กัมพูชากับลาวใครจนกว่ากัน แล้วใครจะพ้นจากความจนได้ก่อนกัน?

กัมพูชากับลาวใครจนกว่ากัน แล้วใครจะพ้นจากความจนได้ก่อนกัน?

กัมพูชาและลาว ถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย และในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองประเทศนี้เป็นรองแค่เพียงติมอร์-เลสเตกับเมียนมา อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของเมียนมานั้นต่างออกไป เนื่องจากประสบกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในโลก ส่วนติมอร์-เลสเตเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อปี 2545

ทั้งสี่ประเทศนี้อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่สุดของโลก (Least Developed Country หรือ LDC) ปัจจุบันมีอยู่ 46 ประเทศ

ดังนั้น หากไม่นับประเทศที่มีปัจจัยไม่เหมือนใครเหล่านี้ ทั้งกัมพูชาและลาวต่างก็ถือว่ามีระดบัความยากจนที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ว่าใครที่ยากจนกว่ากัน และใครที่มีโอกาสหลุดจากความยากจนมากกว่ากัน?

นี่คือข้อมูลจาก Asian Development Bank

สปป. ลาว
⦿ ใน สปป. ลาว 18.3% ของประชากรทั้งประเทศดำรงชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ โดยเส้นมาตรฐานความยากจนที่กำหนดโดยธนาคารโลกอยู่ที่การมีรายได้ต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน 

⦿ ในปี 2561 สัดส่วนของประชากร สปป. ลาว ที่มีงานทำมีรายได้ต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อต่อวันในปี 2566 อยู่ที่ 7.2%  (หมายถึงจำนวนคนที่มีรายได้  2.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ อยู่ที่ 7.2% ของประชากรทั้งประเทศ)

⦿ สำหรับประชากร สปป. ลาว ที่มีรายได้กำลังซื้อต่อวันที่ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 59.4% อัตรานี้หมายถึงคนที่ยากจนที่สุดในประเทศ (เทียบกับไทยที่ 0.1%, มาเลเซีย 3.5%, เวียดนาม 4.5%)

⦿ อีกตัววัดสำคัญว่าประเทศนั้นยากจนหรือไม่ คืออัตราการรอดชีวิตของทารก ปรากฎว่าทารกทุกๆ 1,000 คนที่เกิดในสปป. ลาวในปี 2565 มี 40 คนเสียชีวิตก่อนถึงอายุ 5 ขวบ

กัมพูชา 
⦾ ในกัมพูชา 17.8% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศในปี 2562 

⦾ ในกัมพูชา สัดส่วนของประชากรมีงานทำที่มีรายได้ต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อต่อวันในปี 2566 อยู่ที่ 20.5% (หมายถึงจำนวนคนที่มีรายได้  2.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ อยู่ที่ 20.5% ของประชากรทั้งประเทศ)

⦾ สำหรับประชากรกัมพูชาที่มีรายได้กำลังซื้อต่อวันที่ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 33.6% อัตรานี้หมายถึงคนที่ยากจนที่สุดในประเทศ (เทียบกับไทยที่ 0.1%, มาเลเซีย 3.5%, เวียดนาม 4.5%)

⦾ ส่วนอัตราการรอดชีวิตของทารกทุกๆ 1,000 คนที่เกิดในกัมพูชาในปี 2565 มี 24 คนคนเสียชีวิตก่อนถึงอายุ 5 ขวบ

ระหว่างลาวกับกัมพูชาใครจะพ้นจนก่อนกัน?
จากข้อมูลของสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า 

สปป. ลาว จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ผ่านพ้นระดับการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สุด ในปี 2569 หรือ 2026 โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ออกมติเกี่ยวกับการผ่านพ้นระดับการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สุดแล้ว ในกลุ่มเดียวกับลาวที่เป็นกลุ่ม Graduating countries ยังมี เซาตูเมและปรินซิปี (2024), บังคลาเทศ (2026), สปป. ลาว (2026), เนปาล (2026), หมู่เกาะโซโลมอน (2027)

กัมพูชา ยังคงอยู่ในระดับ Countries recommended for graduation นั่นคือประเทศที่ได้รับการแนะนำโดยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาของสหประชาชาติ (Committee for Development Policy หรือ CDP) ว่าสามารถจะพ้นระดับการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สุดได้ ซึ่งได้รับการรับรองโดยสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) และจะได้รับการพิจารณาโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีสองประเทศในกลุ่มนี้ คือ กัมพูชา, เซเนกัล

ในกรณีของกัมพูชา ยังไม่มีการกำหนดปีที่ชัดเจนว่าจะพ้นจากสถานะการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่สุดได้เมื่อไร อย่างไรก็ตาม ฉาย ทัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนของกัมพูชา คาดหวังว่ากัมพูชาอาจจะพ้นสถานะดังกล่าวในปี 2027 แต่กะมพูชาจะต้องมีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนเรื่องระดับความยากจน และเรื่องนี้ต้องผ่านการพิจารณษอย่างละเอียดต่อไป

Photo - ทองลุน สีสุลิด ประธานาธิบดีลาว (ขวา) มองธงชาติกัมพูชาระหว่างเยือนอนุสาวรีย์เอกราชในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 (ภาพโดย TANG CHHIN Sothy และ TANG CHHIN SOTHY / AFP)

TAGS: #ลาว #กัมพูชา #ความยากจน