ผู้นำเกาหลีใต้เสนอแก้โจทย์หินในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย มองเป็นปัญหาสร้างความเลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่สังคมเสียงแตกหวั่นทำให้ระบบการศึกษาเกาหลีตกต่ำ
สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานเกิดข้อขัดแย้งในสังคมเกาหลีที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์ ยุน ซอก-ยอน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่เสนอปฏิรูปแนวทางข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เรีกยว่า 'การสอบซูนึง' ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงเดือนพฤษจิกายนของทุกปี เนื่องมองว่าจากข้อสอบยากเกินความจำเป็น และสร้างความเหลื่อมล้ำในหมู่นักเรียน
ผู้นำเกาหลีใต้กล่าวกับ อี จุนโฮ รองนายกรัฐมนตรีด้านกิจการสังคมและการศึกษาว่า โจทย์ที่ยากเกินกว่าระบบการศึกษาทั่วไป จะต้องถูกตัดออกจากข้อสอบซูนึง และปธน. ยังถามเพิ่มเติมด้วยว่า การที่ออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ยากระดับนั้น หน่วยงานด้านการศึกษา และอุตสาหกรรมโรงเรียนกวดวิชากำลังฮั้วกันอยู่หรือไม่
รมต.กระทรวงศึกษาธิการกล่าวในงานแถลงข่าวว่า “เรากำลังตัดวงจรอุบาทว์ของ ‘คำถามปราบเซียน’ ในการสอบซูนึง ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันที่มากเกินไประหว่างนักเรียนและผู้ปกครองในภาคการศึกษาเอกชน
อย่างไรก็ตาม มีกระแสต่อต้านอยู่ไม่น้อยแม้จะมองว่าเป็นแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยนาย อี แจ-มยอง หัวหน้าฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน กล่าวโจมตีปธน.ยุนว่าเขาทำให้ระบบการศึกษาในเกาหลีตกต่ำลง “ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อการศึกษาของเกาหลีคือ ปธน.ยุน”
ย่านแดจีดง เป็นย่านเศรษฐกิจมั่งคั่งทางตอนใต้ของกรุงโซล เกาหลีใต้ อยู่ในเขตกังนัม ถือเป็นแหล่งรวม 'ฮักวอน' หรือสถาบันกวดวิชา อยู่กว่า 1ม000 แห่งตามตรอกซอกซอย มีสถาบันกวดวิชาแบบตัวต่อตัวในแทบทุงแขนงวิชาตั้งแต่ภาษาเกาหลี ไปจนถึงวิชาคณิตศาสตร์ และติวเตอร์ที่เชี่ยวชาญทั้งในการสอบในโรงเรียนทั่วไป หรือเชี่ยวชาญในการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถสอบเพื่อเข้าโรงเรียนชั้นนำสำหรับกลุ่มที่มีรายได้สูง ซึ่งทุก ๆ อย่างในพื้นที่นี้เป็นที่ที่รู้จักกันในธุรกิจการศึกษา
มีการถกเถียงกันอยู่เป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการแนวทางของข้อสอบซูนึง เนื่องจากมีคำถามที่ยากและโจทย์ปราบเซียนอยู่หลายข้อ จึงทำให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายเป็นจำนวนมาก ต่างต้องหาสถาบันกวดวิชาเพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศได้ ซึ่งมองว่าเป็นการกดดันเด็กนักเรียนมากเกินไป
อี ซิงมิน ครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมปลายดงบุกในกรุงโซล กล่าวว่า ตัวอย่างโจทย์ในข้อสอบจำลองเดือน มิ.ย. เกี่ยวกับลำดับ (และอนุกรม) เป็นโจทย์ที่ทำให้นักเรียนต้องเข้าใจการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะแก้โจทย์ได้ อีกทั้งทักษะด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ลดลงในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำเท่านั้นที่จะสามารถแก้โจทย์ได้ และโจทย์ปราบเซียนบางข้อ ยังยากเกินกว่าที่ครูสอนคณิตศาสตร์บางคนจะแก้ได้
ค่าเรียนกวดวิชาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลายก่อนถึงปี 2015 อยู่ที่ประมาณ 2 แสนวอน หรือราว 5,000 บาท ต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2016 และสูงขึ้นถึงเกือบ 5 แสนวอนในปี 2022
ในกรุงโซลค่าเฉลี่ยการเรียนกวดวิชาอยู่ที่ 7 แสนวอน หรือราว 20,000 บาท และเชื่อว่าติวเตอร์บางรายอาจมีมีรายได้มากกว่า 10 พันล้านวอนต่อปี
ข้อสอบซูนึงเป็นที่ถกเถียงกันมาเนิ่นนาน เนื่องจากในปี 2000 มีนักเรียน 66 คนได้คะแนนเต็มในทุกวิชาซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าง่ายเกินไป จึงปรับคำถามให้ยากขึ้นในปีถัด ๆ มา จึงทำให้ คิม แดจุง ปธน.ในขณะนั้นต้องออกมาขอโทษต่อสาธารณะ