สมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที อันตรายถึงชีวิต!

สมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที อันตรายถึงชีวิต!
อาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างอาการหายใจสั้นและถี่ หากเราขาดออกซิเจนเกิน 4 นาทีอาจส่งผลให้สมองตายและมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

วันนี้ The Better พาทุกคนทำความรู้จักภาวะสมองขาดออกซิเจน ภัยร้ายที่พรากชีวิตภายในเวลาอันสั้น

จากกรณีเหยื่อรับน้องเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 กลุ่มนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้จัดกิจกรรมรับน้องโดยจัดกิจกรรมออกกําลังกายกลางแจ้ง ด้วยการดันพื้นอย่างต่อเนื่อง นับจํานวนด้อย่างน้อย 450 ครั้ง 

ส่งผลให้มีนักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมจํานวน 2 ราย ได้รับบาดเจ็บ มีอาการหน้ามืดและหมดสติล้มกระแทกลงกับพื้น และเสียชีวิตลงในเวลาถัดมา 

ผลการชันสูตรระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากอาการสมองขาดอากาศเป็นเวลานานจนทําให้เซลล์สมองเสียหาย ส่วนอีกรายเกิดจาก ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว

สมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) คือ อาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างอาการหายใจสั้นและถี่

จนทำให้สมองทำงานผิดปกติและเกิดภาวะสมองตายในที่สุด หากเราขาดออกซิเจนเกิน 4 นาที อาจส่งผลให้สมองตายและมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

สาเหตุของสมองขาดออกซิเจน
สมองเป็นอวัยวะที่ต้องการออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง หากขาดออกซิเจนเกิน 4 นาที ก็อาจทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลงได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนนั้นมีหลายประการ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจหยุดเต้น และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่ได้ตามปกติ

ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

  • สำลัก
  • จมน้ำ
  • โดนบีบรัดที่คอ
  • ความดันเลือดต่ำ หรือเป็นโรคโลหิตจาง
  • อยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อย เช่น เหตุการณ์ไฟไหม้ หรืออยู่บนที่สูงเกิน 8,000 ฟุต เป็นต้น
  • ได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ หรือได้รับสารพิษไซยาไนด์
  • ได้รับบาดเจ็บที่สมอง หรือเป็นโรคสมองพิการ
  • ได้รับยาในปริมาณมากเกินไป ได้รับยาที่มีผลทำให้หยุดหายใจ หรือได้รับยาสลบ
  • เป็นโรคหอบหืด
  • เป็นโรคที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส เป็นต้น
  • เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือน้ำท่วมปอด เป็นต้น
  • นอกจากนี้ การทำกิจกรรมบางอย่างก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ เช่น เล่นฟุตบอล ชกมวย ดำน้ำ หรือปีนเขา เป็นต้น

หากเราเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน สมองส่วนที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ เซลล์สมองส่วนฮิปโปแคมปัส เป็นสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจน ซึ่งสมองส่วนนี้มีหน้าที่ในการคิดและสั่งการ

นอกจากนี้ยังมีเซลล์สมองอีก 2 ส่วนที่สำคัญคือ สมองส่วนท้ายทอยที่ส่งผลโดยตรงต่อการมองเห็น สมองใหญ่และสมองน้อยที่ส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลเรื่องการทรงตัวและกล้ามเนื้อกระตุก

ภาวะแทรกซ้อนของสมองขาดออกซิเจน
เนื่องจากสมองมีความไวสูงต่อการขาดออกซิเจน ภาวะขาดออกซิเจนในสมองอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด : เป็นภาวะที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โรคปอด หรือสภาวะอื่นที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ

ภาวะหัวใจหยุดเต้น : เมื่อหัวใจหยุดสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะหัวใจหยุดเต้น อาจทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้

โรคหลอดเลือดสมอง : เกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกปิดกั้น ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง 

ความเสียหายของสมอง : ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานหรือรุนแรง นำไปสู่ความเสียหายที่รักษาไม่ได้หรือการตายของเซลล์ในพื้นที่ของสมอง อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญา การเคลื่อนไหวบกพร่อง สูญเสียความจำ และอื่นๆ

โคม่า : ในอาการโคม่า การทำงานของสมองลดลงอย่างมาก และบุคคลนั้นไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก

อาการชัก : อาการชักอาจทำให้ความเสียหายของสมองรุนแรงขึ้นและทำให้การฟื้นตัวซับซ้อนขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม : อาจรวมถึงปัญหาด้านความจำ ความสนใจ สมาธิ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์

ความบกพร่องของการควบคุมร่างกาย : การขาดออกซิเจนอาจส่งผลต่อบริเวณสมองที่รับผิดชอบในการควบคุมมอเตอร์ นำไปสู่ความอ่อนแอ อาการสั่น ปัญหาในการประสานงาน และความยากลำบากในการเคลื่อนไหว

ทั้งนี้ หากพบเห็นผู้ที่สงสัยว่าอาจเผชิญอาการสมองขาดออกซิเจนอยู่ สิ่งที่ควรทำโดยเร็ว คือ การปั๊มหัวใจหรือทำ CPR เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในร่างกายและป้องกันอาการรุนแรงขึ้น จากนั้นให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

อ้างอิง 1 2 3

TAGS: #สมองขาดอากาศ #สมองขาดออกซิเจน #รับน้อง