มีผู้มาเยือนประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 3 ล้านคนในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของปีนี้ โดยมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปตลอดช่วงฤดูร้อนที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ในญี่ปุ่นที่มีการควบคุมนักท่องเที่ยวมากขึ้น
1. เกียวโต เมืองประวัติศาสตร์และเมืองหลวงเก่าแก่ เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมาย เพิ่งจะมีคำสั่งห้ามนักท่องเที่ยวข้องไปในย่านกิองในส่วนที่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นย่านของเกอิชา หลังจากที่เกอิชา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น ถูกนักท่องเที่ยวล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว เช่น ไปถ่ายรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. เมืองฟูจิคาวากูจิโกะ ของญี่ปุ่น ในจังหวัดยามานาชิ ตัดสินใจสร้างแผงกั้นปิดทึบเพื่อบดบังทัศนียภาพของร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิอยู่ด้านหลัง จนเป็นซีนที่โด่งดังในโซเชียลมีเดีย และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แห่กันมาถ่ายภาพ จนกองทัพนักท่องเที่ยวสร้างความวุ่นวายให้กับการจราจรตามท้องถนนในพื้นที่
3. นายกเทศมนตรีเมืองฟูจิคาวากูจิโกะกล่าวว่า ฉากกั้นดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องทั้งคนขับรถ และนักท่องเที่ยวที่เดินข้ามถนนเพื่อที่จะถ่ายภาพโดยไม่สนใจการจราจร และยังช่วยป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวมารวมตัวกันจนบังด้านหน้าคลินิกทันตกรรมในเมือง จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่นดังกล่าว
ชิบูย่าคือจุดท่องเที่ยวล่าสุดที่ทนไม่ไหว
ชิบูย่าเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของโตเกียว แต่ก็เริ่มจะทนไม่ไหวกับนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งประกาศมาตรการ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนถนนหรือสถานที่สาธารณะในชิบูย่าตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึง 05.00 ทุกวัน (อายุการดื่มที่ถูกกฎหมายในญี่ปุ่นคือ 20 ปี) คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ แม้ว่า ชิบูย่าจะเป็นส่วนหนึ่งของมหานครโตเกียว แต่เป็นเขตปกครองที่สามารถกำหดระเบียบในท้องถิ่นเองได้ และมาตรการล่าสุดก็มีขึ้นมาเพื่อปกป้องท้องที่จากปัญหานักท่องเที่ยวมากเกินไป
“ความเสียหายที่เกิดจากนักท่องเที่ยวล้นเมืองกลายเป็นเรื่องร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดจากการดื่มบนท้องถนน การทะเลาะวิวาทกับชาวบ้าน และการทิ้งกระป๋องและขวดเปล่าจำนวนมาก” ทางการเทศบาล ชิบูย่าระบุในแถลงการณ์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ชิบูย่าะกำหนดกฎเพื่อควบคุมความวุ่นวายจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามามาเกินไป ฤดูใบไม้ร่วงที่แล้ว ชิบูย่าสั่งห้ามกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันฮาโลวีนในย่านนี้ โดยอ้างว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักที่ต้องมีการสั่งห้ามดังกล่าว นั่นรวมถึงการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกบาร์และร้านอาหาร
อย่างไรก็ตาม จากปากคำของนายกเทศมนตรีฮาเซเบะ กล่าวว่าธุรกิจในท้องถิ่นสนับสนุนกฎระเบียบดังกล่าวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 และอยู่เบื้องหลังการผลักดันให้กฎดังกล่าวเป็นแบบถาวร เรื่องนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นให้สามารถดำเนินกิจการขายเครื่องดื่มได้ แทนที่นักท่องเที่ยวจะซื้อเครื่องดื่มจากร้านสะดวกซื้อมาบริโภคเอง
Photo by Richard A. Brooks / AFP