ประเมินยอดใช้ไฟฟ้าเขตกทม.และปริมณฑลพุ่ง 1.2 หมื่นเมกะวัตต์ในปี’73 รองรับเศรษฐกิจฟื้น คาดมีรถ EV สะสม 3 ล้านคัน
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง( MEA ) เปิดเผย ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 65 ปี ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ MEA ดูแล คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ขยายตัวร้อยละ 1 มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสะสม 51,398 ล้านหน่วย โดยมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีก)อยู่ที่ 9,733.50 เมกะวัตต์ ซึ่งมีอัตราเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19
ทั้งนี้ได้ประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าในระยะยาวรองรับการเติบโตของปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากระบบขนส่งทางรางและทางบก เช่นรถไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้า(EV) จะขยายตัวร้อยละ 13 ในปี 2573 หรือ ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด จะอยู่ที่ 12,000 เมกะวัตต์ โดยในส่วนของรถEV จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 หมื่นคัน
นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนองค์กรโดยยึดหลัก Tripple Go for Goal ใน 3 ด้าน คือ Go Smart, Go Digital และ Go Green ภายใต้วิสัยทัศน์ Energy forcity life, Energize smart living ในการขับเคลื่อนพลังงานเพื่อ วิถีชีวิตเมืองมหานคร
สำหรับ GO Smart คือ การพัฒนาระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยที ที่ทันสมัย เป็นหัวใจสำคัญทจะช่วยเสริม ความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า โดย MEA ได้ดำาเนินโครงการด้าน GO Smart เช่น โครงการ Smart Metro Grid ที่ปัจจุบัน MEA ได้ติดตั้ง Smart Meter รวมจำนวน 33,265 ชุด ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Online ช่วยในด้านการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า วิเคราะห์จุดเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง โดยภายในปี 2570 จะติดตั้งรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 441,400 ชุด รวมถึงยังมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับหม้อแปลงจำหน่ายภายใต้โครงการ TLM (TransformerLoad Monitoring) ช่วยในการวางแผนขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้า โดยภายในปี 2570 จะติดตั้งแล้วเสร็จครบทั้งพื้นที่ MEA ที่มีจำนวน 62,400 ชุด
ขณะเดียวกันยังได้เดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โดยเฉพาะในเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆซึ่ง จะมีแผนงานที่สาเร็จเพิ่มมากขึ้นในปี 2566 จะมีเส้นทางที่แล้วเสร็จเพิ่มเติม 29 กิโลเมตร รวมเป็น 91 กิโลเมตร ขณะเดียวกัน MEA ยังมีแผนที่จะดำเนินโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินให้แล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 236.1 กิโลเมตร ภายในปี 2570 และมีแผนที่จะดำเนินการในอนาคตอีก 1,140.8 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้นเป็น 1,454.3กิโลเมตร
ด้าน Go Digital นั้น MEA ได้ยกระดับไปสู่การเป็น Fully Digital Service มีการพัฒนาการให้บริการผ่านออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ระบบ Tracking บริการทางธุรกรรมออนไลน์ของ MEA ผ่าน MEASY มีการพัฒนาบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (eLG on Blockchain) อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบ EV Data Roaming ทำให้ MEA EV Application สามารถแชร์ข้อมูลกับผู้ประกอบการรายใหญ่ต่าง ๆ ครอบคลุมทั้ง ในฟังก์ชั่นการค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้า และการจ่ายค่าบริการ
ด้าน Go Green นั้น MEA ได้สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EVEcosystem) มีการออกแบบระบบ Smart Charging เพื่อลดปัญหาการเกิด Overload รวมถึงล่าสุด ได้เปิดตัว MEA EV Super Charge เครื่องอัดประจุไฟฟ้า 120 kW ที่พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับระบบ Solar PV และ BatteryStorage ณ บริเวณอาคาร วัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่คลองเตย รองรับผู้ใช้บริการใจกลางเมืองมหานคร ซึ่งทำให้ภายในปี 2566 จะมีจำนวนหัวชาร์จรวมทั้งสิ้น 244 หัวชาร์จ
นายวิลาส กล่าวถึงเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กรแบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ คือระยะสั้นปี 2567 - 2568 Strengthen Smart Energy เป็นการขับเคลอื่นองค์กรเพื่อรองรับการเริ่มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อตอบสนองเมืองมหานคร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)ให้ครอบคลุมพื้นที่ 8 การไฟฟ้านครหลวงเขต มีระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ชั้นในและถนนเศรษฐกจิ ระยะที่ 1 มีการปรับการให้บริการที่เป็น Digital service อย่างเต็มรูปแบบ เชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานภายนอกด้าน EV Roaming และเป็นองรค์กรที่เชี่ยวชาญธุรกิจบริหารจัดการพลังงานแบบครบวงจร รวมถึงเชี่ยวชาญในธุรกิจบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และการสร้าง Power System Infrastructure พร้อมรองรับนโยบายซื้อขายพลังงานไฟฟ้าสีเขียว
สำหรับระยะกลาง ปี 2569 - 2570 Smart Utility นั้น MEA จะรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อตอบสนองเมืองมหานครโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ครอบคลุมพื้นที่ 18 เขต มีระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ในพื้นที่ชั้นในและถนนเศรษฐกิจระยะที่ 2 เชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานภายนอกด้าน Utility Service Center พร้อมรองรับนโยบายการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้า
ส่วนระยะยาว ปี 2571 - 2580 Sustainable Energy Utility จะมีการพัฒนาเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน ด้านพลังงาน ตอบสนองเมืองมหานครในอนาคต มีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) Gen 2 มีระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ชั้นในและถนนเศรษฐกิจ ระยะสุดท้ายให้ลูกค้าสามารถเลือกบริการตามความต้องการ เป็นผู้นำในการบริหารจัดการพลังงาน โดยใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉรยิ ะ (Smart Metro Grid)มีความพร้อมในธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าทั่วประเทศ และมี Startup ที่พร้อมจะนำไปพัฒนา เป็นบริษัทในเครือ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการใช้พลังงานและการดำเนินวิถีชิวิต ของประชาชน