เมื่อคนมีเงินก็ลดลง ยอดขายเปียโนก็ลดลง ความฝันของคนชั้นกลางในจีนกำลังพังทลาย
มีรายงานว่ายอดขายปียโนในจีนลดลง และร้ายขายเปียโนทะยอยเปิดตัวลงจนผิดสังเกต รวมถึงธุรกิจที่คล้ายๆ กัน เช่น การสอนบัลเลต์ก็ปิดตัวลงเช่นกัน
ทั้งสองอย่างเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่คนจีนมักจะให้ลูกๆ ของตนได้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะ แน่นอนว่า ครอบครัวนั้นจะต้องมีอันจะกินพอสมควร
ถ้าเป็นช่วงไม่กี่ปีก่อนโควิด-19 จะเกิดขึ้น ครอบครัวมีอันจะกินในจีนก็คือครอบครัวชนชั้นกลางค่อนข้างสูงนั่นเอง ซึ่งมีจำนวนหลายสิบล้านครอบครัว เรียกว่าเป็น "ชนชั้นปกติ" ของสังคมก็ได้
แต่ตอนนี้ชนชั้นปกติไม่ใช่พวกนั้นอีกแล้ว แต่เป็นคนชั้นกลางรายได้ปานกลาง หรืออานจะเป็นคนชั้นกลางรายได้สูงแต่มัธยัสถ์กันมากขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเศรษฐกิจจีนกำลังซบเซาอย่างหนัก สืบเนื่องมาจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ และเพราะคนจีนนั้นมักจะออมด้วยการไปลงซื้ออสังหาฯ ดังนั้นเมื่อตลาดอสังหาฯ พัง เงินออมของพวกเขาก็พังไปด้วย
โดยสรุปก็คือคนจีนจนลง หรือถ้าไม่จนลงก็ใต่ตรองมากขึ้นเวลาใช้เงิน
กลับมาที่เรื่องของร้านเปียโนที่ทะยอยปิดตัวลง
เรื่องนี้มีรายงานในหนังสือพิมพ์เทียนจินรายวัน หรือ "เทียนจินรือเป้า" (天津日报) ของจีน ซึ่งระบุว่า "ตอนนี้ยอดขายเปียโนลดลง" กลายเป็นคำค้นยอดนิยมในโซเชียลมีเดียที่จีน รวมถึงชั้นเรียนสอนเปียโนก็มีนักเรียนน้อยลง
ร้านค้าหนึ่งบอกกับสื่อจีนรายนี้ว่ายอดขายเปียโนถึงกับตกลง 25% เมื่อเทียบปีต่อปี
แหล่งข่าวในธุรกิจเปียโนบอกกับเทียนจินรื่อเป้าว่า ยอดขายเปียโนเมื่อปีก่อนๆ มีมากถึง 40,000 ถึง 50,000 ยูนิต แต่เมื่อปีที่แล้วยอดขายลดลงเหลือแค่ 7,000 ยูนิต
นี่เป็นตัวชี้วัดได้อย่างดีว่า "ความคลั่งเปียโน" หรือ "กังฉินเร่อ" (钢琴热) ในจีนได้ยุติลงแล้ว พร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่ซบเซาลง
อันที่จริงแล้วมันมีวี่แววมาตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ แต่คนจีนก็ยังไม่เชื่อว่าความคลั่งเปียโนที่สร่างซาลงจะเป็นเรื่องจริง
เมื่อเดือนมกราคม มีคำค้นหาเกี่ยวกับเรื่องนี้เริ่มปรากฎตัวขึ้นในเวยปั๋ว ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียของจีน เช่น "ยอดขายเปียโนดิ่งเหว" (钢琴销量断崖式下滑), "ตลาดเปียโนพังทลายแล้ว" (钢琴市场崩了) และ "ชนชั้นกลางผวาตื่นจากความฝันเมื่อเปียโนล่มสลาย" (中产梦醒钢琴崩盘)
คำค้นหลังกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนการพังทลายของความฝันของชนชั้นกลางที่พอมีกินมีใช้ก็อยากจะมีชีวิตหรูหรามีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยากให้ลูกๆ ได้มีสังคมที่ "สูงกว่า "พ่อแม่
นี่คือการลงทุนของพ่อแม่ให้กับลูก เมื่อพูดถึงการลงทนให้ลูกแล้ว มันไม่เหมือนกับการลงทุนอสังหาฯ ที่คาดหวังผลตอบแทนได้ทันตา แต่กลายเป็นว่าพ่อแม่จีนเริ่มคิดว่าการลงทุนเปียโนให้กับลูกเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผลตอบแทนที่จับต้องได้
