'ดินหน้าซ่อง' สิ่งสกปรกอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้โสเภณีได้รับความเคารพแค่ช่วงเวลาหนึ่งของปี

'ดินหน้าซ่อง' สิ่งสกปรกอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้โสเภณีได้รับความเคารพแค่ช่วงเวลาหนึ่งของปี

ทุกปีในโกลกาตา เมืองใหญ่ของอินเดีย 'การค้าประเวณี' ซึ่งถือเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สุดในโลก จะมีอยู่ช่วงหนึ่งอาชีพนี้จะได้รับความเคารพตามขนบประเพณีโบราณเป็นการชั่วคราว โดยจะมีการเก็บเอาดินที่ด้านนอกซ่องโสเภณีมาประกอบพิธีกรรมของชาวฮินดู เพราะถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

พนักงานที่ทำงานในย่านโคมแดงที่พลุกพล่านของเมืองท่าทางตะวันออกกล่าวว่าดินที่เป็นที่ต้องการนั้นเป็นภาพสะท้อนอันขมขื่นของทัศนคติที่เลือกปฏิบัติของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการเมื่อจำเป็น และเป็นสิ่งสกปรกที่ถูกเหยียบย่ำเมื่อไม่จำเป็น

ผู้ศรัทธาในศาสนาฮินดูมองว่าสิ่งสกปรกที่หน้าประตูทางเข้าซ่องโสเภณีถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่ามีคุณสมบัติพิเศษ เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผู้ชายทิ้งสิ่งดีๆ ไว้เบื้องหลังก่อนเข้าไปมีเซ็กส์

ดินที่ขุดขึ้นมานี้จะถูกนำไปผสมกับดินเหนียวเพื่อทำเป็นเทวรูปสีสันสดใสของพระแม่ทุรคา  ที่เป็นที่รัก หรือจะใช้เพื่อ "อาบน้ำ" รูปปั้นที่สร้างขึ้นเพื่อเทศกาลนี้ก็ได้

การเก็บขยะเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเทศกาล 'ทุรคา ปูชา' ซึ่งเป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเบงกอลตะวันตกทางตะวันออก โดยในปีนี้ การเฉลิมฉลองจะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม

ซาลิมา โสเภณีวัย 30 ปีที่ทำงานในย่านโคมแดงโสนาคะชิ ของเมืองโกลกาตา รู้สึกโกรธเคืองกับประเพณีการเก็บดินจากซ่องแบบนี้

ในสายตาของสังคม เธอถูกมองว่า "ไม่มีศักดิ์ศรี" ซาลิมากล่าว 

เธอกล่าวว่า "เมื่อคุณต้องการดินจากมือของฉัน คุณก็เคารพฉันทันที"

"นี่มันกฎประเภทไหนกันเนี่ย"

โฆษกหญิงของคณะกรรมการ Durbar Mahila Samanwaya ของสมาคมโสเภณีกล่าวว่าสมาชิกพยายามหยุดยั้งช่างฝีมือไม่ให้เอาดินไปจากซ่องไป

- 'ไม่ใช่ด้านมืด' -
เทศกาลที่กินเวลาหนึ่งสัปดาห์นี้เป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่ทุรคา ผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาในฐานะมารดาผู้ปกป้องคุ้มครองเหนืออสูร

"ผู้ชายที่เข้าไปในบ้านของโสเภณีจะทิ้งสิ่งดีๆ ไว้ในตัวไว้ที่หน้าประตูบ้านของเธอ" ชยันตะ กุศารี วัย 64 ปี ผู้ก่อตั้ง Sarva Bharatiya Prachya Vidya Academy ซึ่งเป็นสถาบันสอนวัฒนธรรมอินเดีย กล่าว

"นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมดินจากนอกบ้านของโสเภณีจึงถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์"

กุศารี  กล่าวว่าควรใช้ดินนี้ในการ "ล้าง" รูปเคารพ

แต่ครอบครัวในโกลกาตาเองก็ใช้ดินนี้ในการทำรูปเคารพเช่นกัน ซึ่งจะได้รับการเคารพบูชาก่อนจะนำไปจุ่มลงในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อสิ้นสุดเทศกาล

ครอบครัวของ สมร ทัตตะ ใช้ดินนี้ทั้งในการสร้างรูปเคารพและอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์มานานกว่าศตวรรษแล้ว และเขาเองก็ตำหนิว่าทำไมโสเภณีจึงมักถูกเมินเฉยและดูถูก

“พวกเธอไม่ได้เป็นด้านมืดของสังคม” เขากล่าว “พวกเธอเท่าเทียมกับคนอื่นๆ”

ดัตตะ กล่าวว่าเพราะเดี๋ยวนี้การก่อสร้างสมัยใหม่ด้วยถนนคอนกรีตและยางมะตอยทำให้บางครั้งการหาสถานที่ที่เหมาะๆ ในการเก็บดินเป็นเรื่องยาก

ดังนั้นบางคนจึใช้วิธีที่ชาญฉลาดในการแก้ปัญหา

“เวลาที่โสเภณีไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา จะมีคนไปคอยเก็บดินจากที่นั่น” เขากล่าว

“จากนั้นจึงเก็บดินไว้ข้างนอกบ้านของเธอ ซึ่งเป็นที่ที่ดินถูกเก็บมา”

- 'นักสังคมสงเคราะห์' -
กุศารี ยืนกรานว่าสังคมควรเคารผู้ขายบริการทางเพศ

“พวกเธอมีความสำคัญมากสำหรับสังคมของเรา” เขากล่าว “ผู้ขายบริการทางเพศถือเป็นนักสังคมสงเคราะห์”

เทศกาลฮินดูเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนพลุกพล่านในเขตโคมแดง

การขอมีเซ็กส์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่โสเภณีบอกว่าตำรวจมักจะเมินเฉยเพื่อแลกกับเงินสินบน

แต่ผู้ขายบริการทางเพศบอกว่าไม่มีผู้ชายคนใดที่รวบรวมดินเชิญพวกเธอไปร่วมฉลองเทศกาลทุรคาปูชาเลย

“พวกเขาจำเราไม่ได้ด้วยซ้ำ” ปุษปา (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเพื่อปกป้องตัวตนของเธอ) กล่าว พร้อมเสริมว่าผู้ชาย “มองเราด้วยความรังเกียจ”

“ผู้หญิงคิดว่าเราจะแย่งสามีของพวกเขาไปถ้าเราคุยกับพวกเธอ” เธอกล่าว “แต่เราไม่มีความคิดเช่นนั้นในใจ”

ซาลิมาบอกว่าครอบครัวของเธอไม่รู้เลยว่าเธอหาเลี้ยงชีพอย่างไร เธอหันไปทำงานนี้เพราะเธอไม่มีทางเลือกอื่น

“เราไม่ชอบทำงานนี้” ซาลิมากล่าว

“เมื่อผู้ชายมาหา พวกเขาก็ขอให้เราทำหลายอย่าง พวกเขาบอกว่าจะไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ชอบ เราช่วยอะไรไม่ได้ เราบอกว่า 'โอเค' แต่เรารู้สึกไม่ถูกต้อง”

Agence France-Presse

Photo - ในภาพถ่ายนี้ซึ่งถ่ายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2024 มีภาพเทวรูปดินเหนียวที่ยังสร้างไม่เสร็จของพระแมท่ทุรคาที่กำลังจัดแสดงอยู่ก่อนถึงเทศกาลทุรคาปูชาที่ เมืองโกลกาตา  (ภาพโดย Dibyangshu SARKAR / AFP)