งานวิจัยเผย PM2.5 ส่งผลต่อ "อัตราการเต้นของหัวใจ"

งานวิจัยเผย PM2.5 ส่งผลต่อ
ผลการศึกษาใหม่เผย มลพิษทางอากาศส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ มลพิษทางอากาศทำให้เกิดลักษณะการหายใจถี่ มีเสียงหวีด ไอ หอบหืด และเจ็บหน้าอก

สำหรับประเทศจีนที่มีประชากร 1.4 พันล้านคน การหายใจถือเป็นความเสี่ยงมานานแล้ว ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่สกปรกที่สุดอันดับ 9 ของโลกในแง่ของคุณภาพอากาศ

อายุผู้อยู่อาศัยในจีนจะลดลงเฉลี่ย 2.6 ปีต่อคนเนื่องจากมลพิษในชั้นบรรยากาศเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าอวัยวะที่มีความเสี่ยงที่สุดคือ "ปอด" เนื่องจากมลพิษทางอากาศทำให้เกิดลักษณะการหายใจถี่ มีเสียงหวีด ไอ หอบหืด และเจ็บหน้าอก

ไทม์เผย มลพิษก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นกัน สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริการายงานว่า การสัมผัสกับอนุภาคขนาดเล็กและไนโตรเจนออกไซด์เพียงอย่างเดียวสามารถนำไปสู่การแก่ก่อนวัยในหลอดเลือดและการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจอย่างรวดเร็ว

ขณะที่วารสาร Canadian Medical Association Journal เผยการศึกษาใหม่ มลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหิน มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความเสี่ยงต่อหัวใจอื่น หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การศึกษาไม่เพียงแต่พบว่าการสัมผัสมลพิษทางอากาศทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ภาวะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ที่สอดคล้องตามเวลาจริงต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอากาศในสถานที่ที่กำหนด เนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด หลอดเลือดในสมองตีบตัน หัวใจล้มเหลว และในบางกรณีอาจถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหัน

ดร.เหรินเจีย เฉิน จากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียนร่วม 20 คนของหนังสือพิมพ์กล่าวในถ้อยแถลงว่า “เราพบว่าการอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมีความสัมพันธ์กับภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในความเสี่ยงท่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงเกิดขึ้นในช่วงหลายชั่วโมงแรกหลังการสัมผัส และอาจคงอยู่ต่อไปอีก 24 ชั่วโมง”

การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการปล่อยมลพิษของจีนนั้นเกินกำหนดไปนานแล้ว จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 27 ของผลผลิตทั้งหมดของโลก และร้อยละ 30 ของก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ปักกิ่งมีความพยายามเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งมีเป้าหมายที่จะเห็นประเทศบรรลุการปล่อยคาร์บอนสูงสุดภายในปี 2573 และเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2560

แต่ความตั้งใจดีเหล่านั้นเริ่มต้นช้าไป แม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำของโลกในด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แต่จีนก็ยังอนุญาตให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่าที่อื่นในโลกรวมกันถึง 6 เท่า ทำให้ไฟเขียวเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 โรงในปี 2565

สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับสองของโลก และยังไม่มีประเทศใดที่จัดการเรื่องนี้ ทั้งหมดนี้สร้างปัญหาให้กับสุขภาพของทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม แต่ในประเทศจีนซึ่งมีประชากรจำนวนมากและท้องฟ้าที่สกปรกเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นปัญหาที่เลวร้ายที่สุด

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ภาวะการเต้นผิดปกติในห้องบนของหัวใจ, เต้นสม่ำเสมอ แต่เร็วกว่าปกติ, หัวใจเต้นก่อนวัยอันควรหรือเต้นผิดปกติในห้องล่าง และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

สำหรับสารก่อมลพิษ การศึกษามุ่งเน้นไปที่ 6 รายการที่พบมากที่สุดและเป็นอันตรายซึ่งติดตามโดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ

  1. ไนโตรเจนไดออกไซด์
  2. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  3. คาร์บอนมอนอกไซด์
  4. โอโซน
  5. อนุภาคหยาบ (ขนาด 2.5 ถึง 10 ไมโครเมตร หรือหนึ่งในล้านของเมตร)
  6. อนุภาคละเอียด (ที่เล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร)

ในบรรดาสารมลพิษทั้ง 6 ชนิด ไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นตัวสร้างความเสียหายมากที่สุด ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้ง 4 ประเภท การเต้นของหัวใจห้องบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.4 ในวันที่ระดับไนโตรเจนไดออกไซด์สูง สำหรับภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วอยู่ที่ ร้อยละ 8.9 รองลงมาคือหัวใจเต้นเร็วก่อนกำหนดที่ ร้อยละ 3.7 และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่ร้อยละ 3.4

สำหรับกลไกที่แน่ชัดที่ทำให้สารมลพิษทั้ง 6 ชนิดทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นักวิจัยยอมรับว่ายังไม่ทราบแน่ชัด ความเป็นไปได้ที่พวกเขาระบุไว้ ได้แก่ ผลกระทบต่อกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ การอักเสบของระบบ และความบกพร่องทั่วไปของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมไม่เพียงแค่อัตราการเต้นของหัวใจเท่านั้น แต่ยังควบคุมความดันโลหิต การหายใจ การย่อยอาหาร และอื่นๆ

TAGS: #มลพิษ #อากาศ #โรคหัวใจ #PM2.5 #สุขภาพ