ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจจะไม่ใช่ลองโควิด แต่เป็น "วัณโรค"

ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจจะไม่ใช่ลองโควิด แต่เป็น
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด เป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้

วัณโรคปอดคืออะไร ข้อมูลจากโรงพยาบาลเมดปาร์ค เผย ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า “วัณโรคปอด” ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้

สาเหตุของวัณโรคปอด
โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคปอดมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ที่ทำให้เกิดโรค ที่รับผ่านกันมาจากละอองฝอยทางอากาศ วัณโรคเป็นโรคติดต่อ แต่ก็ไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะติดโรคจากคนใกล้ชิดหรือคนที่ทํางานด้วยกัน ไม่ใช่คนแปลกหน้า

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์จะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ เชื้อวัณโรคบางชนิดมีการดื้อยา โดยเฉพาะกลุ่มยาไอโซไนอาซิดและไรแฟมพิซิน 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอดมีอะไรบ้าง 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอดมีหลายอย่าง เช่น

  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีโรคบางอย่างหรือเข้ารับการรักษาบางประเภท เช่น เป็นเอดส์ หรือ กำลังทำเคมีบําบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
  • กำลังใช้สารบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ไม่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ป่วยได้เข้าใช้บริการ
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค เช่น กำลังอาศัยอยู่หรือเคยทำงานในสถานพยาบาล หรือกำลังอาศัยอยู่ในหรืออพยพมาอยู่ในประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง หรือกำลังอาศัยอยู่กับผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค 

เมื่อไหร่ควรไปตรวจวัณโรค
กรมควบคุมโรคเผย จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นวัณโรค โดยเช็กลิสต์ได้ดังนี้

  • ผู้มีอาการไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์
  • ผู้อาศัยร่วมบ้าน หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ
  • เด็กที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต
  • ผู้มีประวัติเคยต้องขังในเรือนจำ
  • ผู้ติดสารเสพติด ติดสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรค
    • ไอมีเสมหะปนเลือด
    • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
    • มีไข้ต่ำๆ มีเหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอดมีอะไรบ้าง 

  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีโรคบางอย่างหรือเข้ารับการรักษาบางประเภท เช่น เป็นเอดส์ หรือ กำลังทำเคมีบําบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
  • กำลังใช้สารบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ไม่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ป่วยได้เข้าใช้บริการ
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค เช่น กำลังอาศัยอยู่หรือเคยทำงานในสถานพยาบาล หรือกำลังอาศัยอยู่ในหรืออพยพมาอยู่ในประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง หรือกำลังอาศัยอยู่กับผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค 
TAGS: #วัณโรค #โรคติดต่อ #สุขภาพ