‘InDrive’ ซูเปอร์แอปฯมาใหม่ ใช้กลยุทธ์ ‘ต้นทุนต่ำ’ บุกไทย ชาร์จส่วนแบ่ง 10% ตลอดไปมัดใจลูกค้า

‘InDrive’ ซูเปอร์แอปฯมาใหม่ ใช้กลยุทธ์ ‘ต้นทุนต่ำ’ บุกไทย ชาร์จส่วนแบ่ง 10% ตลอดไปมัดใจลูกค้า
‘อินไดรฟ์’ ซูเปอร์แอปฯ เบอร์2 ระดับโลก บุกตลาดไทยนำร่องบริการเรียกรถ เจาะหัวเมืองใหญ่ ด้วยกลยุทธ์ ‘โลว์ คอสต์ โอเปอเรชั่น’ ขอส่วนแบ่งจากต่อทริปแค่ 10% ตลอดไป ไม่ต้องใช้โปรโมฯโค้ด

แอนเดรียส สมิทธ์ (Andries) Smit รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ (VP New Ventures) บริษัท อินไดร์ฟ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ‘inDrive’ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ให้บริการซูเปอร์แอปพลิชั่นครบวงจรรายใหญ่เป็นอันดับ2 ในระดับโลก (ไม่รวมตลาดในประเทศจีน) โดยเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในเมืองยาคุตสค์ รัสเซีย ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 12  ปีและทำตลาดใน 46 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ดาวน์โหลดใช้บริการผ่านแอปฯ 250 ล้านครั้ง

“จุดเริ่มธุรกิจอินไดรฟ์ มาจากต้องการแก้เพนพ้อยต์ผู้คนในเมืองยาคุสต์ที่ต้องการเดินทางไปยังที่ต่างๆ  แต่ขาดแคลนรถรับส่งเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก หรือหากมีรถให้บริการก็มักจะคิดค่าโดยสารที่สูงขึ้นมากในช่วงนั้น ทำให้อินไดรฟ์มองเห็นโอกาสการให้บริการด้านการเดินทาง ด้วยจุดตั้งต้นคือความโปร่งใสด้วยค่าบริการที่เป็นธรรม จากนั้นได้ต่อยอดไปยังตลาดในประเทศอื่นๆ และเติบโตสูงในตะวันออกกลางและกลุ่มลาติน อเมริกา”  แอนเดรียส กล่าว

ล่าสุด บริษัทฯ เข้ามาจัดตั้งสำนักงานในไทยตั้งแต่ปี 2566 โดยนำร่องทำตลาดให้บริการเรียกรถคนขับส่วนตัว(Ride Hailing) ในเบื้องต้นจะให้บริการครอบคลุมในพื้นที่หัวเมืองใหญ่จังหวัดต่างๆ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา จากที่ผ่านมาให้บริการไปแล้วกว่า 1 หมื่นทริป และมีไรเดอร์ร่วมลงทะเบียนเป็นผู้ให้บริการราว 1,000 ราย ในปัจจุบัน

”อินไดรฟ์ มองเห็นโอกาสตลาด Ride Hailing ในไทยยังมีแนวโน้มเติบโตอีกมาก จากแนวโน้มพฤติกรรมคนไทยรุ่นใหม่กว่า 12 ล้านคนจากจำนวนประชากรไทยมีความคุ้นเคยการใช้งานดิจิทัลด้านต่างฯ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น  โดยในปี 2573 ตลาดรวมบริการนี้คาดจะมีมูลค่ากว่า 1-2  พันล้านดอลลาร์สหรัฐ” แอนเดรียส กล่าว

พร้อมเสริมว่า สำหรับการทำตลาดในไทย อินไดรฟ์ ได้นำแนวคิดการทำธุรกิจบนความโปร่งใสมาใช้ร่วมกับทั้งพันธมิตรผู้ให้บริการขับรถและผู้โดยสาร ด้วยอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมโดยคิดส่วนแบ่งรายได้ตลอดทั้งทริปอยู่ที่อัตรา10% พร้อมยกตัวอย่าง การเดินทางต่อครั้งมีค่าโดยสารอยู่ที่ 100 บาท บริการอินไดรฟ์ จะได้รับส่วนแบ่ง 10 บาท และที่เหลือ 90 บาทเป็นของคนขับ เป็นต้น  

“ส่วนแบ่ง 10% ที่อินไดรฟ์ได้รับถือว่าเพียงพอแล้ว ด้วยบริษัทใช้แนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจต้นทุนต่ำ หรือ โลว์ คอสต์ โอเปอเรชั่น ทำให้ไม่ต้องเสียค่าการตลาดเดมื่อเปรียบเทียบผู้ให้บริการรนายอื่นๆในตลาดบริการเรียรกรถรับส่งที่ใช้โปรโมชั่นส่วนลดค่าบริการ หรือ โปรโมชั่น โค้ด ให้กับลูกค้าใช้เป็นส่วนลดบริการเรียกรถ”  แอนเดรียส กล่าว

พร้อมเสริมว่า ขณะเดียวกันบริษัท ยังเตรียทำตลาดเชิงรุกในไทยมากขึ้น ด้วยการมองหาพันธมิตรธุรกิจเทคโนโลยีโดยเฉพาะการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เข้ามาใช้ร่วมกับการให้บริการมากขึ้น ทั้งการใช้เอไอ เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรคับคั่ง หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในด้านอื่นๆ ทั้งในรูปแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) และธุรกิจต่อผู้บริโภค (B2C)

นอกจากนี้ ในอนาคตอาจยังมีความเป็นไปได้ในการขยายธุรกิจใหม่ๆ ของอินไดรฟ์ ตามรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ในการทำตลาดในประเทศอื่นๆ ก่อนหน้าทั้ง บริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) จากธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่น บริการขนส่งสินค้าพัสดุ (Courier) ขนส่งสินค้าคาร์โก้ (Cargo) และ บริการให้สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ให้กับไรเดอร์ของอินไดรฟ์ด้วย และยังรวมไปถึงความร่วมมือการขยายบริการเรียกรถรับส่ง ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ไปจนถึงรถตู๊กตุ๊ก ซึ่งอาจมีความเป็นได้เช่นกัน

TAGS: #InDrive #อินไดรฟ์