เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวว่าเขตยองยังกุน ในจังหวัดคยองซังบุกโด ประเทศเกาหลีใต้ล่าวอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลกลางเพื่อเชิญผู้ลี้ภัยจากเมียนมาจำนวน 40 คนไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งและช่วยเหลือให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานที่นั่นอย่างถาวร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาประชากรที่ลดลง อันเป็นปัญหาใหญ่ของเกาหลีใต้
ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้วเขตยองยังกุนมีจำนงนประชากรลดลงอย่างน่าตกใจ โดยมีอัตราการเกิดเพียงแค่ 29 คนและเสียชีวิตมากถึว 281 คน จากประชากร 15,000 คน ทำให้ยองยังกุนมีจำนวนผู้อยู่อาศัยต่ำที่สุดในบรรดาเขตต่างๆ ของประเทศเกาหลี ยกเว้นประชากรบนเกาะต่างๆ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาประชากรลดลงอยางรวดเร็ว เขตนี้จึงประกาศเมื่อเดือนมกราคมว่าจะรับผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการนำผู้อพยพต่างด้าวมาอยู่ในเขตที่มีประชากรเกาหลีดั้งเดิมอาศัยอยู่ จากข้อมูลของสำนักข่าวยองนัมอัลโบ ก่อนหน้านี้ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงชาวเมียนมาได้ตั้งรกรากในเกาหลีอาศัยอยู่กับชาวบ้านในเขตพูบยองกูและกำลังสร้างตัวเป็นสมาชิกของชุมชนนี้ นอกจากนี้ ยังมีเมืองอุลซานที่รับผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการประกาศออกไปว่าเขตยองยังกุนจะรับชาวเมียนมา มีชาวเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่กระดานข่าวออนไลน์ที่ดำเนินการโดยสำนักงานเขต จากรายงานของ Korea Times มีผู้แสดงความเห็นรายหนึ่งบอกว่า “แนวคิดที่ว่าการลดจำนวนประชากรสามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายพหุวัฒนธรรมหรือนโยบายการย้ายถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยนั้นเป็นเรื่องไร้สาระ นั่นไม่ถูกต้อง ฉันหวังว่าคุณจะคิดนโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชนของคุณเอง”
การรับชาวต่างด้าวมาอยู่ในเกาหลีใต้ด้วยก็ประสบปัญหาเช่นกัน เช่น กรณีของชาวเยเมน 550 ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามเดินทางมาถึงเกาะเชจูเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัยระหว่างปี 2016 ถึง 2018 มีการร้องเรียนอย่างหนัก จนรัฐบาลตัดสินใจไม่ให้ระงับการยกเว้นวีซ่าสำหรับชาวเยเมนที่เกาะเชจู และกำหนดข้อจำกัดในการห้ามไม่ให้ชาวเยเมนเดินทางจากเกาะแห่งนี้ไปยังแผ่นดินใหญ่
โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo - (ภาพประกอบข่าว) รูปปั้นพระเจ้าเซจงมหาราชแห่งเกาหลีใต้ ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะในกรุงโซลเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 (ภาพโดย Yasuyoshi CHIBA / AFP)