'สงครามโลกครั้งที่ 3' เป็นสถานการณ์ที่หลายฝ่ายคาดการณ์บ่อยครั้งมากขึ้นว่า "จะเกิดขึ้นเมื่อไร?" ในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางอาวุธที่รุนแรงมากขึ้นทั่วโลก และบางคนถึงกับเชื่อว่าสงครามโลกครั้งต่อไป จะไม่แค่การปะทะด้วยการรบในสมรภูมิ แต่จะเป็นการทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์
จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food เมื่อเดือนสิงหาคม 2022 ซึ่งวิเคราะห์ผลจากการทำสงครามนิวเคลียร์ในระดับต่างๆ ต่อมนุษย์ชาติหลังจากเกิดสงครามและการปล่อยเขม่าควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิด Nuclear winter หรือ ผลกระทบจากสภาพอากาศเย็นลงทั่วโลกที่รุนแรงและยาวนานหลังเกิดสงครามนิวเคลียร์ครั้งใหญ่
นี่เป็นสมมติฐานทางวิชาการ ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่าระเบิดนิวเคลียร์สามารถพ่นเขม่าเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ซึ่งสามารถปิดกั้นแสงแดดโดยตรงไม่ให้ส่องถึงพื้นผิวโลกได้ มีการคาดเดาว่าการเย็นตัวที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ความล้มตายของพืชผลและการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวาง
จากงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ระบุว่าเมื่อเกิด Nuclear winter " ในกรณี (ที่มีการปล่อยเขม่าควันพิษ) 27 Tg จากละติจูดกลางถึงสูงของซีกโลกเหนือแสดงให้เห็นถึงการลดลงของการผลิตแคลอรีจากพืชผลมากกว่า 50% พร้อมกับการลดลงของการจับปลา 20–30% ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคละติจูดกลางถึงสูง (จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เกาหลีเหนือ และสหราชอาณาจักร) แสดงให้เห็นการลดลงของแคลอรีตั้งแต่ 30% ถึง 86% และในละติจูดที่ต่ำกว่า (อินเดีย ปากีสถาน และอิสราเอล) การลดลงน้อยกว่า 10%"
ความอดอยากจะฆ่ามนุษย์จนเกือบหมดโลก
สมมติว่าเกิดสงครามนิวเคลียร์เต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย มันจะปล่อยเขม่าควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์มากกว่า 150 Tg อาจคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 5,000 ล้านคนโดยอ้อมจากการอดอาหารในช่วงฤดูหนาวนิวเคลียร์
ผู้คนมากกว่า 2,000 ล้านคนอาจเสียชีวิตจากการอดอาหารจากสงครามนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (มีการปล่อยเขม่าควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ 5–47 Tg) ระหว่างอินเดียและปากีสถาน
ในกรณีที่เกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ประชากร 99% ในประเทศคู่สงคราม รวมถึงยุโรปและจีน จะเสียชีวิต นั่นหมายความว่าจะเหลือประชากรเพียง ตายแค่ 1% เท่านั้นในประเทศเหล่านี้
ถามว่าเรายังพอมีทางรอดไหม? ยังมีข้อยกเว้นว่า หากมีการปล่อยเขม่าควันพิษที่ระดับ 5 Tg และหลังจากนั้นอาหารกระจายอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลกโดยมีมีขยะในครัวเรือนอยู่ที่ 20% ก็จะมีอาหารเพียงพอสำหรับทุกคน แม้แต่ในกรณีที่มีการปล่อยเขม่าควันพิษ 16 Tg โดยมีการลดขยะในครัวเรือนลดลงจาก 20% เหลือ 10% ก็ยังจะพอมีอาหารเลี้ยงทุกคนได้
และแม้จะอยู่ภายใต้ระดับ 27 Tg ทุกคนก็จะบริโภคแคลอรีเพียงพอสำหรับการเอาชีวิตรอดหากไม่มีขยะในครัวเรือนเลย แต่การที่ระบุว่า "หากไม่มีขยะในครัวเรือนเลย" หมายถึงการกินอาการโดยไม่ทิ้งขว้างเลยแม้แต่น้อย แต่จะต้องมีการส่งอาหารให้ทั่วถึงทุกคน ซึ่งในสถานการณ์สงครามยากที่จะทำแบบนั้น
นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการทำสงครามนิวเคลียร์ขั้นร้ายแรงจนมีการปล่อยเขม่ควันพิษมากถึง 150 Tg ประเทศส่วนใหญ่จะมีประชากรรอดชีวิตน้อยกว่า 25% เมื่อสิ้นสุดปีที่ 2 หลังจากเกิดสงคราม
ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงสรุปว่า "ผลลัพธ์ที่นี่ให้การสนับสนุนเพิ่มเติมต่อคำแถลงของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนแห่งสหรัฐฯ และมิคาอิล กอร์บาชอฟ เลขาธิการสหภาพโซเวียตในปี 1985 และระบุซ้ำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซียในปี 2021 ว่า 'สงครามนิวเคลียร์ไม่มีใครเป็นผู้ชนะ และจะต้องไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด'"
ทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo - TOPSHOT - ควันลอยออกมาจากเศษซากอาคารที่บริเวณที่อิสราเอลโจมตีทางอากาศในย่านเลย์ลากี ในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของเบรุตเมื่อคืนวันที่ 1 ตุลาคม 2024 (ภาพโดย AFP)