ผู้ที่ใช้กัญชาทุกวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจประมาณ 1 ใน 3 มากกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ยาเพื่อการพักผ่อน
จากการศึกษาครั้งใหม่พบว่าผู้ที่ใช้กัญชาทุกวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจประมาณ 1 ใน 3 มากกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ยาเพื่อการพักผ่อน ฟอร์จูนเวลล์เผยผลศึกษาผู้ใช้กัญชาจากดร.อิชาน ปารันเจเป แพทย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งนำเสนอในต้นเดือนมีนาคมที่การประชุม American College of Cardiology กล่าวว่า “อาจพบอันตรายบางอย่างจากการใช้กัญชาที่ยังไม่พบมาก่อน และพวกเราควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย”
การศึกษานี้ใช้ข้อมูลจาก All of Us Research Program ที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมของคน 175,000 คน นักวิจัยไม่ได้มองหาความแตกต่างสถานะสุขภาพของผู้ที่สูบกัญชาและผู้ที่ใช้แบบบริโภค ควันของกัญชาประกอบด้วย “สารพิษ สารระคายเคือง และสารก่อมะเร็งหลายชนิดแบบเดียวกันที่พบในควันบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและมะเร็ง”
Harvard Health Publishing กล่าวว่าผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดนั้นยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างดี เนื่องจากเป็นสิ่งผิดกฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง ส่งผลให้มีข้อจำกัดต่อนักวิจัย ดังนั้นข้อมูลที่เราได้รับเกี่ยวกับกัญชามีทั้งสิ่งที่ควรหรือไม่ควรนั้นควรต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังระดับหนึ่งสำหรับความเสี่ยงและผลประโยชน์
การบริโภคกัญชาทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจเต้นเร็ว อาจทำให้เสียชีวิตกะทันหัน รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย ตามบทความปี 2017 ในวารสาร Thoracic Disease การศึกษาอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างกัญชากับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจที่พบบ่อยที่สุด
ทั้งนี้ทั้งนั้น เกือบครึ่งหนึ่งของรัฐในสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายให้ใช้กัญชาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และส่วนใหญ่อนุญาตให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ และเกือบ 90% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ คิดว่ากัญชาควรถูกกฎหมาย ไม่ว่าจะใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและทางการแพทย์ หรือใช้ทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว