ภาวะสิ้นยินดี อาการผิดปกติทางจิตเวชที่ผู้ป่วยจะเฉยชาต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ปกติเคยยินดี และดีใจด้วย ปัญหาป่วยจิตเวชที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี อาการผิดปกติทางจิตเวชที่ผู้ป่วยจะเฉยชาต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง มักพบได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์ หรืออาจเป็นผลจากโรคทางกายหรือพบในคนปกติทั่วไปได้เช่นเดียวกัน ภาวะสิ้นยินดีสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ที่ผู้ป่วยไม่ต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่มีความสุขหรือไม่เพลิดเพลินต่อการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในภาวะปกติสามารถสร้างความพึงพอใจให้ได้
เว็บไซต์พบแพทย์เผยสาเหตุของภาวะสิ้นยินดี คาดว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสมองในการผลิตหรือตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีหรือพึงพอใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือมีความสุข ส่วนใหญ่แล้วภาวะสิ้นยินดีจะพบมากในผู้ที่มีผิดปกติทางจิต รวมถึงผู้ที่ใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressant) หรือยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยเช่นกัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคการกินผิดปกติ (Eating Disorder) เคยมีประวัติการใช้สารเสพติด เคยถูกทำร้ายหรือถูกทอดทิ้ง เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ตึงเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เจ็บป่วยด้วยโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตหรือป่วยด้วยโรคที่มีความรุนแรง
เดอะการ์เดียนรายงานสถิติ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 8 - 12% ขอผู้ป่วยจะประสบภาวะซึมเศร้าก่อนช่วงสิ้นปี และหลายคนไม่ได้รับการวินิจฉัย แม้จะมีการตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต แต่ผู้คนก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยอาการต่างๆต่อไป แองเจิล อดัมส์ นักจิตวิทยาเผยว่า “คนไข้บางคนประหลาดใจและตกใจเมื่อบอกว่าพวกเขาเป็นโรคซึมเศร้า”
อดัมส์ยังกล่าวต่อว่า "ผู้ป่วยคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุอื่น หากพวกเขาไม่มีเรี่ยวแรงหรือเหนื่อยล้า พวกเขาอาจคิดว่าพวกเขาทำงานมากเกินไป บางครั้งพวกเขาคิดว่า 'มันก็แค่โรคนี้' หรือ 'ฉันเลิกกับใครสักคนแล้ว' แต่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังประสบกับภาวะซึมเศร้า พอๆ กับอาการป่วยหรือปฏิกิริยาเศร้าโศก"
การรักษาภาวะสิ้นยินดี ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะสิ้นยินดีโดยตรง แต่ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง
หากผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติด้านร่างกายหรือสงสัยว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติทางสุขภาพจิต แพทย์อาจส่งต่อการรักษาไปยังจิตแพทย์ นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัด โดยมีทั้งในรูปแบบของการพูดคุยหรือการรับประทานยา โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะสิ้นยินดีร่วมกับโรคซึมเศร้ามีจะอาการดีขึ้นพร้อมกับการรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาเหล่านั้น แพทย์อาจรักษาโดยการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) การใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus Nerve Stimulation: VNS) และการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) ซึ่งพบว่าได้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า
นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้ยาเคตามีน (Ketamine) ในบางรายเนื่องจากมีการทดลองใช้ยาชนิดนี้แล้วพบว่าเป็นผลดีต่อผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การใช้เคตามีนในการรักษาภาวะสิ้นยินดี ยังอยู่ระหว่างการค้นคว้าและวิจัย