โจเซฟ ไนย์ (Joseph Nye) นักรัฐศาสตร์ผู้มีอิทธิพลและรอบรู้ และผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ ผู้คิดค้นคำว่า พลังอ่อน หรือ 'soft power' ได้เสียชีวิตลงแล้ว มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยเขามีอายุ 88 ปี ซึ่ง 'soft power' เป็นแนวคิดที่ว่าประเทศต่างๆ ใช้อำนาจเหนือตลาดผ่านเสน่ห์ของความเป็นชาตินั้นๆ และความน่าดึงดูดใจที่ชาติๆ นั้นสร้างขึ้นมา
'soft power' กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในประเทศไทย หลังจากใการขับเคลื่อนกระแสนี้โดยรัฐาลพรรคเพื่อนไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็กำลังแสดงอาการดูถูกเหยียดหยามคำว่า 'soft power'
ไนย์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมคณะอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดครั้งแรกในปี 1964 และดำรงตำแหน่งคณบดี Harvard Kennedy School รวมถึงดำรงตำแหน่งภายใต้ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์และบิล คลินตัน
นักคิดเสรีนิยมใหม่ผู้นี้เขียนหนังสือมาแล้ว 14 เล่มและบทความในวารสารมากกว่า 200 บทความ ศึกษาหัวข้อต่างๆ มากมาย เช่น การควบคุมอาวุธและลัทธิสหแอฟริกัน (pan-Africanism) แต่มีชื่อเสียงมากที่สุดจากการพัฒนาคำว่า 'soft power' ในช่วงปลายทศวรรษ 1980
เมื่อเทียบกับ 'พลังแข็ง' (hard power) เช่น อาวุธและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ พลังอ่อน คือ ค่านิยมและวัฒนธรรมที่สามารถเอาชนะใจผู้อื่นได้
นิยามของมันคือ "พลังอ่อน คือการทำให้ผู้อื่นต้องการผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ชักจูงผู้คนมากกว่าการบังคับ" ไนย์ เขียนไว้ในหนังสือเกี่ยวกับหัวข้อนี้เมื่อปี 2004
จากตัวอย่างอื่นๆ เขายกตัวอย่างอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้นในละตินอเมริกาเมื่อแฟรงคลิน รูสเวลต์สถาปนา "นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี" (good neighbor policy) และในทางกลับกัน สหภาพโซเวียตสูญเสียยุโรปตะวันออกไปจากความโหดร้ายในขณะที่พลังแข็งของรัฐบาลมอสโกเติบโตขึ้น
ตั้งแต่ทรัมป์กลับเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม ทรัมป์ได้ลดพลังอ่อนของสหรัฐฯ ลงอย่างมาก รวมถึงการยุติความช่วยเหลือจากต่างประเทศและการปราบปรามนักศึกษาต่างชาติ และพยายามเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหาร
ในการแสดงทัศนะต่อสำนักข่าว AFP ในเดือนกุมภาพันธ์เกี่ยวกับมุมมองของเขาต่อวาระที่สองของทรัมป์ ไนย์ เขียนว่า "ทรัมป์ไม่เข้าใจอำนาจจริงๆ เขาคิดแค่ในแง่ของการบังคับและการจ่ายเงินเท่านั้น"
“เขาเข้าใจผิดว่าผลลัพธ์ในระยะสั้นคือผลกระทบในระยะยาว อำนาจที่กดขี่ข่มเหง (เช่น การขู่ด้วยภาษีศุลกากร) อาจได้ผลในระยะสั้น ในขณะที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่นลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ในระยะยาว” เขาเขียนถึง AFP ทางอีเมล
“ความสำเร็จของเราในช่วงแปดทศวรรษที่ผ่านมาก็มีพื้นฐานมาจากความน่าดึงดูดใจเช่นกัน”
แต่เขากล่าวว่าอำนาจอ่อนของสหรัฐฯ เคยผ่านวัฏจักรมาแล้วในอดีต ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่นิยมของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเวียดนาม
“เราอาจจะฟื้นตัวได้บ้างหลังทรัมป์ แต่เขาก็ได้ทำลายความไว้วางใจในสหรัฐฯ” เขาเขียน
นักคิดด้านนิวเคลียร์
ไนย์ ยอมรับข้อจำกัดของอำนาจอ่อนเพียงอย่างเดียว ในหนังสือของเขา เขาเขียนว่า “ไวน์และชีสชั้นดีไม่ได้รับประกันว่าฝรั่งเศสจะน่าดึงดูดใจได้ และความนิยมของเกมโปเกมอนก็ไม่ได้รับประกันว่าญี่ปุ่นจะได้รับผลลัพธ์ตามนโยบายที่ต้องการ”
ไนเกือบจะได้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหากจอห์น เคอร์รีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2004 นอกจากนี้เขายังมีบทบาทอย่างมากในญี่ปุ่น ซึ่งอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาเคยพิจารณาแต่งตั้งให้เขาเป็นเอกอัครราชทูต
ไนย์ใส่ใจกับอำนาจอ่อนมาโดยตลอด โดยในปี 2010 ไนย์ได้เขียนบทความวิจารณ์คนบางคนในรัฐบาลโอบามาว่าพยายามเล่นงานรัฐบาลญี่ปุ่นที่ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการย้ายฐานทัพ โดยเรียกร้องให้ใช้ "แนวทางที่อดทนและมีกลยุทธ์มากขึ้น" กับพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ
ไนย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัฐบาลกับนโยบายนิวเคลียร์ เขากล่าวว่าความเสี่ยงจากอาวุธนิวเคลียร์อาจทำให้มหาอำนาจต่างๆ ไม่กล้าเข้าร่วมสงครามโลก แต่การแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นก่อให้เกิดอันตรายใหม่
เกรแฮม อัลลิสัน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวในแถลงการณ์ว่า "เขา (ไนย์) ภูมิใจที่สุดที่ได้มีส่วนสนับสนุนทั้งทางปัญญา... และทางปฏิบัติ (ในรัฐบาลของคาร์เตอร์และคลินตัน) ในการป้องกันสงครามนิวเคลียร์"
Agence France-Presse
Photo - อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมฝ่ายกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศและอดีตประธานสภาข่าวกรองแห่งชาติ โจเซฟ เอส. ไนย์ (กลาง) จับมือกับเอส. เอ็ม. กฤษณะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย (ซ้าย) ในระหว่างการประชุมครั้งที่ 15 ของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (CII) และกลุ่มกลยุทธ์แอสเพน ซึ่งเป็นการประชุมหารือเชิงกลยุทธ์ระหว่างอินเดียและสหรัฐฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศในกรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2011 (Photo by RAVEENDRAN / AFP)