เรื่องอื้อฉาวของหนังสือที่ทำจาก 'ผิวหนังมนุษย์' ในหอสมุดฮาร์วาร์ด

เรื่องอื้อฉาวของหนังสือที่ทำจาก 'ผิวหนังมนุษย์' ในหอสมุดฮาร์วาร์ด

เบื้องหลังเหตุการณ์
เมื่อปลายเดือนมีนาคม หอสมุดฮาร์วาร์ด (Harvard Library) ได้นำผิวหนังมนุษย์ออกจากการเข้าเล่มหนังสือ Des destinées de l’âme (พิมพ์ในทศวรรษ 1880) ของ อาร์แซน อูสเซอีย์ (Arsène Houssaye) โดยหนังสือเล่มนี้เข้าเล่มด้วยผิวหนังมนุษย์ที่เจ้าของคนแรก คือ นายแพทย์ ลูโดวิก บูลองด์ (Dr. Ludovic Bouland เกิด 1839 – ตาย 1933) นำมามาโดยไม่ได้รับความยินยอม จากร่างของผู้ป่วยหญิงที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลที่เขาทำงานอยู่ หนังสือเล่มนี้อยู่ในคอลเลกชันของห้องสมุดฮาร์วาร์ดตั้งแต่ปี 1934 

หนังสือหนังมนุษย์คืออะไร?
หนังสือหนังมนุษย์ มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า Anthropodermic bibliopegy คือการเข้าเล่มหนังสือด้วยผิวหนังมนุษย์ การอ้างอิงถึงหนังสือหนังมนุษย์นยุคแรกพบอยู่ในบันทึกการเดินทางของ เซคาริยาหส คอนราด ฟอน อุฟเฟนบาค (Zacharias Conrad von Uffenbach) นักปราชญ์ชาวเยอรมัน เขียนเกี่ยวกับการเยือนเมืองเบรเมินของเขาในปี 1710 โดยเขียนเอาไว้ถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องความตาย โดยบอกว่าหนังสือดังกล่าวมี  "การเข้าเล่มที่ผิดปกตินี้ แบบที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ดูเหมือนจะปรับให้เข้ากับหนังสือเล่มนี้ได้ดีเป็นพิเศษ โดยเน้นไปที่การพิจารณาเกี่ยวกับความตายมากขึ้น คุณจะเข้าใจว่ามันเป็นหนังหมู (แต่จริงๆ แล้วเป็นหนังมนุษย์)"

ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส มีข่าวลือว่ามีการจัดตั้งโรงฟอกหนังสำหรับผิวหนังมนุษย์ที่ย่านมอยดง นอกกรุงปารีส มีหลักฐานจากยุคนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์คาร์นาวาเลต์ (Carnavalet Museum) ซึ่งครอบครองหนังสือที่ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1793 และคำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง หนังสือเล่มนี้ทำจากผิวหนังมนุษย์เลียนแบบหนังของลูกวัว แต่ส่วนใหญ่หนังสือผิวหนังมนุษย์จะทำขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งมักได้รับการว่าจ้าง ดำเนินการ หรือเก็บรวบรวมโดยแพทย์ ซึ่งสามารถเข้าถึงศพได้ 

Photo - หนังสือชื่อ De Humani Corporis Fabrica  ทำขึ้นในปี 1863 เข้าเล่มด้วยหนังมนุษย์ อยู่ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ ในเล่มมีข้อความบอกไว้ว่า “หนังสือเล่มนี้เข้าเล่มกด้วยผิวของผู้หญิง”

หนังสือหนังมนุษย์จากยุคนี้มักทำขึ้นจากผิวหนังของอาชญากร เช่น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ (The Royal College of Surgeons of Edinburgh) เก็บรักษาสมุดบันทึกที่เข้าเล่มด้วยผิวหนังของฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนมากถึง 16 ศพ ที่ชื่อ วิลเลียม เบิร์ค หลังจากการประหารชีวิตและมีการผ่าศพในที่สาธารณะโดยศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ มอนโร ในปี 1829

