สุภาษิตที่ว่า "ก่อนจะพูดเราเป็นนาย แต่พูดไปแล้ว คำพูดกลายเป็นนายเรา" แต่เมื่อบางคำสัญญาก็สำคัญ บางคำสัญญาก็ไม่ได้มีค่ามากนัก ผิดมากไหม ที่ไม่ทำตามคำสัญญา
สุภาษิตที่ว่า "ก่อนจะพูดเราเป็นนาย แต่พูดไปแล้ว คำพูดกลายเป็นนายเรา" ซึ่งเขาเตือนสติเอาไว้ว่า อย่าพูดออกไปโดยไม่ได้คิด หรือพูดออกไปโดยที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ ใคร่ครวญให้รอบคอบ พูดหรือสัญญาอะไรไปแล้ว ก็จะไม่สามารถรักษาคำพูดได้
เมื่อพูดถึงคำสัญญา เราต่างเข้าใจทันทีว่าเป็นคำพูดที่ไม่อาจถอดถอนได้ ไม่สามารถเพิกเฉย และหาเราทำผิดคำสัญญาเราจะต้องรู้สึกผิดไปตลอดชีวิต สู้หน้ากับคนที่เราให้คำสัญญาด้วยไม่ได้
นิโคลัส เอปลีย์ ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์จอห์น เทมเปิลตัน เคลเลอร์ที่บูธชิคาโก กล่าวว่า "ฉันคิดว่ามีความหมายสองประการที่ต้องคำนึงถึง ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเรา"
ประการแรก การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามเหนือมนุษย์ ทำในสิ่งที่คุณสัญญาว่าจะทำ และผู้คนจะรู้สึกขอบคุณ "คุณไม่จำเป็นต้องเป็นซูเปอร์แมนและทำเกินกว่าคำสัญญาเพื่อให้คนอื่นชื่นชม"
ประการที่สอง ถ้าคุณใช้ความพยายามอย่างเหนือมนุษย์เพื่อทำมากกว่าที่คุณสัญญาไว้ อย่าโกรธเมื่อคนอื่นดูเหมือนจะไม่เห็นคุณค่าความพิเศษที่คุณทำ พวกเขาไม่ใช่คนอกตัญญูหรือไม่เห็นคุณค่าโดยเนื้อแท้ แค่เพียงพวกเขาเป็นเพียงมนุษย์เท่านั้น
The Momentum เผย หนึ่งในการศึกษาที่น่าสนใจ จากการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโก (University of California San Diego) และมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) สหรัฐอเมริกา เพื่อหาความคำตอบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อผลลัพธ์ของคำสัญญา โดยสร้างภารกิจให้แก้ปริศนาตามโจทย์ ซึ่งมีหน้าม้าเข้าร่วมเล่นเกมนี้ด้วย พร้อมสัญญากับผู้เข้าร่วมทดลองตัวจริงว่า จะคอยช่วยเหลือจนแก้ปริศนาข้อนี้ให้สำเร็จ
ผลปรากฏว่า เมื่อภารกิจล้มเหลว ผู้เข้าร่วมทดลองจะรู้สึกหงุดหงิดและผิดหวัง เพราะหน้าม้าทำตามสัญญาที่ให้ไว้ไม่ได้ แต่ถ้าภารกิจสำเร็จ ผู้เข้าร่วมทดลองกลับรู้สึกขอบคุณ โล่งใจ และดีใจเล็กน้อยเท่านั้น ที่สำคัญ ไม่ได้รู้สึกว่าการได้รับความช่วยเหลือจากหน้าม้าเป็นเรื่องที่ต้องรู้สึกซาบซึ้งใจเหมือนบุญคุณที่ต้องตอบแทนแต่อย่างใด
อาจเป็นเพราะว่าคำสัญญานี้ไม่ได้สำคัญหรือจำเป็นกับชีวิตมากนัก และไม่ใช่เรื่องที่ผู้เข้าร่วมทดลองเป็นฝ่ายร้องขอหรือแสดงความต้องการก่อน
อะไรคือแรงจูงใจเบื้องหลังคำสัญญา?
บางครั้งเราทำอะไรด้วยเจตนาดี บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะได้รับ เราอาจเชื่อว่าเราต้องตอบว่า “ใช่” เพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการหรือเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีคนชอบเรา เราบอกผู้คนในสิ่งที่เราเชื่อว่าพวกเขาต้องการได้ยินเพื่อให้พวกเขามีความสุข หากเราลองซื่อสัตย์กับตัวเอง แล้วถาวว่าทำไมคุณถึงยอมทำบางอย่าง คุณได้อะไรจากข้อตกลงนั้น อาจทำให้คุณรู้ว่าคุณควรทำตามสัญญาตั้งแต่แรกหรือไม่
ทำไมเราไม่สามารถรักษาสัญญาของเรา?
มีเหตุผลหลายประการที่เข้าใจได้หากผิดสัญญา เหตุผลนั้นอาจรวมความรู้สึก ความสามารถ หรือแม้กระทั้งสถานการณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ความรักที่จางหายไป สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นไม่ใช่อีกต่อไป การเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียงาน การเกิดของเด็ก การตกหลุมรัก และการพัฒนาความเจ็บป่วย
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมที่ตามมาของเรา ซึ่งมักจะเป็นเรื่องใหญ่หลวง เราอาจไม่มีความสามารถหรือไม่เต็มใจที่จะรักษาสัญญาที่เฉพาะเจาะจงอีกต่อไป หรืออาจไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะทำเช่นนั้นอีกต่อไป
เราควรสัญญาไหม?
การพยายามให้ดีที่สุดเพื่อรักษาสัญญาเป็นสิ่งสำคัญ สัญญาระหว่างบุคคลเหล่านี้เอื้อต่อความไว้วางใจและความรัก แต่เนื่องจากอารมณ์ หรือความรู้ ความรู้สึกมากมายของเราหมดไป เมื่อถึงวาระที่จะต้องทำตามสัญญาที่เราไม่สามารถรักษา ได้หรือไม่?
คำตอบคือ ใช่
เราทุกคนกำลังต่อสู้กับตัวเอง แต่เรามักเพิกเฉยต่อความซับซ้อนของมนุษย์ เมื่อเราวิจารณ์ผู้อื่นและตัวเราเองว่า "ล้มเหลว" ที่จะรู้สึกและปฏิบัติตนตรงตามที่สัญญาไว้ ให้จำไว้ว่า เราก็เป็นคน บางครั้งเมื่ออะไรๆ เปลี่ยนไป คำสัญญาบางอย่างเราก็ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ได้ ดังนั้นจงจำไว้ว่า "ก่อนจะพูดเราเป็นนาย แต่พูดไปแล้ว คำพูดกลายเป็นนายเรา"