นาฬิกาหรูมือสองไม่ใช่แค่ไอเท็มแฟชั่นสำหรับ Gen Z แต่คือการลงทุนที่มีเหตุผล คุ้มค่า และยั่งยืน บทความนี้จะพาเจาะลึกว่า ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเลือกลงทุนในเรือนเวลาที่ไม่ต้องใหม่ แต่มีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว
ใครจะคิดว่าวันหนึ่งนาฬิกาหรู ซึ่งครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นของฟุ่มเฟือย จะกลายเป็นไอเท็มที่คนรุ่นใหม่ยอมจ่าย เพราะพวกเขาเห็นว่า มันคือสิ่งที่มีคุณค่า มากกว่าแค่การมีราคา โดยเฉพาะเมื่อนาฬิกา ยิ่งถ้าเรือนนั้นไม่ใช่ของใหม่แกะกล่อง แต่เป็นของมือสองที่เต็มไปด้วยเรื่องราว
Gen Z เติบโตมาท่ามกลางยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ พวกเขาจึงไม่เชื่อในของใหม่เพียงเพราะมันใหม่ แต่เลือกซื้อของที่มีความยั่งยืนใช้ได้นาน มากกว่าแค่เป็นผู้ตามกระแส นาฬิกาหรูมือสองจึงกลายเป็นคำตอบทั้งในแง่ความคุ้มค่า การลงทุน และภาพสะท้อนตัวตน
ในปีที่ผ่านมามีข้อมูลจาก McKinsey & Company และ Financial Times ที่น่าสนใจว่ากว่า 20% ของ Gen Z มีแนวโน้มจะซื้อนาฬิกาหรูภายในเวลา 12 เดือน และในบรรดาการซื้อนั้นกว่า 80% เลือกนาฬิกามือสอง ความนิยมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะใครมาชี้นำ แต่เพราะพวกเขาพบเองว่า ของเก่าไม่ได้หมายถึงของด้อยค่า ในทางกลับกันมันคือของที่ผ่านกาลเวลา มีความคุ้มค่าและมีจิตวิญญาณบางอย่างที่ของใหม่ไม่มี
อีกสิ่งที่น่าสังเกตคือ แพลตฟอร์มอย่าง Depop, TikTok และ Chrono24 กลายเป็นที่รวมตัวของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่พูดภาษานาฬิกาแบบไม่ต้องตะโกน พวกเขาอาจไม่ได้ประกาศตัวว่าเป็นนักลงทุนหรือคอลเลกเตอร์ แต่เรื่องราวที่เล่าผ่านนาฬิกาบนข้อมือกลับทรงพลังมากกว่าแคปชั่นไหน ๆ เพราะมันแสดงให้เห็นว่า พวกเขารู้ดีว่าเงินที่หามาได้ ควรถูกใช้ไปกับอะไร และเพราะอะไร
ตลาดนาฬิกามือสองเองก็สะท้อนแนวโน้มนี้อย่างชัดเจน อย่างในปี 2024 ตลาดสินค้า Luxury มือสองมีมูลค่าแตะระดับ 48 พันล้านยูโร ขณะที่ตลาดนาฬิกาหรูมือสองโดยเฉพาะมีมูลค่ากว่า 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงเติบโตเฉลี่ยราว 10–12% ต่อปี นี่ไม่ใช่แค่แฟชั่น แต่มันคือเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่คนรุ่นใหม่กำลังขับเคลื่อน
เมื่อลองมองลึกลงไปในรสนิยม จะเห็นได้ว่าพวกเขาไม่ได้ไล่ตามนาฬิกาที่ดังที่สุด หรือแพงที่สุด แต่เลือกเรือนที่เหมาะกับชีวิตจริง ซึ่งนาฬิกาที่บรรดา Gen Z นิยมนั้นกลับเป็น Rolex Datejust ที่มีทั้งความคลาสสิก ใช้งานได้ทุกวัน และมีราคาที่จับต้องได้
ดูเพิ่มเติมที่ : Website Rolex
เช่นเดียวกับ Submariner ที่ให้ลุคสปอร์ตแต่หรู ดูมั่นคง และขายต่อได้ง่าย หรือ GMT‑Master II ที่รุ่น Pepsi และ Batman กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่เพราะดีไซน์สะดุดตา และมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 500% ในช่วง 15 ปี
อย่างไรก็ตาม พอพูดถึงนาฬิกา “ไอคอน” อย่าง Rolex Daytona กลับกลายเป็นว่า มันไม่ใช่จุดเริ่มต้นของ Gen Z หลายคน แม้ Daytona จะมีประวัติศาสตร์และชื่อเสียงระดับตำนาน แต่มันกลับรู้สึกห่างไกล ด้วยราคาในตลาดมือสองที่แตะหลัก 700,000 ถึง 1.5 ล้านบาท ทำให้มันดูเหมาะสำหรับการฉลองความสำเร็จมากกว่าจะใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังต้องพึ่งพาความสัมพันธ์กับตัวแทนจำหน่าย ซึ่งไม่ใช่แนวทางของ Gen Z
ดังนั้น นาฬิกาที่คาดว่าจะมาแทนที่ Daytona สำหรับคนรุ่นใหม่นั้นน่าสนใจไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น Omega Speedmaster ที่ดีไซน์คล้าย Daytona แต่ “ซอฟต์” กว่า ทั้งในแง่ของราคาและความรู้สึก
ดูเพิ่มเติมที่ : Website OMEGA
หรือ Tudor Black Bay Chrono ที่ให้ความสปอร์ตแบบเรียบเท่ในราคาครึ่งเดียว รวมถึง Cartier Tank ที่กลายเป็นไอเท็มแฟชั่นที่ส่งสัญญาณว่าฉันไม่ต้องตะโกนก็มีสไตล์ รวมถึงGrand Seiko ที่แม้ไม่ใช่ชื่อระดับโลก แต่กลับกลายเป็นความลับของคนที่รู้จริง
ดูเพิ่มเติมที่ : Websire TUDOR
ดูเพิ่มเติมที่ : Website Carteir
ดูเพิ่มเติ่มที่ : Website Grand Seiko
ทั้งหมดนี้คือภาพสะท้อนว่า Gen Z ไม่ได้หนีจากความหรูหรา พวกเขาแค่กำลังเปลี่ยนนิยามมันใหม่ พวกเขาเลือกความหรูที่ต้องคุ้มค่า และเลือกความคลาสสิกที่มีเรื่องเล่ามากกว่าชื่อเสียง
แหล่งข้อมูล :
-
Financial Times
-
McKinsey & Company
-
Bain & Company
-
Barrington Watch Winders
-
Business Insider
-
Chrono24
-
NSS Magazine
-
Yahoo Finance
-
DIE WELT
-
The Guardian
-
Houlihan Lokey