เทรนด์อนาคตอาหาร/เครื่องดื่ม คนยอมจ่ายเพื่อ 'สุขภาพ' คู่ 'ยั่งยืน’ แผน3 ปี ‘เต็ดตรา แพค’ มุ่งแพคเกจจิงไบโอ 100%

เทรนด์อนาคตอาหาร/เครื่องดื่ม คนยอมจ่ายเพื่อ 'สุขภาพ' คู่ 'ยั่งยืน’ แผน3 ปี ‘เต็ดตรา แพค’ มุ่งแพคเกจจิงไบโอ 100%
เต็ดตรา แพค เปิดรายงานอนาคตพฤติกรรมผู้คนทั่วโลก ยอมจ่ายให้กับอาหาร/เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ห่วงเงินเฟ้อกดกำลังซื้อของดกินข้าวนอกบ้าน-พักคาเฟ่ ฮอปเปอร์  

สุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทเต็ดตราแพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด (Tetra Pak) ผู้ผลิตและทำตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มระดับโลก เผยเทรนด์ผู้บริโภค ผ่านรายงาน ‘อนาคตของสุขภาพและโภชนาการ-The Future of Health and Nutrition’ โดยรวบรวมข้อมูลผู้บริโภค 5,000 คนใน 10 ประเทศทั่วโลกแต่ละทวีป อาทิ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ บราซิล และ ยุโรป ฯลฯ พร้อมวิจัยข้อมูลเชิงลึกร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ พันธมิตรธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้อง ในอุตสาหกรรม ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

โดยรายงานฉบับนี้ ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าสู่ยุคนอร์มใหม่ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยให้ความสำคัญใน 4 ด้านหลัก คือ

  1. ด้านการดูแลสุขภาพที่ดี

จากสถานการณ์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ‘โควิด’ เป็นตัวเร่งให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันรางกายที่แข็งแรงมากขึ้น โดยพบว่า

สัดส่วน 70%  ต้องการสุขภาพที่ดี จากการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการได้โภชนาการที่ดีจากการการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

สัดส่วน 69% ต้องการการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อดูแลสุขภาพเชิงป้องกันการรักษาก่อนการเจ็บป่วย เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย โดยผู้ถูกสำรวจ ยังให้ความสำคัญอันดับแรก คือ การดูแลร่างกายและจิตใจ ที่ดีไปพร้อมกัน

สัดส่วน 74% ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าที่ถูกอ้างถึงคุณประโยชน์ด้านสุขภาพที่ชัดเจน

“ผู้บริโภคต่างมองหาสิ่งที่ดีให้กับตัวเองมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์จะต้องระบุฟังก์ชัน พูดให้ชัด ตะโกนให้ดัง ถึงประโยชน์ตัวสินค้าว่าเป็นอย่างไร”  สุภนัฐ กล่าว

  1. ด้านค่าครองชีพ

ในปี 2567 ผู้บริโภคทั่วโลก จะกังวลต่อค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้นจากเงินฟ้อมากดดันการจับจ่ายในด้านต่างๆ ทำให้ปลายทางสินค้าอย่างอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น

โดยแนวโน้มสิ่งที่ผู้บริโภคเลือกตัดออกในอันดับต้นๆเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย คือ การรับประทานอาหารนอกบ้าน งดกิจกรรมรับประทานอาหารจุกจิก (Snacking) เช่น ลดความถี่การไปคาเฟ่ เป็นต้น

“ถ้ามองอีกมุมหนึ่งมีข้อดี คือ แม้ว่าสินค้าจะราคาสูงขึ้น แต่สิ่งที่ผู้บริโภคจะตัดทิ้งเป็นสิ่งท้ายๆ คือ ยอมจ่ายให้กับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ”

  1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน

ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญและใส่ใจด้านความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยจะตระหนักและเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีกระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มการปลูกวัตถุดิบ ไปจนถึงปลายทางการทำตลาด ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  

ดังนั้นการใช้บรรจุภัณฑ์ (แพคเกจจิง) ที่สามมารถย่อยสลายให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือใช้วัสดุทดแทนได้จากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น

“แบรนด์สินค้าต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่า สิ่งที่เราทำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยอย่างไร”

  1. เทคโนโลยี และ นวัตกรรมด้านฐานข้อมูล

การเข้ามาของเทคโนโลยีที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แทรคกิง ดีไวซ์ หรือ แอปพลิเคชัน ต่างๆ ที่เข้ามาช่วยสำรวจการทำกิจกรรมส่วนตัวที่มีผลกับการทำงานอวัยวะของร่างกายด้านต่างๆ เพื่อมอนิเตอร์การรับประทานอาหารได้ตามหลักโภชนาการ มากขึ้น

