รู้จัก ‘แอสปาร์แตม’ หลังอนามัยโลกเตรียมขึ้นทะเบียนสารเสี่ยงมะเร็ง

รู้จัก ‘แอสปาร์แตม’ หลังอนามัยโลกเตรียมขึ้นทะเบียนสารเสี่ยงมะเร็ง
ย้อนที่มาแอสปาร์แตมความบังเอิญจากการทดลอง สู่สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หลังอนามัยโลกเตรียมประกาศอาจก่อมะเร็ง

จากกรณีที่ WHO หรือ องค์การอนามัยโลก เตรียมบรรจุสารให้ความหวานแทนน้ำตาล 'แอสปาร์แตม' ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องดื่มหลายชนิด อยู่ในบัญชีสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งภายในเดือนกรกฏาคมนี้ 

รายงานระบุว่า ความคืบหน้าดังกล่าวมีขึ้นหลังการตัดสินใจของ IARC หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง หน่วยงานภายใต้สังกัดสหประชาชาติ ที่มีงานวิจัยออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน ที่พบว่าสารแอสปาร์แตม มีปัจจัยอย่างมีนัยยะสำคัญในการก่อโรคมะเร็ง แต่ IARC ไม่ได้ระบุถึงปริมาณการบริโภคสารแอสปาร์แตมที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารแอสปาร์แตมมากมาย โดยเมื่อปีที่แล้วการศึกษาในฝรั่งเศส ที่เก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่ 100,000 คน พบว่า ผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในบริมาณมาก ซึ่งรวมถึงแอสปาร์แตม มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่บริโภคสารเหล่านี้ในปริมาณที่น้อยกว่า สอดคล้องกั ผลการศึกษาในอิตาลีช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ระบุว่า โรคมะเร็งที่พบในหนูมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารแอสปาร์แตม

การตัดสินใจหลายครั้งที่ผ่านมาของ IARC ได้สร้างความกังวลในหมู่ผู้บริโภค ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้อง และสร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิตให้ปรับปรุงสูตรหรือเปลี่ยนมาใช้สารชนิดอื่นเพื่อความปลอดภัย แต่บางครั้งก็สร้างความสับสนให้กับสาธารณชนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การบรรจุสารดังกล่าวเป็นหนึ่งในสารที่อาจก่อมะเร็ง มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนและหลายหน่วยงานกระตุ้นให้เกิดการวิจัยมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนกว่านี้

สำหรับสารแอสปาร์แตม (Aspartame) ที่นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมากมาย ตั้งแต่น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ไปจนถึงหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล แอสปาร์แตม  ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1965 โดยเจมส์ แชลเตอร์ (James Schlater) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ขณะทำการสังเคราะห์สารที่ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ในระหว่างที่ทำการตกผลึก L-Aspartyl-L-phenylalanine methyl ester จากเอทานอล แต่ระหว่างทดลอง สารดังกล่าวหกใส่มือเขา และเขาได้เลียนิ้วมือเพื่อให้หยิบกระดาษกรองมาเช็ดมือ ปรากฎว่าสารดังกล่าวมีความหวานคล้ายน้ำตาล จึงกลายเป็นที่มาของแอสปาร์แตม

สารแอสปาร์แตม ให้รสชาติหวานที่คล้ายน้ำตาลที่มีปริมาณความหวานมากกว่าน้ำตาล 180-200 เท่า ด้วยคุณสมบัตินี้จึงเหมาะกับการถูกนำมาใช้ผสมในอาหารบางชนิดโดยเฉพาะเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลหลายชนิดที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งขึ้นอยู่กับสูตรการผลิตของผู้ผลิตเครื่องดื่มแต่ละราย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้แอสปาร์แตมเป็นมักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโฆษณาในเรื่องเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ต่ำ 
 

TAGS: #WHO #อนามัยโลก #น้ำตาล #แอสปาร์แตม