อาการที่ไม่สามารถหายใจสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันเสี่ยง ภาวะปอดแตก ปอดรั่ว เกิดลิ่มเลือดอุดตันภายในปอด
หายใจไม่อิ่ม (Dyspnea หรือ Shortness of Breath) เป็นลักษณะอาการที่ไม่สามารถหายใจสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นการหายใจสั้น ๆ หรือรู้สึกหายใจไม่ออก
เว็บไซต์พบแพทย์เผย เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาการหอบเหนื่อยและเจ็บหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอาการหนึ่ง ซึ่งทุกคนคงเคยมีอาการนี้มาก่อน เช่น หลังออกกำลังกาย
แต่อาการเหนื่อยแบบนั้นถือว่าเป็นอาการเหนื่อยตามปกติ แม้ว่าบางคนอาจมีอาการเหนื่อยมากในขณะที่บางคนอาจเหนื่อยน้อยกว่าเมื่อออกกำลังในขนาดเดียวกันก็ตาม
สาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม
อาการหายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่ผู้ป่วยหายใจเอาอากาศเข้าไปได้ไม่สมดุลกับปริมาณที่ร่างกายต้องการ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้มีอาการหายใจไม่อิ่มปรากฏใน 2 ลักษณะ คือ
อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และอาจเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายนาทีหรือหลายชั่วโมง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
ปัจจัยภายนอก
- การออกกำลังกาย หรือใช้แรงอย่างหนัก
- อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
- อยู่บนที่สูง ซึ่งมีความกดอากาศต่ำ
- เกิดเหตุการณ์ทำให้ตื่นตระหนกตกใจกะทันหัน หรือเกิดความวิตกกังวล
ปัจจัยภายใน
- ระบบทางเดินหายใจถูกกีดขวาง หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ เช่น มีเมล็ดผลไม้ติดอยู่ในลำคอ
- โรคหอบหืด หลอดลมหดตัวแคบลง เกิดมูกเหนียวภายในทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ผู้ป่วยจึงหายใจลำบากและอาจมีเสียงหวีดขณะหายใจ
- โรคภูมิแพ้ หรือปฏิกิริยาแพ้ต่อสารอย่างรุนแรง อาการที่อาจพบร่วมด้วย เช่น มีผื่นคัน ผิวหนังบวมแดง
- การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ เมื่อเกิดมูกเสมหะอุดตัน ทำให้หายใจติดขัด อาจพบร่วมกับอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย
- เกิดลิ่มเลือดอุดตันภายในปอด
- ภาวะปอดแตก หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะหัวใจวาย
อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง ประชาชื่น MRI เผยว่าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง และอาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน สามารถเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับอาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นกะทันหันได้เช่นกัน อย่างโรคหอบหืด หรือโรคและภาวะเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy) ที่ทำให้หัวใจมีรูปร่างและขนาดที่เปลี่ยนไป ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายตามส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่อิ่มอย่างต่อเนื่องเรื้อรังหลายเดือน หรือหลายปีได้
นอกจากนี้ อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเรื้อรังอาจเกิดจากโรคและภาวะอื่น ๆ เช่น
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD)
- เนื้อเยื่อในปอดอักเสบ และเกิดความเสียหาย
- ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
- ภาวะอ้วน เนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป โดยเฉพาะบริเวณช่วงอกและช่วงท้อง ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้หายใจทำงานหนักขึ้น
- สมรรถภาพร่างกายลดลง เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้เหนื่อยหอบและหายใจไม่อิ่มได้ง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
- การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นอาการปกติสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
หายใจไม่เต็มปอด 1 ในสัญญาณเตือนภาวะปอดรั่ว
ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax) คือภาวะที่มีอากาศเข้าไปแทรกอยู่ตามช่องภายในปอดจนไปเบียดเนื้อปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่และทำงานได้ไม่ดีจนส่งผลต่อการหายใจของผู้ป่วย
ภาวะปอดรั่วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
ภาวะปอดรั่วจากอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากการได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนทำให้ลมจากภายนอกเข้าสู่ช่องปอด
ภาวะปอดรั่วจากสาเหตุอื่นอาจเกิดจากอาการเจ็บป่วยซึ่งส่งผลกระทบต่อปอดโดยตรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง การติดเชื้อ โรคมะเร็งปอด โรคทางพันธุกรรมบางชนิด หรือโรคหอบหืด บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือสัญญาณเตือนใด ๆ
** อาการของภาวะปอดรั่วจะแสดงให้เห็นทันทีอาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุก็ได้ และในบางกรณีภาวะนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต **