เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินแอร์เสีย! หรือไม่สามารถอยู่ห้องแอร์ได้ การทนนอนในพื้นที่อากาศร้อนอบอ้าวนั้นกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยควรทำอย่างไร?
หากใครที่มีญาติพี่น้อง หรือตัวเราที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล นอกจากความอุ่นใจที่ได้อยู่ใกล้มือแพทย์แล้วห้องพักถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญมากในการพักฟื้น หากมีทุนที่พอจะได้อยู่ห้องแอร์นั่นยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับคนป่วยได้แน่นอน
แต่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินแอร์เสีย! หรือไม่สามารถอยู่ห้องแอร์ได้ การทนนอนในพื้นที่อากาศร้อนอบอ้าวนั้นกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจ อากาศร้อนอบอ้าว ทำให้หัวใจหยุดเต้น
สภาวะอากาศเมืองไทยในปัจจุบันสามารถทำให้เกิด Heat Stroke หรือภาวะลมแดดได้ คือภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเร็วเกินไป โดยมีอุณหภูมิร่างกายเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส นับว่าเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิตมีผลทำให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปกติ ได้แก่ สมองบวม ปอดอักเสบรุนแรง (ไม่ใช่จากการติดเชื้อ) หัวใจและการไหลเวียนล้มเหลว ตับวาย ไตวาย การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และเซลล์กล้ามเนื้อถูกทำลาย
อันตรายจากความร้อนนั้นแยกออกเป็น 3 ประเภท
ลมร้อน (Heat Exhuaustion)
การเป็นลมชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากการอยู่ในที่มีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอากาศที่ร้อนและความชื้นสูงด้วย จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูง
ซึ่งจะทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณผิวหนังมากขึ้น เพื่อขับเหงื่อออกจากร่างกาย ถ้ากำลังสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่เพียงพอสำหรับเพิ่มกระแสเลือดที่จะไปเลี้ยงผิวหนัง
นอกเหนือจากที่ต้องไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและสมองแล้ว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ถ้าสภาวะนี้เป็นไปเรื่อย ๆจะทำให้เป็นลมเพราะสมองขาดออกซิเจน
พบได้ในคนที่เหนื่อยง่าย เสพสุราเรื้อรัง เป็นโรคเกี่ยวกับความดัน มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ และไม่เคยชินกับการทำงานหรือออกกำลังกายในที่มีอากาศร้อนอบอ้าวและมีความชื้น
ลมแดด (Heat stroke)
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากทำการช่วยเหลือไม่ทัน เมื่ออากาศร้อนเหงื่อจะออกมากทำให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นลง ร่างกายจะพยายามรักษาระดับอุณหภูมิไว้
ในกรณีที่จะเกิดลมแดด กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายไม่ทำงาน เมื่อวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (ค่าถูกต้องมากกว่าวัดที่ผิวหนังและใต้รักแร้) จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 41 องศา เมื่อร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ทำให้ปริมาณความร้อนที่สูงมากทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งควบคุมการขยายตัวของหลอดเลือด รวมทั้งการกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อ
ความผิดปกตินี้พบได้ทั่วโลก ลมแดด (Heat stroke) จึงเป็นภาวะที่มีความรุนแรง แก้ไขได้ยาก อัตราตายสูง และควรได้รับการป้องกันได้เป็นอย่างดี
ตะคริว (Heat cramp)
ตะคริวเกิดจากการออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานานในที่มีอากาศร้อนจัด ทำให้มีเหงื่อออกมากและร่างกายสูญเสียเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ปวดและกล้ามเนื้อหดเกร็ง การเกิดตะคริวอาจมีผลมาจากการที่ดื่มน้ำเย็นจัดอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ภายหลังจากการออกกำลังกายในที่อากาศร้อนจัด
โดยทั่วไปแล้วหากผู้ป่วยต้องอยู่ในที่อากาศร้อน ให้นำผู้ป่วยเข้าพักในที่เย็น หรือที่มีร่มเงา และอากาศถ่ายเทสะดวกให้ผู้ป่วยนอนยกเท้าสูง เพื่อป้องกันภาวะช็อค ตลอดจนให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ และไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
ปลดหรือคลายเครื่องแต่งกายที่คับให้หลวม ให้ดื่มน้ำเย็นช้า ๆ เช่นเดียวกับผู้ป่วยลมร้อน และถ้าหากเราต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้นอนห้องแอร์แต่เกิดปัญหาแอร์เสียแล้ว เราควรจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทำการเปลี่ยนห้องทันที