จากการรายงานของสำนักข่าว Radio Free Asia ทหารของรัฐบาลเผด็จเมียนมาการเกือบ 50 นายยอมมอบตัวต่อกองทัพปลดแอกแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง เข้าสกัดกั้นกองกำลังทหารในเมืองมะริด เขตตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภาคตะนาวศรี
โฆษกของกลุ่มพันธมิตร KNLA กองกำลังปฏิวัติเขตมะริด กล่าวกับสำนักข่าว RFA ว่า KNU เริ่มต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนในเมืองตะนาวศรีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ชัยชนะครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของ KNU ในภูมิภาคนี้
“เราสามารถพูดได้ว่าการยอมจำนนครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในภาคตะนาวศรี ผมได้ยินมาว่าพวกเขายอมแพ้เมื่อวานนี้ (วันที่ 16 เมษายน)”
การยอมจำนนครั้งแรกของทหารเมียนมาในภาคตะนาวศรี อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสถานการณ์การต่อสู้ในพื้นที่ภาคใต้สุดของเมียนมา ซึ่งมีเมืองสำคัญหลายเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับไทย เช่น ทวาย, มะริด และเกาะสอง และยังมีพรมแดนติดกับไทยยาวที่สุด
ตะนาวศรีสำคัญแค่ไหน?
ภูมิภาคนี้เคยเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาหลายครั้ง ไทยเคยปกครองดินแดนนี้เช่นกัน แต่เสียให้กับเมียนมาไปหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมียนมาเสียดินแดนนี้เป็นแห่งแรกๆ หลังพ่ายแพ้สงครามกับอังกฤษ และต่อมากลายเป็นภูมิภาคหนึ่งของมณฑลพม่าของอังกฤษ หลังจากเมียนมากลายเป็นอาณานิคมอังกฤษเต็มตัว
เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ภาคตะนาวศรีทางตะวันออกเฉียงเหนือก็ถูกยกให้เป็นรัฐกะเหรี่ยงที่สร้างขึ้นใหม่ ในปีพ.ศ. 2517 ทางตอนเหนือของตะนาวศรีที่ยังหลงเหลืออยู่ได้ถูกแบ่งเพื่อสร้างรัฐมอญ เมื่อเมืองมะละแหม่ง เมืองเอกของตะนาวศรีตกอยู่ในรัฐมอญ เมืองหลวงของเขตตะนาวศรีจึงถูกย้ายไปยังเมืองทวาย
ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูง มีทั้งชาวทวาย กะเหรี่ยง มอญ ไทยสัญชาติพม่า ชาวมะริด มาเลย์พม่า ชาวพม่าหรือบะหม่า และมอแกน ชาวทวายถือเป็นชาวบะหม่าหีรือคนพม่ากลุ่มหนึ่ง แต่พูดภาษาสำเนียงของตัวเองที่แตกต่างจากสำเนียงภาษามาตรฐาน นอกจากนี้ ในพื้นที่ตอนใต้ตั้งแต่เมืองมะริด เมืองตะนาวศรี จนถึงเกาะสอง ก็ยังมีคนไทยพลัดถิ่นที่อาศัยในเมียนมาเป็นจำนวนมาก บางครั้งเรียกว่า "ไทยตะนาวศรี"
ตะนาวศรีเสี่ยงแค่ไหน?
ตะนาวศรีเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูง และใกล้รัฐที่มีการแบ่งแยกดินแดน คือกระเหรี่ยงและมอญ แต่กลับมีการรบน้อยกว่าจุดอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากองกำลังชนกลุ่มน้อยจะควบคุมพื้นที่นี้ได้ไม่ยาก จากการรายงานของ Frontier Myanmar สื่ออิสระในเมียนมาเมือเดือนพฤศจิกายน 2023 ระบุหลังจากส่งผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตะนาวศรีโดยเฉพาะในพื้นที่เมืองมะริด ว่า "แม้ว่ากองกำลังต่อต้านอาจยังไม่พร้อมที่จะเข้ายึดเมืองต่างๆ ในตะนาวศรี แต่การเดินทางครั้งล่าสุดโดย Frontier ไปยังภูมิภาคทางใต้สุดของเมียนมา แสดงให้เห็นว่า ขาดการควบคุมทางทหารอย่างน่าตกใจในพื้นที่ชนบท นับตั้งแต่วินาทีที่เราข้ามชายแดนเข้าสู่ตะนาวศรี ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนการสู้รบที่มะริด เราไม่พบธงสีเหลือง สีเขียว และสีแดงของสหภาพเมียนมา – ที่ริเริ่มใช้โดยรัฐบาลทหารชุดก่อนในปี พ.ศ. 2553 – แต่พบธงสีแดง สีขาวและสีน้ำเงินของชาวกะเหรี่ยง"
นั่นหมายความว่า กระเหรี่ยงได้แสดงพลังในพื้นที่นี้มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีการโจมตีครั้งใหญ่เหมือนพื้นที่ชายแดนอื่นๆ ซึ่งในเวลานี้เรียกได้ว่าชุดชายแดนเกือบทั้งหมดของเมียนมากลายเป็นสมรภูมิไปเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ตะนาวศรีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการรายงานของ Frontier Myanmar นอกจากทหารเมียนมาจะไม่สามารถคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ยังมีด่านของ KNU หลายด่าน และกองกำลังต่างๆ ที่เคยแยกกับรบ ต่างก็หันมาจับมือกันเพื่อร่วมรบกับเป้าหมายเดียวกันแล้ว นั่นคือ รบกับกองทัพเผด็จการเมียนมา เพียงแต่จุอแข็เดียวของทหารเมียนมาคือ อาวุธของพวกเขาครบครันกว่ากองกำลงชนกลุ่มน้อย ถ้าไม่รีบยึดฐานที่มั่นแบบสายฟ้าแลบ ก็จะเอาชนะไม่ได้
อย่างไรก็ตาม คนในท้องที่เริ่มหันมาจับอาวุธสู้ร่วมกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย จากการรายงานของ Frontier Myanmar หนึ่งในกลุ่มที่แข็งแกร่งที่สุดในเมืองตะนาวศรี คือ "กองทหารอาสา บัต มะ ไลก์ ซึ่งเข้าร่วมในการรบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2023 ที่เมืองมะริดด้วย ชื่อกลุ่มนี้แปลว่า "กลุ่มที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" ก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิกของชุมชนอย่างอิสระและเป็นระบบเพื่อต่อต้านการทำรัฐประหาร แต่ยอมมาอยู่กับรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือรัฐบาลประชาธิปไตยที่ตั้งคู่ขนานกับรัฐบาลเผด็จการทหาร
ไทยต้องเตรียมรั[มืออะไร?