จากการรายงานของ finance.sina ยกกรณีตัวอย่างพ่อแม่รายหนึ่งซึ่งลงทุนทั้งเปียโนและคอร์สเรียนให้กับลูกเป็นเงินหลายหมื่นหยวนต่อปีเฉพาะค่าเรียนในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เฉพาะเปียโนที่สั่งนำเข้าจากญี่ปุ่นก็แพงถึง 26,000 หยวนแล้ว
แถมการเล่นเปียโนยังสร้างแต่ทุกข์มากกว่าสุข เพราะพ่อแม่เคี่ยวเข็ญลูกให้เรียนและฝึกอย่างยากลำบาก รวมๆ แล้วทั้งบ้านต้องทรมานเพราะมันแทนที่จะรื่นรมย์จากเสียงเพลง
อีกเรื่องที่ทำให้กระแสคลั่งเปียโนลดลงไป ก็เพราะรัฐบาลตัดแต้มพิเศษที่เคยให้กับเด็กที่มีความสามามารถพิเศษในการสอบเข้าเรียนประถมและมัธยม นั่นหมายความการมีทักษะเปียโนไม่ได้ช่วยให้ลูกๆ เขาเรียนได้ง่ายๆ อีก
ในสภาพเศรษฐกิจที่ "เหมือนจากฝันหวานมาเจอกับฝันสยอง" แบบนี้ ครอบครัวชนชั้นกลางในจีนต้องคิดอะไรที่มันติดดินและจับต้องได้มากขึ้น การคาดหวังว่าลูกจะอยู่ในสังคมที่ดีกว่าตน อาจจะต้องมาทบทวนด้วย เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจมันสวนทางกับความคาดหวัง
ความฝันของพ่อแม่ชนชั้นกลางตอนนี้ไม่ใช่แค่พัง แต่กำลังไปคนละทางกับลูกๆ ของพวกเขา
พวกเขาคาดหวังว่าลูกๆ จะเป็น "ลูกไก่" หรือ "จีวา" (鸡娃) ซึ่งเป็นคำสแลงในจีนที่หมายถึงการที่พ่อแม่ "กรีดเลือดไก่" ของตัวเองเพื่อให้ลูกไก่ได้ดิบได้ดี เรียนเก่ง มีทักษะเปียโน เล่นบัลเลต์ เพื่อเป็นชนชั้นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าพวกเขา
ตอนนี้พ่อแม่แก่เสียเลือดไก่ไปมหาศาลจากการลงทุนที่ผิดพลาดในอสังหาฯ และธุรกิจเทคฯ ที่กำลังถูกรัฐบาลควบคุมอย่างหนัก
ในขณะที่พวก "ลูกไก่" ก็เสียพลังวัตรไปมากมายเพราะความคาดหวังของพ่อแม่ที่อุตส่าห์ลงทุนไปกับลูกซะมากมาย ลูกๆ ไม่ใช่แค่เหนื่อย แต่ยังเพลียกับ "ความฝันชนชั้นกลาง" ของพ่อแม่
ลูกไก่ทั้งหลายจึงพากันผละจากความฝันของพ่อแม่ มาทำตามความฝันของพวกเขาบ้าง นั่นคือการ "เก็บเนื้อเก็บตัว" หรือ "เน่ยจ่วน" (内卷)
เน่ยจ่วน คือการที่คนรุ่นใหม่เหนื่อยหน่ายกับการแข่งขันที่ดุเดือดในชั้นเรียน การสอบเข้า การต้องไปแย่งงานหลังเรียนจบ การต้องรักษาตำแหน่งงานหลังได้งาน ทุกอย่างมันช่างเหมือนการ "กรีดเลือดตัวเองเพื่อกลืนเลือดตัวเอง"
มันสะท้อนถึงความสิ้นหวังของคนรุ่นใหม่ต่อค่านิยมยุคพ่อแม่พวกเขาที่ยังสนุกกับการฟันฝ่าอะไรพวกนั้น แต่เด็กๆ รุ่นนี้เหนื่อยเกินกว่าจะเดินตามรอย
นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในจีน
พ่อแม่ที่มีเงินลดลง การลงทุนที่หายไปต่อหน้าต่อตา แม้แต่การลงทุนในลูกๆ ก็ล้มเหลว ส่วนลูกๆ ก็หมดแรงจะแข่งขันอีก
ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจจีนจะอ่อนล้า แต่ชนชั้นที่ผลักดันเศรษฐกิจก็อ่อนแรงด้วย
รายงานพิศษโดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo by Anthony WALLACE / AFP