บริษัท Betavolt ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน สร้าง แบตเตอรี่นิวเคลียร์ชิ้นแรกในโลก ใช้การย่อส่วนพลังงานปรมาณูด้วยการติดตั้งไอโซโทปนิวเคลียร์ 63 ไอโซโทปลงในโมดูลที่เล็กกว่าเหรียญกษาปณ์
'แบตเตอรี่นิวเคลียร์' ทำงานโดยการแปลงพลังงานที่ปล่อยออกมาจากการสลายไอโซโทปให้เป็นพลังงานไฟฟ้า กระบวนการก็คือ ะพวกเขาใช้เซมิคอนดักเตอร์เพชรเป็นตัวแปลงพลังงาน โดยทีมงานได้พัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เพชรผลึกเดี่ยวที่มีความหนาเพียง 10 ไมครอน จากนั้นจึงวางแผ่นนิกเกิล-63 หนา 2 ไมครอนระหว่างคอนเวอร์เตอร์เซมิคอนดักเตอร์เพชรสองตัว
จากนั้นพลังงานสลายตัวของแหล่งกำเนิดรังสีจะถูกแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า มันสามารถส่งพลังงานได้ 100 ไมโครวัตต์ และแรงดันไฟฟ้า 3V โดยมีขนาดเล็กมากแค่ 15x15x5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่ที่มีกำลังไฟ 1 วัตต์ภายในปี 2025
แล้วมันจะมีปัญหาเรื่องกัมมันตภาพรังสีหรือไม่? Betavolt ระบุว่าแบตเตอรี่นิวเคลียร์ปลอดภัยเนื่องจากไม่มีรังสีส่งออกมาจากภายนอก และปลอดภัยจนสามารถใช้ในอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจและประสาทหูเทียม
Betavolt ยังระบุว่า 'แบตเตอรี่นิวเคลียร์' หรือ BV100 จะไม่ลุกไหม้หรือระเบิดเมื่อมีการเจาะทะลุหรือแม้แต่หลังจากถูกยิงด้วยกระสุนปืน ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ปัจจุบันบางประเภทที่อาจไม่ปลอดภัยหากได้รับความเสียหายหรือสัมผัสกับอุณหภูมิสูง
ขณะนี้โครงการผลิตได้เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบนำร่องแล้ว และจะมีการผลิตจำนวนมากสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ เช่น โทรศัพท์และโดรนในที่สุด และมันจะเป็นแบตเตอรี่แห่งอนาคตรุ่นต่อไป
“แบตเตอรี่พลังงานปรมาณูของ Betavolt สามารถตอบสนองความต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีอายุการใช้งานยาวนานได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การบินและอวกาศ อุปกรณ์ AI อุปกรณ์ทางการแพทย์ ไมโครโปรเซสเซอร์ เซ็นเซอร์ขั้นสูง โดรนขนาดเล็ก และไมโครหุ่นยนต์” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติจีนกล่าวในการแถลงข่าว
“นวัตกรรมพลังงานใหม่นี้จะช่วยให้จีนเป็นผู้นำในการปฏิวัติเทคโนโลยี AI รอบใหม่”
Photo - betavolt.tech