เนื่องจากตะนาวศรีมีพรมแดนติดกับไทยยาวที่สุด และมีด่านเข้าออกมากที่สุดมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ระหว่างไทยกับเมียน โดยมีจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับตะนาวศรี คือ กาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบครีขันธ์, ชุมพร, ระนอง ดังนั้น พื้นที่นี้จึงกระทบกับไทยโดยตรง อย่างน้อยก็ในด้านเศรษฐกิจและในด้านการรองรับผู้อพยพที่อาจจะหนีภัยสงครามเข้ามาในไทย
ในช่วงไม่กี่เดือนและไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการทหารเมียนมาในตะนาวศรีเริ่มมีการวางมาตรการที่เข้มงวดขึ้น เช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้ออกคำสั่งควบคุมการเดินทางจของคนในรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่และภาคตะนาวศรี โดยบังคับให้คนท้องถิ่นต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการเดินทางไปยังนอกเขต
มีการวิเคราะห์กันว่ากฎนี้ออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้คนท้องถิ่นหนีการเกณฑ์ทหาร ซึ่งบังคับใช้ในปีนี้หลังจากกองทัพเมียนมาเพลี่ยงพล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ต้นเดือนเมษายนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศที่จะเกณฑ์ทหาร 260 คน เป็นทหารเกณฑ์ชุดแรกเพื่อรับราชการทหารในเขตตะนาวศรี
แต่จากการรายงานข่าวของสำนักข่าว Mizzima ของเมียนมารายงานการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ข่าวและข้อมูลของกองทัพพี่น้องภาคใต้ (SBA) ซึ่งมีฐานอยู่ในตะนาวศรี ว่า จากการเกณฑ์ทหารนี้ทำให้ “บางคนหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย และมาเลเซีย ในขณะที่บางคนหนีไปหลบภัยในพื้นที่ปลดปล่อยหรือเข้าร่วมกองกำลังปฏิวัติ น่าเสียดายที่เราไม่สามารถช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของรัฐบาลทหารได้ และรัฐบาลกำลังทำให้ประชาชนทะเลาะกัน”
นอกจากจะมีปัญหาเรื่องผู้อพยพหนีเข้าไทยแล้ว พื้นที่นี้ยังเป็นจุดส่งออกอาหารทะเลเข้าไทยจุดสำคัญ Frontier Myanmar ยังรายงานว่า นับตั้งแต่การเกิดรัฐประหารในเมียนมา การค้าอาหารทะเลผิดกฎหมาย คือการลักลอบนำเข้าจากเมียนมาเข้าไทยเฟื่องฟูอย่างมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรเมียนมาเข้มงวดมากขึ้นหลังการทำรัฐประหาร ทำให้มีการขนส่งอาหารทะเลใต้ดินเข้าไทยมากขึ้น
ผู้ค้าเมียนมาถึงกับบอกว่า "ที่เมืองไทยเขาซื้อกันทุกอย่าง"
แต่ผู้ควบคุมธุรกิจนี้จริงๆ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ศุลากร แต่เป็น "กองทัพเรือเมียนมา" หรือที่เรียกกันว่า "เทพแห่งท้องทะเล" จนกล่าวกันว่าผู้ที่เป็นเจ้าของทะเลเมียนมา ไม่ใช่คนหาปลา แต่เป็น "เทพแห่งท้องทะเล" หรือทหารเรือนั่นเอง
แน่นอนว่า นี่เป็นรายได้สำคัญเช่นกันของภาคตะนาวศรี และถ้าใครควบคุมอุตสาหกรรมนี้ไว้ได้ก็อาจจะมีทุนในการรบมากกว่าฝ่ายตรงข้าม