สื่อต่างประเทศรายงานว่าในเวลานี้โซเชียลมีเดียของจีน เช่น เสี่ยวหงชู (Xiaohongshu) เต็มไปด้วยโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการ 'สวมสิทธิ์ถิ่นกำเนิดสินค้า' (洗产地) โดยผู้ส่งออกบางรายส่งสินค้าหาทางและหาบริการเพื่อส่งสินค้าไปยังมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ หรือไทยก่อน จากนั้นจึงออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านภาษีของสหรัฐฯ
จากการรายงานของสื่อภาษีจีน เช่น หนางหยางซางเป้า (南洋商報) ของมาเลซียระบุว่ หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้กำหนดภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 145% ผู้ส่งออกของจีนจึงพยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงภาษีนี้มากขึ้น โดยแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือการใช้บริการ "ตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า" เพื่อปลอมแปลงสินค้าว่ามีแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศอื่นก่อนส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงมาเลเซียด้วย
ผู้สื่อข่าวจากหนางหยางเสียงเป้าค้นพบโฆษณา "ล้างถิ่นกำเนิด" (洗产地 หรือ สวมสิทธิ์ถิ่นกำเนิดสินค้า) จำนวนมากหลังจากค้นหาอย่างง่ายๆ บนแพลตฟอร์ท Xiaohongshu โดยหนึ่งในโฆษณาเหล่านั้นคือ "ต้นทุนในการทำใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของมาเลเซีย (CO) เท่าไร?" ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงอย่างดุเดือด โดยเผยให้เห็นว่าพ่อค้าชาวจีนใช้มาเลเซียเป็น "จุดเริ่มต้นในการขนส่ง" และถูกสงสัยว่าได้รับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของมาเลเซีย (CO) ด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
ในขณะที่ ตงฟางรื่อเป้า (东方日报) สื่อของมาเลเซียอีกราย พบว่ามีบัญชีหนึ่งชื่อ “Ruby — Third Country Transshipment” ได้โพสต์โฆษณาบนเว็บไซต์ Xiaohongshu โดยระบุว่า “สหรัฐฯ จัดเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าจีน? ส่งสินค้าผ่านมาเลเซียแล้ว 'กลายเป็น' สินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!”
นอกจากนี้จากการตรวจสอบข้อมูลยังพบบัญชีโต่วอิน (Douyin) ชื่อ "บริษัท จิ่งเหว่ย โลจิสติกส์นำเข้าและส่งออก" (经纬集运转口贸易物流) ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอเมื่อวันที่ 7 เมษายน โดยระบุว่า "บริษัทการค้าต่างประเทศจำนวนมากกำลังวางแผนการค้าแบบส่งออกซ้ำ (Re-exportation หรือ 转口贸易) นี่คือแนวโน้มของอุตสาหกรรม" "บริษัทขนส่งแบบออกซ้ำที่เชื่อถือได้ดำเนินการค้าแบบทรานส์ชิปปิ้งอย่างไร"
จากกระแสนี้ ทำให้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม กระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย (Miti) ประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 6พฤษภาคม เป็นต้นไป มาเลเซียจะเป็นหน่วยงานเดียวที่ออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบไม่ให้สิทธิพิเศษ (NPCO) สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจะหยุดให้อำนาจหอการค้าท้องถิ่น สมาคม หรือหน่วยงานอื่นที่แต่งตั้งโดย Miti ในการออกใบรับรองดังกล่าว
NPCO เป็นเอกสารที่ช่วยระบุถิ่นกำเนิดของสินค้าระหว่างประเทศเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านศุลกากรหรือการค้าของประเทศที่สินค้าถูกส่งไป
ทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo - AFP