“ใครควบคุมเงินได้ ก็ควบคุมโลกได้” การเมืองโลกในวาทะของ 'เฮนรี คิสซินเจอร์' ผู้จากไปในวัย 100 ปี

“ใครควบคุมเงินได้ ก็ควบคุมโลกได้” การเมืองโลกในวาทะของ 'เฮนรี คิสซินเจอร์' ผู้จากไปในวัย 100 ปี

โลกสูญเสีย 'เฮนรี คิสซินเจอร์' (Henry Kissinger) ในวัย 100 ปี ปิดตำนานนักการทูตชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ผู้เจรจาหยุดสงครามเวียดนาม ริเริ่มนโยบายคานอำนาจกับสหภาพโซเวียตซึ่งช่วยหยุดการเผชิญหน้าของมหาอำนาจ และยังนำการเปิดสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ จนเป็นส่วนหนึ่งของการยุติสงครามเย็น

คิสซินเจอร์ เป็นนักการทูตชาวอเมริกัน นักรัฐศาสตร์ที่ปรึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ และนักการเมือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขาธิการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งรัฐและความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และเจอรัลด์ ฟอร์ด

คิสซินเจอร์มีบทบาทสำคัญในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1969 ถึง 1977 โดยเป็นผู้บุกเบิกนโยบาย détente หรือการคานอำนาจระหว่างสองมหาอำนาจ ระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียต เป็นผู้จัดเตรียมการเปิดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน มีส่วนร่วมในการยุติสงครามยมคิปปูร์ระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับ และการเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพปารีส ซึ่งยุติการมีส่วนร่วมของอเมริกาในสงครามเวียดนาม

หลังจากออกจากรัฐบาล เขาได้ก่อตั้งบริษัท Kissinger Associates ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ระดับนานาชาติ คิสซิงเจอร์เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่าสิบเล่ม

นี่คือคำกล่าวที่แสดงภูมิปัญญาด้านการเมืองโลกและการทูตของคิสซินเจอร์จากหนังสืออันมีชื่อเสียงเล่มต่างๆ ของเขา  

“ใครควบคุมการจัดหาอาหารควบคุมประชาชน ผู้ควบคุมพลังงานสามารถควบคุมทั้งทวีปได้ ผู้ควบคุมเงินสามารถควบคุมโลกได้” คำกล่าวนี้ให้เครดิตว่าเป็นของ คิสซินเจอร์ แต่ไม่ทราบที่มา (Unsourced)

“พื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลง มนุษย์จำเป็นต้องมีสำนึกทางศีลธรรมเกี่ยวกับความถูกและผิด มีสิ่งที่เรียกว่าความชั่วและไม่ใช่ผลของการตกเป็นเหยื่อของสังคม คุณเป็นเพียงคนชั่วร้าย มีแนวโน้มที่จะทำสิ่งชั่วร้าย และคุณต้องถูกหยุดยั้งไม่ให้ทำสิ่งเหล่านั้น” (จากหนังสือ Leadership: Six Studies in World Strategy)

“ศิลปะของการจัดการวิกฤตคือการยกระดับการเดิมพันไปยังจุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะไม่ทำตาม แต่ทำในลักษณะที่เราจะไม่เสียเปรียบด้วย” (จากหนังสือ On China) 

“รูปแบบการทำสงครามสูงสุดคือการโจมตียุทธศาสตร์ [ของศัตรู] ลำดับต่อไปคือการโจมตีพันธมิตร [ของศัตรู] ต่อไปคือคือโจมตีกองทัพ” (จากหนังสือ On China) 

“ตามประวัติศาสตร์แล้ว พันธมิตรได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของประเทศในกรณีเกิดสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ใกล้เข้ามา แรงจูงใจหลักของการทำสงครามคือการเสริมสร้างพันธมิตร” (จากหนังสือ Diplomacy)

“สงครามจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเจตนาที่ทำให้เกิดสงครามนั้นมีความชอบธรรม เจตนาจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่ต้องพิจารณา ไม่ใช่วิธีการ... ผู้ที่ตั้งใจจะฆ่าผู้กระทำผิดบางครั้งก็ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องหลั่งเลือดโดยไม่มีความผิด...' กล่าวสั้นๆ คือ ผลลัพธ์จะเป็นตัวพิสูจน์วิธีการ” (จากหนังสือ Diplomacy) 

“จักรวรรดิเกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยการใช้กำลัง แต่ไม่จักรวรรดิใดที่อยู่ค้ำฟ้า ถึงที่สุดแล้ว ตามกฎสากลจำเป็นต้องแปลงอำนาจให้เป็นข้อผูกมัดเพื่อให้คงอยู่ต่อไป มิฉะนั้น พลังของผู้ปกครองจะหมดลงในการรักษาอำนาจการปกครองของตน โดยสูญเสียความสามารถในการกำหนดอนาคต ซึ่งเป็นภารกิจสูงสุดของรัฐบุรุษ จักรวรรดิยังคงมีอยู่หากการกำราบปราบรามทำให้เกิดฉันทามติได้” (จากหนังสือ On China) 

“การเดินทางบนเส้นทางที่ไม่เคยเดินทางมาก่อน ต้องใช้บุคคลิกภาพเฉพาะตนและความกล้าหาญ ที่ต้องเป็นบุคคลิกเฉพาะตนเพราะทางที่เลือกนั้นไม่ชัดเจน ที่ต้องเป็นความกล้าหาญเพราะเส้นทางจะเดียวดายในช่วงแรก และรัฐบุรุษจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนของเขายืนหยัดในความพยายามนี้” (จากหนังสือ World Order: Reflections on the Character of Nations and the Course of History) 

“การศึกษาประวัติศาสตร์ไม่มีคู่มือคำแนะนำที่สามารถนำไปใช้ได้โดยอัตโนมัติ ประวัติศาสตร์สอนโดยการเปรียบเทียบ โดยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับผลที่ตามมาของสถานการณ์ที่เทียบเคียงกันได้”  (จากหนังสือ Diplomacy) 

“โดยธรรมชาติแล้ว นักปฏิวัติมีบุคลิกที่ทรงพลังและมีใจจดจ่ออยู่เกือบจะสม่ำเสมอ พวกเขาเริ่มต้นจากจุดยืนที่อ่อนแอเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง และสำเร็จของพวกเขามาจากการช่วงใช้บุคคลิกภาพอันโดดเด่นและความสามารถในการปลุกระดมความขุ่นเคือง และใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอทางจิตวิทยาของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเสื่อมถอยลง” (จากหนังสือ On China) 

“นักการเมืองก็เหมือนสุนัข อายุขัยของพวกเขาสั้นเกินไปที่จะแบกรับคำมั่นสัญญา” (The White House Years)

TAGS: #Henry #Kissinger