อารมณ์แปรปรวน ไม่ใช่แค่เพราะประจำเดือนจะมา

อารมณ์แปรปรวน ไม่ใช่แค่เพราะประจำเดือนจะมา
อารณ์แปรปรวนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถือว่านั่นคือส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้มีภาวะอารมณ์แปรปรวน

มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้คนเราอารมณ์แปรปรวนได้ เว็บไซต์ Livescience เผยอารมณ์แปรปรวนมักเกี่ยวข้องกับระบบทางชีววิทยาหลายระบบ “อารมณ์แปรปรวนถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มีความสำคัญ” ดร.เอลิซาเบธ วาสเซนนาร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ระดับภูมิภาคของศูนย์อารมณ์และความวิตกกังวล โคโลราโดกล่าว "เหมือนกับในขณะที่เราคิดถึงความสุข และเปลี่ยนเป็นความเศร้าในเวลาถัดมา อารมณ์แปรปรวนคือการเปลี่ยนจากรู้สึกสงบเป็นรู้สึกวิตกกังวล หรือจากรู้สึกไม่สบายใจเป็นหงุดหงิด"

อารมณ์แปรปรวนถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอารมณ์แปรปรวนจนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติสุขได้ถือว่าเป็นสัญญาณบางอย่างของสุขภาพ สภาพแวดล้อม องค์ประกอบหลายอย่างมีอิทธิพลต่ออารมณ์ รวมถึงปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคม วิถีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา

ความผิดปกติทางสุขภาพจิต ถือเป็นต้นเหตุที่พบได้บ่อย ภาวะของสุขภาพจิตนั้นมีความซับซ้อน โดยปกติจะมีอาการหลายอย่างและระบบพื้นฐานที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม อาการบางอย่างเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์  วาสเซนนาร์กล่าวว่า "ปัญหาสุขภาพจิตมีองค์ประกอบทางชีววิทยาและประสาทจิตเวชที่ซับซ้อน รวมถึงการหยุดชะงักของระดับสารสื่อประสาทที่คงที่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอารมณ์"

ยกตัวอย่าง โรคไบโพลาร์ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ "ขึ้นๆ ลงๆ" ตามด้วยช่วงเวลา Cyclothymia (สภาพอารมณ์แปรปรวนระหว่างความหดหู่และความอิ่มเอมใจ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดสูงสุดและต่ำสุดนี้มักจะคงอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือนานกว่านั้น แทนที่จะเปลี่ยนอย่างกะทันหัน 

นอนน้อย เมื่อพูดถึงเรื่องอารมณ์ การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญ อาลี โรสส์ นักจิตอายุรเวทและโฆษกของสภาจิตบำบัดแห่งสหราชอาณาจักร (UKCP) กล่าว  "เมื่อคุณเหนื่อยล้า ทางร่างกายและจิตใจของคุณไม่พร้อมในการควบคุมอารมณ์ของคุณ เราอาจสับสนทางอารมณ์ได้ง่ายกว่าด้วยเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน"

ปัจจัยการดำเนินชีวิตอื่น ๆ ความเครียดอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การเคลื่อนย้ายหรือการประสบกับการตายของบุคคลอันเป็นที่รัก บทความปี 2011 ในวารสาร American Psychologist แนะนำว่าผลกระทบของการเลือกใช้ชีวิตประจำวันมักส่งผลต่ออารมณ์ และถูกมองข้าม ตัวอย่างเช่น อาหาร การออกกำลังกาย และความสัมพันธ์ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์

Premenstrual dysphoric disorder (PMDD) หรือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ทำให้เกิดอาการทางอารมณ์และร่างกายในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ยังไม่ชัดเจนว่าทำไมบางคนถึงมี PMDD แต่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ลดลงหลังการตกไข่และก่อนมีประจำเดือนอาจทำให้เกิดอาการได้ ในขณะที่เซโรโทนินซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์ ความหิว และการนอนหลับก็อาจมีบทบาทเช่นกัน 

วัยหมดประจำเดือน อีกสาเหตุที่อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน เนื่องจากวัยหมดประจำเดือนเป็นอีกช่วงหนึ่งของความผันผวนของฮอร์โมน โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดลง จากการวิจัยในปี 2019 ในวารสาร Medicinaการลดลงของ estradiol ซึ่งเป็นรูปแบบหลักของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายในช่วงวัยเจริญพันธุ์อาจมีบทบาท เอสตราไดออลควบคุมสารสื่อประสาทหลายชนิด (สารเคมี) ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ รวมถึงเซโรโทนิน โดปามีน และนอร์อิพิเนฟริน

การตั้งครรถ์ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์อาจเกิดจากความเครียดทางร่างกาย ความเหนื่อยล้า หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน รายงานจากสมาคมการตั้งครรภ์แห่งอเมริกา ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสูงสุดที่ประมาณ 32 สัปดาห์ และระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงที่สุดในช่วงไตรมาสนี้

หากไม่รุนแรงและหายไปหลังจากผ่านไป 2-3 วัน จึงไม่จำเป็นต้องกังวล สิ่งสำคัญคือต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากคุณมีอารมณ์แปรปรวนอย่างต่อเนื่อง การรักษาอาจรวมถึงการบำบัดด้วยการพูดคุย การใช้ยา และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง

TAGS: #สุขภาพจิต #อารมณ์แปรปรวน