อารมณ์โกรธดูเหมือนจะเป็นภาวะทางอารมณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะรู้สึกถึงผลเสียทั้งสุขภาพจิตของเรา และของอีกฝ่าย แต่ความโกรธคือ 1 ในสิ่งสำคัญต่อการวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด
อารมณ์โกรธนั้นเหมือนเป็นปุ่มเปิด-ปิด แต่นั้นหมายความว่าเมื่อมีการกดเปิดบ่อยครั้ง แม้จะเล็กน้อย เราจะลามให้เป็นเรื่องราวใหญ่โต จนทำให้พลาดรายละเอียดของเรื่องต่างๆไป ทำให้เราขาดสติ ความสามารถในการเอาใจใส่ของเราลดลง และเราต้องการเพียงเพื่อเอาชีวิตรอด ซ่อนตัว ทำร้าย กล่าวโทษหรือลงโทษ แต่การทำงานของอารมณ์โกรธเป็นการสำรวจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่เรารับรู้โลก และแสดงออกมาว่าเราเป็นใคร
ความโกรธสามารถผลักดันการกระทำและพฤติกรรมแย่ๆ ขอเราออกมา แต่ก็สามารถเป็นพลังแห่งความดีได้เช่นกัน ทั้งในทางที่ดีและแย่ต่อสุขภาพ ความโกรธสามารถผลักดันให้เป็นนักกีฬา ผู้ใจบุญ และผู้ประท้วง ตลอดจนนักฆ่าและผู้ทารุณกรรม
แต่ด้วยอารมณ์ที่โกรธนั้นทำให้เรามักจะโฟกัสไปที่พฤติกรรมที่ “ไม่ดี” ที่มาพร้อมกับความโกรธ เช่น การเสียอารมณ์ การกลั่นแกล้ง หรือการวิจารณ์อย่างหนักหรือการเหน็บแนม แต่ความโกรธนั้นเป็นเพียงความรู้สึก ไม่ใช่พฤติกรรม
ทำไมบางคนจึงโกรธง่าย?
มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าความโกรธมีความสัมพันธ์กับลักษณะนิสัยใจคอ (trait) สิ่งที่ทำจนเป็นนิสัย (habit) รวมไปถึงทัศนคติ (attitude) เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เรากลายเป็นคนที่แสดงความโกรธออกมารุนแรงมากกว่าคนอื่น ได้แก่
- การมีความเชื่อ ว่าตนเองมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น จะทำอะไรก็ได้
- มุ่งความสนใจไปที่คนอื่นมากกว่าการควบคุมกำกับตนเอง
- เป็นคนที่มักจะพยายามจะควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามใจของตัวเอง
- ปฏิเสธมุมมองความคิดของคนอื่น มองว่าคนที่คิดต่างเป็นภัยคุกคาม
- มีความอดทนต่ำ ไม่ทนต่อความไม่สะดวกสบายและความคลุมเครือ
- ติดนิสัยชอบตำหนิกล่าวโทษปัจจัยภายนอก
- มีประวัติการถูกเลี้ยงดูจากครอบครัวที่มักสื่อสารกันด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล
แต่การรับผิดชอบต่อความโกรธของตัวเราเองเป็นกระบวนการ "เติบโต" ที่สำคัญ การเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเราด้วยความโกรธเป็นกระบวนการที่ลึกซึ้ง ที่ต้องมีขั้นตอนการจัดการของมัน นักจิตวิทยาได้แนะนำวิธีในการจัดการความโกรธด้วยกัน 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ป้องกัน
ตรวจสอบความรู้สึกของตัวเองทุกๆ ชั่วโมง ถามตัวเองว่าตอนนี้เราโกรธอยู่ที่เท่าไร โดยให้คะแนนจาก 0 - 10 เป็นเสมือนการฝึกตามเท่าทันความคิดและความรู้สึกของตัวเอง
ถ้าเริ่มรู้สึกว่าความโกรธอยู่ที่ระดับ 4 หรือ 5 ให้ถามตัวเองว่า มีปัญหาอะไรที่เราจะต้องจัดการแก้ไขหรือไม่ แทนที่จะระบายอารมณ์ออกมา
2. อยู่กับปัจจุบัน
เมื่อเรารู้สึกโกรธในระดับ 8 - 10 โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะแสดงออกโดยการ โทษคนอื่น เพราะเราอยากให้คนอื่นทำบางอย่างให้กับเรา เพื่อให้เรารู้สึกดีขึ้น
ในขณะที่เราโกรธ สมองของเราสั่งให้เราแก้ปัญหานั้น เพื่อให้อารมณ์ของเราเย็นลง เช่น สั่งให้คนอื่นทำอย่างที่เราต้องการ ลาออก เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราจะรู้สึกดี เมื่ออารมณ์เราเย็นลงเลย ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรให้มั่นใจว่าตอนนี้เราอารมณ์เย็นลงแล้ว ไม่ได้โกรธอยู่ เป็นต้น
3. ปรับบุคลิกภาพของเราเอง
ข้อ 1 และ 2 เป็นวิธีในการจัดการความโกรธ แต่วิธีที่ 3 นี้ จะทำให้ชวนให้เรามองเห็นว่า การแสดงอารมณ์โกรธ ไม่ใช่ทางออกที่ดีในการแก้ปัญหา และมักสร้างปัญหา ให้เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง เรียนรู้ที่จะเท่าทันความรู้สึกวิตกกังวลของตัวเอง และแก้ไข
ในที่สุดแล้ว ความโกรธก็เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติของเรา การปฏิเสธ หรือฝืนจะไม่มีอารมณ์โกรธไม่ทำให้ความโกรธนั้นหายไป แต่กลับสร้างความอับอาย ความกลัว และความโกรธมากยิ่งขึ้น เราสามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรากับความโกรธได้ง่ายๆ โดยถือว่าความโกรธเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับตัวเราและวิธีที่เรามองโลก
ที่มา: กรมสุขภาพจิต, เดอะการ์เดียน, ไอสตรอง