ไล่คนออกจากร้านอาหารเพราะเป็นศัตรูการเมือง เจ้าของร้านมีสิทธิ์ไหม?

ไล่คนออกจากร้านอาหารเพราะเป็นศัตรูการเมือง เจ้าของร้านมีสิทธิ์ไหม?
ไล่คนออกจากร้าน เพราะเป็นศัตรูการเมือง ละเมิดหรือว่าเป็นสิทธิ์ของเจ้าของร้าน?

สำรวจตัวอย่างจากต่างประเทศ กรณีหมอพรทิพย์ถูกไล่ออกจากร้านอาหาร ทำแบบนี้ถูกหรือไม่? 

นี่คือกรณีศึกษาจากประเทศที่ถูกเรียกว่า "ดินแดนแห่งเสรีภาพ" ว่าร้านค้าในสหรัฐฯ มีเสรีภาพแค่ไหนที่จะปฏิเสธลูกค้า และลูกค้ามีสิทธิ์แค่ไหนที่จะรักษาจุดยืนทางการเมืองของตนเอง โดยที่ผู้อื่นไม่สามารถล่วงละเมิดได้ 

ในสหรัฐ ตามกฎหมายของรัฐบาลกลาง ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ ไม่มีสิทธิ์ไล่ลูกค้าเพราะมีอคติในเรื่องต่อไปนี้ คือ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ เพศ วัย เพราะลูกค้าทุพพลภาพ และเพราะรสนิยมทางเพศหรือเพศสภาพ

แต่ร้านอาหารมีสิทธิ์ไล่ลูกค้าได้ด้วยเหตุผลทางการเมือง ในบทความชื่อ The Corner of Politics and Main ซึ่งว่าด้วยคำถามทีคำถามที่ว่า "ธุรกิจสามารถปฏิเสธที่จะให้บริการลูกค้าตามการเมืองได้หรือไม่?" มีความเห็นของ ยูจีน วอลอค (Eugene Volokh) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ UCLA School of Law กล่าวว่า "ในรัฐส่วนใหญ่ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางอุดมการณ์ (ทางการมือง) และธุรกิจที่พักสาธารณะเช่นร้านอาหารอาจพูดว่า “เราไม่ให้บริการพรรครีพับลิกัน” หรือ “เราไม่ให้บริการคอมมิวนิสต์”"

และ วอลอค ชี้ว่าแม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะได้รับอนุญาตให้ปฏิเสธลูกค้าด้วยเหตุผลทางการเมืองได้ แต่ยังมี ยกเว้นในเมืองไม่กี่เมือง เช่น ซีแอตเทิล และ วอชิงตัน ดี.ซี.  และในแคลิฟอร์เนียอาจจะทำแบบนั้นไม่ได้ด้วย เพราะมีฎีกาเกี่ยวกับคดีประเภทนี้ โดยศาลตีความว่าการแสดงจุดยืนทางการเมือง ถือเป็นการแสดงความเชื่อและทัศนะส่วนบุคคล ซึ่งละเมิดไม่ได้

กรณีนั้นน่าสนใจมาก วอลอค กล่าวว่า เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว มีร้านอาหารเยอรมันที่รับแคลิฟอร์เนีย ที่ปฏิเสธที่จะให้บริการลูกค้าที่สวมเข็มกลัดนาซี และยังเป็นพวกที่เชื่อในลัทธินาซีจริงๆ ด้วย 

แม้ว่าแนวคิดนาซีและสัญลักษณ์นาซีจะเป็นเรื่องต้องห้ามร้ายแรง แต่การปฏิเสธลูกค้าที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบนาซี เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือเปล่า?

