ชินวัตรคนสุดท้ายที่จะเป็นนายกฯ บทวิเคราะห์สื่อนอกชำแหละอุ๊งอิ๊ง

ชินวัตรคนสุดท้ายที่จะเป็นนายกฯ บทวิเคราะห์สื่อนอกชำแหละอุ๊งอิ๊ง

สำนักข่าว CNA ของสิงคโปร์ เผยแพร่รายงานเชิงเคราะห์เรื่อง "บทวิเคราะห์: ทำไมไทยถึงอยู่ในจุดเปลี่ยนทางนโยบาย เมื่อชินวัตร “ผู้ที่น่าจะมีคุณสมบัติเหมาะสมคนสุดท้าย” ได้เป็นนายกรัฐมนตรี"

นี่คือสิ่งที่บทวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์การเมืองไทย

1. แม้ว่าจะมาจากครอบครัวทางการเมือง แต่แพทองธารถือเป็นมือใหม่ในกลไกทางการเมืองที่เต็มไปด้วยกลยุทธ์และความซับซ้อนของรัฐบาล เธอเคยทำหน้าที่เป็นเพียงหัวหน้าพรรคเพื่อไทยในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปีที่แล้ว และไม่เคยดำรงตำแหน่งใดๆ เลย นักวิเคราะห์กล่าวว่า เธอจะต้องพึ่งพาผู้ที่มีประสบการณ์รอบตัวเธอเป็นอย่างมาก รวมถึงพ่อของเธอด้วย และต้องระวังภัยคุกคามมากมายที่อาจทำให้ทั้งฝ่ายบริหารและบุคคลสำคัญคนสุดท้ายของราชวงศ์การเมืองต้องล่มสลาย

2. แพทองธาร ยังต้องตอบคำถามว่าเธอจะละทิ้งคำมั่นสัญญาหลักในนโยบายการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นั่นคือโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่ให้คำมั่นว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งในงานแถลงข่าวครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นางแพทองธารกล่าวว่ารัฐบาลจำเป็นต้อง “ศึกษาและรับฟังทางเลือกเพิ่มเติม” มากขึ้น แต่กล่าวว่าจะไม่ยกเลิกโครงการนี้ 

3. แต่ CNA ชี้ว่า "คำถามยังคงเกิดขึ้นว่านโยบายดังกล่าวจะเกิดขุ้นมาได้จากการระดมทุนอย่างไร (นอกจากนี้ยังมี) ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และประสิทธิผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา นอกจากนี้ยังมีคำถามทางกฎหมายที่กว้างกว่าเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ผู้นำที่ไม่มีประสบการณ์เกิดข้อผิดพลาดได้"

4. สำหรับสิงคโปร์ โครงการของรัฐบาลไทยที่ต้อจับตาเป็นพิเศษคือ Landbridge ซึ่ง CNA อ้างนักวิเคราะห์ที่กล่าวว่าในช่วงที่การเมืองปั่นป่วนเช่นนี้ ความสนใจของผู้คนอาจหันเหไปจากนโยบายสำคัญอื่นๆ เช่น โครงการ Landbridge และความสนใจอาจจะเปลี่ยนไปที่แนวคิดด้านนโยบายสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษิณมาก่อน เช่น นโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” ที่มีมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งมุ่งหวังที่จะฟื้นฟูชุมชนชนบทผ่านกองทุนเงินกู้ หรือการขยายขอบเขตการให้บริการด้านสาธารณสุขถ้วนหน้า

5. แต่นักวิเคราะห์นรายหนึ่งที่แสดงความเห็นกับ CNA คือ รองศาสตราจารย์ ยุทธพร อิสรชัย อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ชี้ว่าการปฏิบัติตามแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวของแพทองธาร จะไม่สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ได้ เพราะ "พรรคเพื่อไทยไม่มีจุดยืนที่แน่วแน่ (และ) ผลประโยชน์ของครอบครัวมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ผลประโยชน์ของราชวงศ์ชินวัตรอยู่เหนือผลประโยชน์ของประเทศ”

Photo by Chanakarn LAOSARAKHAM / AFP

TAGS: #แพทองธาร