ปีนี้ร้อนสุดในรอบ 100,000 ปี อนาคตมนุษย์ชาติเริ่มร่อแร่ พฤศจิกายที่ว่าหนาวยังร้อนแบบ'ไม่ธรรมดา'
ปีนี้จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เท่าที่มีการบันทึกไว้ หลังจากที่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมากลายเป็นเดือนที่ร้อนทำลายสถิติเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน หน่วยงานติดตามสภาพอากาศของยุโรประบุเมื่อวันพุธ ข้อมูลนี้ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการเจรจา COP28 เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อเดือนที่แล้วทำลายสถิติความร้อนในเดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้า ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกของปี 2023 ร้อนขึ้นกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 1.46 องศาเซลเซียส ตามรายงานของ Copernicus Climate Change Service ของสหภาพยุโรป
มีการเตือนหลายครั้งว่าปีนี้อาจครองตำแหนางปีที่ร้อนที่สุดแทนที่ปี 2016 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากทำลายสถิติในเดือนกันยายนและตุลาคม แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่ามันจะมำลายสถิติจริงๆ
เดือนพฤศจิกายนยังมีวันที่อากาศอุ่นขึ้น 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้้นมาก่อนเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้
ซาแมนธา เบอร์เกส รองหัวหน้าฝ่ายบริการของสถาบัน Copernicus กล่าวว่าปี 2023 “ขณะนี้มี 6 เดือนที่ทำลายสถิติ และ 2 ฤดูกาลที่ทำลายสถิติ”
“อุณหภูมิโลกในเดือนพฤศจิกายนที่ไม่ธรรมดา รวมถึงอุณหภูมิที่อุ่นกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 2 วัน หมายความว่าปี 2023 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้” เบอร์เกส กล่าว
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าข้อมูลจากแกนน้ำแข็ง วงแหวนต้นไม้ และอื่นๆ บ่งชี้ว่าปีนี้อาจเป็นอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดในรอบกว่า 100,000 ปี
จะค่อยๆ เลิกหรือค่อยๆ ลด?
การประกาศสถิติดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ผู้เจรจาจากเกือบ 200 ประเทศร่วมการเจรจา COP28 ที่ดูไบร่วมกันอภิปรายเนื้อหาในร่างข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ตอบสนองต่อความคืบหน้าในการจำกัดภาวะโลกร้อน ซึ่งแทบไม่มีความคืบหน้าสำคัญ
สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ก็คืออนาคตของน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้โลกร้อนจากฝีมือมนุษย์
แนวทางการต่อสู้ในการเจรจาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่อุดมด้วยน้ำมันนั้น ได้มีการกำหนดไว้แล้วว่าจะตกลงที่จะ "ค่อยๆ เลิก" หรือ "ค่อยๆ ลด" เชื้อเพลิงฟอสซิล
แต่มีคำใหม่ที่ปรากฏขึ้นมาในที่ประชุม คือการให้คำมั่นว่าจะเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล "อย่างเป็นระเบียบและยุติธรรม" การใช้คำๆ นี้มีสัญญาณว่าอาจเกิดความเห็นพ้องกันระหว่างผู้แทนการประชุม เพราะทำให้ประเทศต่างๆ มีกำหนดเวลาที่แตกต่างกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาและการพึ่งพาไฮโดรคาร์บอน
แต่มีทางเลือกอื่น คือ ไม่ต้องเอ่ยถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลเลย ซึ่งสะท้อนถึงการต่อต้านจากประเทศต่างๆ รวมถึงซาอุดิอาระเบียและจีน ตามที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนที่เข้าร่วมการประชุมแบบปิดระบุ
ผู้สังเกตการณ์เผยข้อมูลว่า ร่างอีกฉบับหนึ่งที่เรียกร้องให้ “ยุติการผลิตไฟฟ้าถ่านหินอย่างรวดเร็วในทศวรรษนี้” ยังต้องเผชิญกับการต่อต้านจากจีน แอฟริกาใต้ และเวียดนาม
คาดว่าจะร่างข้อความฉบับใหม่ในเช้าวันที่ 12 ธันวาคม จากนั้นจะมีการกรองในการเจรจาซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 12 ธันวาคม
'อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ'
ในขณะเดียวกัน ปี 2023 ต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกยังคงเพิ่มขึ้นก็ตาม
ตามข้อมูลของสถาบัน Copernicus ซึ่งมีบันทึกย้อนกลับไปถึงปี 1940 ระบุว่าช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ร้อนกว่าปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดก่อนหน้านี้ถึง 0.13 องศาเซลเซียส
เชื่อกันว่าอุณหภูมิโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากรูปแบบสภาพอากาศเอลนิโญ ซึ่งทำให้เกิด "ความผิดปกติ" ที่เกิดขึ้นในปี 2023 น้อยกว่าในปี 2015-2016 หน่วยการระบุของสถาบัน Copernicus
เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงสามเดือนของฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเหนือ ซึ่งควรจะมีอุณหภูมิที่ลดล กลับกลายเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา "มาก" ตามข้อมูลของสถาบัน Copernicus
สถาบัน Copernicus กล่าวว่าเดือนพฤศจิกายนเพียงเดือนเดียว อุณหภูมิอุ่นกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.75 องศาเซลเซียส และเพิ่มขึ้น 0.85 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 1991-2020
ตัวเลขดังกล่าวอาจบ่งบอกว่าโลกกำลังเข้าใกล้เกณฑ์ที่กำหนดกันว่าไม่ควรให้อุณหภูมิร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อนับตั้งแต่ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญในข้อตกลงด้านสภาพอากาศตามความตกลงปารีส
อย่างไรก็ตาม หากจะฝ่าฝืนขีดจำกัดของความตดลงปารีส อุณหภูมิโลกจะต้องสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสนับเป็นเวลาหลายทศวรรษ
“ตราบใดที่ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มสูงขึ้น เราก็ไม่สามารถคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไปได้” คาร์โล บูออนเทมโป หัวหน้าสถาบัน Copernicus กล่าว
“อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และผลกระทบจากคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งก็เช่นกัน” เขากล่าวเสริม
นอกจากนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักวิจัยยังได้เตือนถึง "จุดเปลี่ยน" ของโลก 26 จุด เช่น แผ่นน้ำแข็งที่กำลังละลาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน ซึ่งเป็นหายนะที่ไม่อาจย้อนกลับได้ทั่วโลก
ที่มาข่าว Agence France-Presse
ภาพประกอบข่าว John McColgan, Bureau of Land Management, Alaska Fire Service (Public Domain)