สัดส่วน 65% เห็นด้วยกับเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น

สัดส่วน 62%  เห็นด้วยว่าเทคโนโลยีมีส่วนช่วยทำให้เกิดความยั่งยืน

สัดส่วน 40% ผู้บริโภคกลุ่มช่วงอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นให้ ไม่มั่นใจประโยชน์เทคโนโลยีกับสุขภาพ

โดยรายงานฉบับนี้ ยังได้จำแนกผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสนใจในอาหารและเครื่องดื่ม ที่แตกต่างกันออกไปใน 6 กลุ่มหลัก คือ

  • กลุ่มควบคุมดูแลน้ำหนัก (Weight Watchers)
  • กลุ่มล้าหลังด้านสุขภาพ (Health Laggards)
  • กลุ่มที่ยังมีส่วนร่วมในวิถีแบบดั้งเดิม (Responsible Traditionalists)  
  • กลุ่มให้ความสำคัญด้านโภชนาการแบบไม่ซับซ้อน (Nutrition minimalists)
  • กลุ่มรักษ์โลก (Planet Lovers)
  • กลุ่มมองหาการบำบัดสุขภาพทางเลือก (Holistic Health Seekers)

นอกจากนี้ เต็ดตร้า แพค ยังได้พัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ (Concept Product)  พร้อมทดลองร่วมกับผู้บริโภค 6 กลุ่มใหม่ดังกล่าว ที่มีพฤติกรรมสนใจในผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 กลุ่มดังนี้

  1. Plant-based-next-generation ingradients

ปัจจุบัน สินค้าอาหารเครื่องดื่มไม่ได้มีเฉพาะโปรตีนจากถั่วเหลืองเท่านั้น แต่ยังสามารถหาได้จากพืชชนิดอื่น อาทิ นมอัลมอนด์ นมข้าวโอ้ต หรือ นมสำปะหลัง ให้สามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปพัฒนาสินค้าใหม่ๆได้

  1. Alternative protein : microbial protein

แหล่งโปรตีนใหม่จาก ไมโครไบโอล เช่น โปรตีนจากเห็ด 

  1. Alternative proteins: lab-grown food & drink

พัฒนาโปรตีนอาหารและเครื่องดื่มที่ได้จากห้องแล็บ อาทิ ผลิตภัณฑ์นมที่ให้ประโยชน์จากโปรตีนแหล่งอื่น ที่นอกเหนือจากนมวัว เป็นต้น 

  1. Alternative proteins: insect protein

โปรตีนที่ได้จากแมลง  

  1. De-sugarred juice

การใข้ปริมาณน้ำตาลลดน้อยลงในน้ำผลไม้ ตามแนวโน้มคนรุ่นใหม่ที่หันมาลดการบริโภคน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานน้อย เป็นต้น   

  1. Food made with low value side streams from production

อาหารที่ทำจากส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตอาหาร เช่น บายโปรดักส์ โดยสามารถนำกลับมาแปรรูป เพื่อลดสิ้นเปลืองวัตถุดิบจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาเป็นสินค้าใหม่ เช่น วัตถุดิบเปลือกส้ม นำกลับมาผลิตใหม่เป็นน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (Natural Oil) เป็นต้น

สุภนัฐ กล่าวว่าเทรนด์ผู้บริโภคทั้ง6 กลุ่มข้างต้น ยังสอดคล้องกับการทดลองแนวคิดผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 ประเภท ด้วยเช่นกัน โดยแต่ละกลุ่มจะให้ความสนใจแตกต่างออกตามพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิต

ขณะที่เต็ดตร้า แพค จะนำรายงานฉบับนี้ ไปปรับใช้ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาสินค้าบริการในอุตสาหกรรมร่วมกันต่อไปในอนาคต 

“เทรนด์การตลาดอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด จะเป็นด้านฟังก์ชันนัลที่ตอบโจทย์สุขภาพ ความปลอดภัยอาหาร การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเป็นแกนแรกๆ รวมไปถึงด้านไซส์ซิงบรรจุภัณฑ์ ในรูปแบบ ออน เดอะ โก พร้อมเอาไปใช้ข้างนอก หรือการใข้หลอดที่ถูกต้องกับการดื่ม มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะรองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ต้องการสิ่งเหล่านี้มากขึ้น และยอมจ่าย”

โดยแผนเต็ดตร้า แพค ใน 3-5 ปีนับจากนี้จะมุ่งพัฒนาสายการผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว โดยเฉพาะด้านความยั่งยืนมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัย พร้อมใช้วัสดุทดแทนการผลิตบรรจุภัณฑ์ในบางรุ่น อาทิ การใช้วัสดุกระดาษบางชั้น (Layers) ที่ทำมาจากไบโอ เบส เช่น ชานอ้อย เป็นต้น ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ พร้อมแผนเพิ่มปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์แนวคิดดังกล่าวได้ 100% ในอนาคต