ทวงคำตอบ 4 ประเด็นต้นเหตุทำไฟแพง รัฐควรคิดใหม่เคาะค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.ต้องได้ 4-4.10 บาท/หน่วย ช่วยลดภาระหน้าร้อนจ่ายค่าไฟมาก
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ต้องการให้ภาครัฐทบทวนค่าไฟฟ้ารอบเดือนพ.ค.-ส.ค. ให้ลดลงเหลือ4.10บาทต่อหน่วย ภายหลังคณกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดค่าไฟฟ้าต่ำสุดในรอบนี้อยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วยเท่ากับค่าไฟฟ้างวดเดือนม.ค.-เม.ย. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และลดภาระค่าครองชีพของประชาชนและภาครัฐในงบประมาณที่อุ้มกลุ่มเปราะบางในช่วงที่อากาศร้อนและประชาชนต้องใช้ปริมาณไฟฟ้ามากขึ้น
นอกจากนี้ควรเร่ง นโยบายเชิงรุกตามที่หลายภาคส่วนเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น แต่ยังขาดนโยบายเชิงรุกในการลดค่าไฟฟ้าที่ต้นเหตุ และไม่ควรพึ่งพิงโชคชะตา จากราคาพลังงานโลกที่ลดลง โดยไม่เร่งสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศ
ทั้งนี้สิ่งที่ภาครัฐต้องพิจารณา 1. ปัญหาค้างหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ที่อยู่เกือบระดับ 1 แสนล้านบาทแต่กลับยังไม่มีการพิจารณามาตรการรีไฟแนนซ์มาช่วยเหลือเพื่อต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
2. ปริมาณก๊าซธรรมชาติ( NG ) ในอ่าวไทย ลดลงเหลือ 40% (เดิม 42%) ทั้งๆ ที่หลุมเอราวัณแตะ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต(ลบ.ฟุต)ต่อวัน ภายในวันที่ 1 เม.ย. 2567 แต่กลับเพิ่มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว( LNG )นำเข้า(ที่แพงกว่า อ่าวไทยอีก 3%
3. ควรทบทวนต้นทุนที่แฝงอยู่ในก๊าซธรรมชาติ( NG ) เช่น ค่าผ่านท่อทั้งระบบ ,ทบทวนราคา NG ที่ขายโรงไฟฟ้าทุกประเภท( ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) , ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองโดยไม่ขายเข้าระบบของการไฟฟ้าหรือจำหน่ายไฟฟ้าให้ลูกค้าตรง( IPS )ให้เป็นราคาเดียวกับระบบผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่( IPP)
4. ภาครัฐควรเร่งรัดนโยบายส่งเสริมการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar เสรี และ Solar ภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด รวมทั้งระบบ ด้วยราคาที่จูงใจ ที่รับซื้อคืน มากกว่า “Net Billing” คือ การคำนวณค่าไฟแบบแยกคิดระหว่างค่าซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าสู่บ้าน กับค่าขายไฟฟ้าจากโซลาร์ให้การไฟฟ้า แล้วจึงนำเงินค่าขายไฟฟ้ามาหักลบกัน ที่ใช้ในปัจจุบัน และลดการนำเข้า LNG อีกทั้งการปลดล็อค ใบอนุญาต รง.4 ไม่ใช่แค่ Solar Rooftop ที่เกิน 1 MWแต่ควรรวมถึง Solar Farm และSolar Floating ด้วย