เรื่องนี้ใหญ่ขนาดที่สหภาพสิทธิพลเมืองอเมริกัน (ACLU ซึ่งเป็นองค์กรมุ่งมั่นที่จะ "ปกป้องและรักษาสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลที่รับประกันต่อทุกคนในประเทศนี้ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสหรัฐอเมริกา") รับหน้าที่เป็นผู้ฟ้องร้องในนามของผู้สวมเข็มกลัดนาซีในข้อหาเลือกปฏิบัติต่อผู้แสดงอุดมการณ์ ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายแคลิฟอร์เนีย ปรากฏว่าศาลตัดสินว่าร้านอาหารเยอรมันไม่สามารถไล่ลูกค้าหรือใครก็ตามออกไปจากร้านได้โดยอ้างว่าเพราะพวกเขาสวมเข็มกลัด (ที่แสดงจุดยืนทางการเมือง) 

แต่กรณีนี้เกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ซึ่งตีความว่าจุดยืนทางการเมือง (ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม) เป็นสิทธิส่วนบุคคล ห้ามร้านอาหารไล่ลูกค้าเพราะเรื่องนี้ แต่ในรัฐอื่นๆ อาจจะไล่ลูกค้าหรือปฏิเสธที่จะให้บริการได้ถ้าเกิดมีทัศนะการเมืองที่ไม่ตรงกับเจ้าของสถานที่

มีกรณีตัวอย่างคือ เมื่อครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ตอนนั้น ซาราห์ ฮัคคาบี แซนเดอร์ส เลขาธิการสื่อมวลชนของทำเนียบขาว ถูกปฏิเสธให้บริการในร้านอาหารชื่อ The Red Hen ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย เพราะเจ้าของร้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมืองของรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งทำให้สังคมอเมรอิกันแตกแยกอย่างรุนแรงและทำให้ถูกตำหนิอย่างแรงว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน 

สเตฟานี วิลคินสัน เจ้าของร้าน The Red Hen บอกกับ The Washington Post ว่า "ร้านอาหารแห่งนี้มีมาตรฐานบางอย่างที่ฉันรู้สึกว่าต้องรักษาไว้ เช่น ความซื่อสัตย์ ความเห็นอกเห็นใจ และความร่วมแรงร่วมใจ"

กรณีนี้ทำให้สังคมอเมริกันเสียงแตกเช่นกัน ฝ่ายต่อต้านทรัมป์เห็นด้วยอย่างมาก แต่ฝ่ายสนับสนุนทรัมป์ต่อว่าอย่างรุนแรง 

แต่กรณีนี้ เรจินัลด์ ชูฟอร์ด กรรมการบริหารของ ACLU สาขาเพนซิลเวเนียบอกกับ USA Today ว่า ร้านอาหารไล่ลูกค้าออกจากร้านเพราะผลทางการเมืองได้  แต่มีเงื่อนไขอยู่ 2 ข้อคือ 

ข้อแรก คือ ไล่ลูกค้าไม่ได้ถ้าเป็นการเลือกปฏิบัติเพราะ เชื้อชาติ เพศ ชาติกำเนิด หรือศาสนา ซึ่งได้รับการคุ้มครองภายใต้หัวข้อที่ 7 ของกฏหมายสิทธิพลเมืองปี 1964 

ข้อสอง ชูฟอร์ด บอกว่า "เขตอำนาจศาลมีกฎหมายบางแห่ง ห้ามมิให้ที่พัก (หรือบริการ) สาธารณะเลือกปฏิบัติโดนลำเอียงตามความคิดเห็นทางการเมือง''

ดังนั้น ในสหรัฐฯ ต้องดูเป็นพื้นที่ไปว่าพื้นที่นั้นมีกฎหมายท้องถิ่นที่ห้ามเลือกปฏิบัติเพราะทัศนะทางการเมืองหรือไม่

ส่วนที่ไอซ์แลนด์ ไม่ค่อยมีความขัดแย้งทางการเมืองแบบที่แยกเป็นขั้วตรงข้ามชัดเจนเหมือนประเทศไทยและสหรัฐฯ ดังนั้นกรณีแบบนี้จึงไม่ค่อยมี

จนกระทั่งคนไทยสองคนจากสองชั้วการเมืองโคจรมาพบกันที่ไอซ์แลนด์ เรื่องดราม่าข้ามโลกจึงบังเกิดขึ้น 
 

TAGS: #หมอพรทิพย์ #ไอซ์แลนด์