นอกจากจากนี้ยังมีการได้ผวิหนังมาทำหนังสือด้วยวิธียินยอมพร้อมใจด้วย เช่น กรณีของ หญิงคนหนึ่งที่ชื่นชมนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คามีลย์ ฟลองมาริอง (Camille Flammarion) คาดว่าเธอยอมมอบผิวหนังของเธอเพื่อเข้าเล่มหนังสือเล่มหนึ่งของเขา ที่หอดูดาวของฟลองมาริอง มีสำเนาหนังสือของเขาที่ชื่อ La pluralité des mondes habités ซึ่งมีการประทับตราว่า reliure en peau humaine ในปี 1880 (เข้าเล่มด้วยผิวหนังมนุษย์ ปี 1880) 

แต่เรื่องนี้มันถูกต้องแค่ไหน?
มีหนังสือสามเล่มในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่เชื่อว่าเข้าเล่มเวยผิวหนังมนุษย์ แต่จากการพิสูจน์ด้รับการยืนยันเพียงเล่มเดียวเท่านั้น คือ  Des destinées de l'ame ซึ่งอยู่ที่ห้องสมุดฮอตัน หนังสืออีกสองเล่มที่ฮาร์วาร์ดระบุว่าเย็บเล่มด้วยหนังแกะ หนังสือเล่มแรกคือ Metamorphoses ซึ่งอยู่ที่ห้องสมุดเคาน์เวย์ หนังสือเล่มที่สองเป็นบทความเกี่ยวกับกฎหมายสเปน หนังสือ Practicarum quaestionum circa leges regias Hispaniae อยู่ห้องสมุดของวิทยาลัยกฎหมายฮาร์วาร์ด

Photo - หนังสือจากผิวหนังของฆาตกรต่อเนื่อง วิลเลียม เบิร์ค จัดแสดงที่ Surgeons' Hall เมืองเอดินบะระ (ภาพโดย Kim Traynor)

เนื่องจากมีการเข้าเล่มด้วยซากศพมนุษย์ หนังสือผิวหนังมนุษย์จึงเป็นปัญหาในด้านต่างๆ เช่น การระบุตัวตนของเจ้าของผิวหนังเพื่อจะนำไปทำการฝังต่อไป และมีการณรงค์ให้มีการถอดถอนหนังสือจำพวกนี้ออกจากห้องสมุดหนังสือโบราณ จนกระทั่งในช่วงปลายเดือนมีนาคมปีนี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้นำผิวหนังมนุษย์ที่ถูกขโมยหลังชันสูตรออกจากผู้ป่วยหญิงในโรงพยาบาลที่ไม่ปรากฏชื่อ ออกจากหนังสือ Des destinées de l'âme เนื่องจากข้อกังวลด้านจริยธรรม

แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า "ฮาร์วาร์ดสรุปว่าซากมนุษย์ที่ใช้ในการเข้าเล่มหนังสือจะไม่อยู่ในคอลเลคชันของห้องสมุดฮาร์วาร์ดอีกต่อไป เนื่องจากต้นกำเนิดของหนังสือและประวัติศาสตร์ที่ตามมาเต็มไปความกังวลทางจริยธรรม"

การรณรงค์เพื่อถอดถอนหนังสือผิวหนังมนุษย์ มีผู้ขับเคลื่อนสำคัญคือโครงการหนังสือผิวหนังมนุษย์ (Anthropodermic Book Project)  จากสถิติจนถึงเดือนเมษายน 2022 โครงการนี้ได้ตรวจสอบหนังสือ 31 เล่มจากทั้งหมด 50 เล่มในสถาบันสาธารณะที่น่าจะมีหนังสือที่เข้าเล่มด้วยหนังมนุษย์ โดยในจำนวนนี้ 18 เล่มได้รับการยืนยันว่าเป็นมนุษย์ และ 13 เล่มปรากฎว่าเป็นหนังสัตว์

ภาพประกอบข่าว - หนังสือเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของสตรีในศตวรรษที่ 17 ที่ห้องสมุด Wellcome Library ในอังกฤษ ทำการเข้าเล่มด้วยผิวหนังมนุษย์โดย นายแทพย์ ลูโดวิก บูลองด์ (Dr.  Ludovic Bouland) ประมาณปี 1865

TAGS: #หนังสือหนังมนุษย์