ประเทศเศรษฐีน้ำมันที่ผู้นำรวยระดับโลก แต่ประชาชนยากจนสุดขีด เบื้องหลังรัฐประหารกาบอง

ประเทศเศรษฐีน้ำมันที่ผู้นำรวยระดับโลก แต่ประชาชนยากจนสุดขีด เบื้องหลังรัฐประหารกาบอง
เบื้องหลังการทำรัฐประหารในประเทศเล็กๆ แถบแอฟริกากลาาง ที่จะสั่นสะเทือนชาติตะวันตก

1. นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี 2503 กาบองถูกปกครองโดยตระกูลบองโกมาโดยตลอด โดยเริ่มจากประธานาธิบดีโอมาร์ บองโกในปี 2510 และหลังจากการเสียชีวิตของเขาในปี 2552 ลูกชายของเขา คือ อาลี บองโก ออนดิมบา ก็สืบทอดอำนาจต่อไป อาลี บองโก ออนดิมบา ได้รับเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งที่มีความขัดแย้งรุนแรงในปี 2559 ซึ่งทำให้เกิดความพยายามรัฐประหารในปี 2562  แต่ล้มเหลว 

2. ภายใต้การปกครองของพวกเขา ประเทศต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตและการเลือกปฏิบัติ รัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเพื่อยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งผู้นำ มีการเปลี่ยนระบบการลงคะแนนเพื่อฉวยโอกาสให้ผู้นำและรัฐบาลครองอำนาจต่อไป เพระาฝ่ายค้านไม่มีเอกภาพ และเปลี่ยนกำหนดเวลาของการเลือกตั้งเพื่อให้แน่ใจว่าฝ่ายค้านไม่สามารถชุมนุมได้หลังจากพรรคฝ่ายปกครองได้รับชัยชนะ

3. ภายใต้การปกครองที่ดูเหมือนจะเป็นประชาธิปไตย แต่กาบองถูกผูกขาดโดยคนไม่กี่กลุ่มและผู้นำประเทศจากตระกูลเดียว คนเหล่านี้กุมความมั่งคั่งของประเทศเอาไว้ แม้กาบองจะเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปก หนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของแอฟริกา โดยรายได้จากน้ำมันคิดเป็น 60% ของรายได้ประชาชาติ และมีจีดีพีต่อหัวที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป แต่กาบองเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจสังคมที่ร้ายแรง 

4. เพราะหนึ่งในสามของประชากรมีคุณภาพชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่รายได้ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน และอัตราการว่างงานของชาวกาบองที่มีอายุ 15 ถึง 24 ปีอยู่ที่ประมาณ 40% ในปี 2563 ระบบการศึกษาในกาบองยังเป็นตัวการความยากจนของประเทศอีกด้วย แม้ว่าการลงทะเบียนเข้าเรียนจะอยู่ในระดับสูงถึง 92% แต่นักเรียนประมาณ 37% ต้องเรียนซ้ำชั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

5. กาบองยังเป็นอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ตระกูลบองโกที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ได้ยอมให้ฝรั่งเศสตักตวงผลประโยชน์ของประเทศ นั่นคือน้ำมัน อาหาร และแมงกานีส โดยแลกกับการที่เขาได้รับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส ทำให้กุมอำนาจไว้ได้บยาวนานมาก ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า Françafrique นั่นคือการที่ฝรั่เศสสมีอิทธิพลเหนือประเทศอดีตอาณานิคมเก่าในแอฟริกา ผ่านการสนับสนุนนักการเมืองที่นิยมฝรั่งเศส และนักการเมืองและผู้นำแอฟริกันเหล่านั้นจะตอบแทนด้วยการให้ฝรั่งเศสเข้ามามีส่วนในทรัพยากรของชาติ

