้สึกแย่ยิ่งกว่านั้น
คำว่า "ฉันขอโทษ" เดิมก็ไม่ใช่คำวิเศษที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดศรัทธาได้ทันที หากไม่ได้สนใจจะแก้ไขความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น ก็ไม่ต้องใส่ใจว่าการพยายามขอโทษจะจริงใจหรือไม่
แต่หากยังมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอยู่ ยังเห็นคุณค่า อยากรักษาความสัมพันธ์ต่อ เราต้องตรวจสอบคำพูดที่ใช้ในการขอโทษ คำพูดเหล่านั้นพยายามบิดเบือน หรือ แสดงเจตนาคลาดเคลื่อนกับความรู้สึกจริงๆของเราหรือไม่
หลายครั้งที่การขอโทษไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเช่น ขอโทษเพื่อให้ผ่านเรื่องเจ็บปวด แต่ไม่ได้รับผิดชอบที่ทำให้เจ็บปวด หรือต้องการทำให้ปัญหาที่สร้างขึ้นมาเองจบลง แต่ไม่ใส่ใจที่จะเยียวยาอีกฝ่าย บางกรณีพูดขอโทษเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด และเริ่มโยนความผิดให้อีกฝ่ายที่ไม่ยอมรับคำขอโทษเอง
แน่นอนว่าวิธีการขอโทษเหล่านั้นดูเหมือนเป็นคำขอโทษปลอมๆ ไม่สามารถเยียวยาอะไนได้ เราสามารถปฏิเสธที่จะรับคำขอโทษเหล่านั้นได้เสมอ แต่หากเราใส่ใจบุคคลนั้น และเรารู้ว่าเขาเหล่านั้นจริงใจที่จะขอโทษ เพียงแต่เขาอาจจะไม่รู้ว่าควรขอโทษอย่างไรที่จะแสดงให้เห็นเจตนาดี
มอลลี ฮาวส์ นักจิตวิทยา เจ้าของหนังสือ A Good Apology: Four Steps to Make Things Right กล่าว่า เราอาจเริ่มจากเล่าเรื่องราวจากฝ่ายเราให้เขาฟัง การกล่าว‘ขอโทษ’ จะไม่มีความหมายเลย ถ้าอีกฝ่ายไม่เข้าใจว่าเขาทำร้ายเราอย่างไร
การที่อีกฝ่ายกล่าวคำขอโทษเหมือนเป็นการเปิดใจให้รับฟังความเจ็บปวดที่ผ่านมา หากอีกฝ่ายไม่สนใจหรือไม่อยากฟัง เราก็รู้แล้วว่าคำขอโทษของเขาไม่จริงใจ แต่ถ้าอีกฝ่ายยินดีรับฟัง นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการรักษาความสัมพันธ์
การเข้าใจอีกฝ่ายไม่ได้แปลว่าการขอโทษจะจบเพียงเท่านั้น แต่การแสดงความรับผิดชอบจากใจจริง และตามด้วยการลงมือทำ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้แก้ไข พยายามทำตามสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดขึ้นอีกคือสิ่งที่ถูกต้อง