5. ตระกูลบองโกแห่งกาบองเป็นพวกที่นิยมฝรั่งเศสอย่างมาก และฝรั่งเศสสามารถมีกำหลังทหารในกาบอง จากการายงานของ Associated Press รายงานโดยอ้างกองทัพฝรั่งเศส ระบุว่า “ฝรั่งเศสมีทหาร 400 นายในกาบองที่เป็นผู้นำปฏิบัติการฝึกทหารระดับภูมิภาค” ทหารเหล่านี้แม้จะอ้างว่าเพื่อปฏิบัติการฝึกทหาร แต่ในความจริงมีไว้เพื่อปกป้องบริษัทฝรั่งเศสในกาบอง และคุ้มครองไม่ให้ตระกูลบองโกถูกยึดอำนาจ ความสัมพันธ์นี้ทำให้ตระกูลบองโกสืบทอดอำนาจไม่ขาดสาย ส่วนฝรั่งเศสก็ได้น้ำมัน อาหาร และแมงกานีสจากกาบอง "ในราคามิตรภาพ" 

6. เงื่อนไขเหล่านี้ที่ทำให้กาบอง "รวยกระจุก จนกระจาย" ความมั่งคั่งอยู่ในมือผู้นำประเทศที่มีฝรั่งเศสและชาติตะวันตกคอยหนุนหลัง บองโกนั้นรวยที่สุดคนหนึ่งในโลก และมีชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อมาก ครั้งหนึ่งเขาถึงกับสั่งนำเข้าหิมะปลอมเพื่อมาประดับทำเนียบของเขาให้ขาวโพลน เพื่อฉลองเทศกาลคริสต์มาส แม้ว่าการปกครองของตะรกูลบองโก ดูเหมือนจะเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยที่ถูก "ตัดแต่ง" จนกลายเป็นเผด็จการซ่อนรูป เหมือนกับที่ โทมัส บอร์เรล (Thomas Borrel) โฆษกสมาคมต่อต้านลัทธิครอบงำโดยฝรั่งเศส Survie-Ensemble บอกว่า “ฝรั่งเศสกำลังหลบซ่อนอยู่เบื้องหลังความชอบธรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาปลอมๆ”

7. หลังจากมีความพยายามก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลวเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในที่สุด ท่ามกลางกระแสต่อต้านตระกูลบองโกและการประท้วงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กองทัพกาบองจึงก่อรัฐประหารก่อนรุ่งสางในวันที่ 30 สิงหาคม ทหารที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง ยึดการควบคุมอาคารสำคัญของรัฐบาล ช่องทางการสื่อสาร และจุดยุทธศาสตร์ภายในเมืองหลวงลีเบรอวิล 

8. การรัฐประหารเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหลังจากบองโกมีการประกาศการเลือกตั้งใหม่เมื่อเวลา 03:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น แต่ระหว่างนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารประมาณสิบกว่าคนได้ประกาศยุติระบอบการปกครองของบองโก โดยอ้างถึง "การปกครองที่ขาดความรับผิดชอบและคาดเดาไม่ได้" ซึ่งนำไปสู่ "ความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่องของความสามัคคีทางสังคม เสี่ยงต่อการผลักดันประเทศเข้าสู่ความสับสนวุ่นวาย"

9. ต่อมารัฐบาลทหารได้ประกาศการจับกุมและกักขังบองโกและลูกชายคนโต และที่ปรึกษา คือ นูเรดดิน บองโก วาเลนติน และยังมีคนในกองทัพและคนในวงการการเมืองจำนวนมากถูกจับกุมโดยทหาร รัฐบาลทหารกล่าวว่าพวกเขาถูกจับกุมในข้อหากบฏ ยักยอกทรัพย์ ทุจริต ปลอมลายเซ็นประธานาธิบดี และค้ายาเสพติด  

10. หลังจากการทำรัฐประหาร บริษัทของฝรั่งเศสได้รับผลกระทบหนัก บริษัทเหมืองแร่ Eramet ของฝรั่งเศส ซึ่งดำเนินกิจการเหมืองแมงกานีสที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เมืองโมอันดา และมีพนักงาน 8,000 คนในกาบอง กล่าวว่า บริษัทกำลังระงับงานทั้งหมดในประเทศด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หุ้น Eramet ร่วงลง 18% ในช่วงเช้าของการรัฐประหาร และหุ้นอื่นๆ ในยุโรปที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของกาบองก็ร่วงลงเช่นกัน 

Photo by Gabon 24 / AFP

TAGS: #กาบอง #รัฐประหาร