รองศาสตราจารย์ ณัฐวุฒิ พิมพา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบาย ทำไมต้อง'ธุรกิจยั่งยืน?' ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทั้งที่เรารู้ว่ามีความเสี่ยงรออยู่ข้างหน้า
โดยนัยทางการบริหารนั้น ความยั่งยืน มีเงื่อนไขเวลาเป็นตัวตั้ง นั่นหมายถึงกิจกรรม หรือ การประกอบธุรกิจที่เราทำจะต้องคงอยู่และดำเนินไปได้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอเหมาะคำถามที่องค์กรรวมไปถึง บุคคลากรในภาคธุรกิจล้วนพยายามหาคำตอบให้กับตนเองคือ ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่ความยั่งยืนทั้งที่เรารู้ว่ามีความเสียงรออยู่ข้างหน้า และ ถ้าภาคธุรกิจจะทำเรื่องนี้ ต้องทำอะไร
ทำไมต้องธุรกิจยั่งยืน?
เมือเรามองกิจกรรมทางธุรกิจและการค้าในระดับโลกในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา เราจะมองเห็นการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม และ ธุรกิจหลายประเภท แต่ในเวลาเดียวกัน เราเองกลับติ้งเฝ้าระวังความท้าทายจากปัญหาใหญ่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ การมีก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลทั่วโลก หรอ การเอารัดเอาเปรียบทางการค้า เราคงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดความยั่งยืนจากปัญหาลุ่มนี้ หากเรามองในมิติสิ่งแวดล้อมแล้วเราจะพบว่าตัวเร่งปฎิกริยาของแนวคิดความยั่งยืนคือผลของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่พลังงาน น้ำ ผลิตภัณฑ์การเกษตร เชื้อเพลิงในการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตในสเกลระดับโลก รวมไปถึงการส่งเสริมการค้า (ค่อนข้าง) เสรีระหว่างประเทศอันนำปสู่การเคลื่อนย้ายของทรัพยากรต่างๆระหว่างประเทศในระยะเวลาอันรวดเร็วและตอบรับกลไกตลาดอย่างเต็มที่ ทรัพยากรธรรมชาติที่หมดไปในเวลาสั้นๆ กลับไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมล้วนแปรเปลี่ยน ดังนั้นภาคธุรกิจจึงเป็นจำเลยเบอร์ต้นในเรื่องของความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นผลกระทบทางสังคมอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจนั้นก็เป็นความต่อเนื่องจากประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น การกระจายผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม การใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติในการประกอบกิจการการค้าระหว่างประเทศอย่างไม่เป็นธรรมโดยอาศัยอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น รวมไปถึงการใช้ช่องว่างทางกฎหมายในพื้นที่ที่ระดับความเจริญไม่เท่าเทียมแหล่งอื่นเพื่อการตักตวงผลประโยชน์ทางการค้า และ สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาในหลักสูตรบริหารธุรกิจทั่วโลกที่ยึดมั่นในคำว่ากลยุทธ์ ผลกำไร และ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ปัญหาสังคมอันเกิดจากองค์กรทางธุรกิจเช่น ปัญหาความไม่เท่าเทียม การละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัญหาสุขภาวะ และ ปัญหาการแทรกแซงทางการเมืองท้องถืน จึงมีระดับความรุนแรงและเรื้อรังที่สูง
ความทับซ้อนกันของปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการใช้ทรัพยากร รวมไปถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคม นำไปสู่ความยากจนเรื้อรัง คุณภาพชีวิตที่ต่ำ องค์กรในภาคธุรกิจจึงโดนตั้งคำถามจากสังคมว่า อะไรคือบทบาทที่ภาคธุรกิจ คำถามว่า ทำไมต้องเป็นธุรกิจยั่งยืนนั้น มีคำตอบได้หลายมุมมอง เช่นมุมมองลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ในฐานะผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอันดับต้นๆเพื่อการผลิต และการผลิตนั้นมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมความมั่งคั่งให้กับคนบางกลุ่ม องค์กรทางธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีจุดยืนด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน
จะทำอะไร?
การบริหารองค์กรที่ยังมีมมุมมองด้านความยั่งยืนที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ จะทำให้การทำงานด้านนี้ขององค์กรอาจให้น้ำหนักไปกับเรื่องที่จับต้องได้ ประเมินผลได้เร็ว เช่น ปัญหาในประเด็น สิ่งแวดล้อม หรือ ด้านพลังงาน ทว่า มิติด้านสังคมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกลับได้รับการพูดถึงหรือนำมาใช้อย่างไม่เด่นชัดในหลายองค์กรภาคธุรกิจ เมื่อถามว่าทำอะไรเพื่อความยั่งยืนในมิติสังคม คำตอบก็จะวนเวียนกันที่การทำโครงการสุขภาพ การศึกษา และ สิทธิมนุษยชนสำหรับแรงงานและคู่ค้า ทั้งที่กระบวนการทำธุรกิจสามารถส่งผลกระทบในเชิงบวกและลบให้กับบุคคลหลายกลุ่ม และ หลายรูปแบบปัญหา นับตั้งแต่การบูรณาการเรื่องการเปลี่ยนอุณหภูมิและผลกระทบต่อแรงงานในประเทศที่มีความเสี่ยงภัยอันมาจากการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ เช่น แรงงานในหมู่เกาะแถบแปซิฟิก หรือในกลุ่มซีกโลกใต้
ดังนั้น การที่องค์กรจากภาคธุรกิจคิดว่าจะต้องทำอะไรนั้น คำตอบควรจะอยู่ที่การทำงาน บนพื้นฐานความสมดุลของระบบนิเวศน์ ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม วัฒนธรรม ความเท่าเทียมในการดำรงอยู่ในสังคม ดุลยภาพของสิทธิและอ านาจ ในการจัดการตนเอง รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสมดุลใหม่ในปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคต รวมถึงการเตรียมการเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันและอนาคต
เมื่อสังคมคือเรื่องสำคัญ
ความเปลี่ยนแปลงในทางสังคมทั่วโลก รวมไปถึงความสามารถในการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเพื่อที่เราจะไม่ต้อง ‘แก้ปัญหาหนึ่งเพื่อนำไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง’ จึงเป็นความท้าทายของมนุษย์ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่มีพลังและขับเคลื่อนการอยู่รอดของพวกเราทุกคน การเล่นบทผู้นำด้านความยั่งยืนจึงเป้นแรงกระตุ้นที่นำปสู่การปฏิวัติชีวิตและการทำงานที่มีผลกระทบในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ
การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรจากภาคส่วนต่างๆจึงเป็นการผลักดันงานด้านความยั่งยืนให้เกิดมรรคผลสูง ตัวอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคมที่จะถึงนี้ The Better ร่วมมือกับ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ซี่งเป็นโรงเรียนด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการเพื่อความยั่งยืนอันดับต้นๆในเอเชีย ในการจัดเวทีวิชาการสาธารณะ The 2023 Sustainable Symposium เพื่อเป็นการสร้างบทสนทนาระหว่างกลุ่มนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งจาก CMMU และคณะอื่น เช่น วิทยาลัยศาสนศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร เป็นต้น รวมไปถึง สื่อมวลชน นักศึกษา และ ชุมชน ว่า อนาคตของความยั่งยืนทางสังคมนั้นจะเป็นอย่างไร บทบาทที่ภาคธุรกิจควรมีจุดยืน และก้าวได้ไกลกว่าองค์กรต่างๆคืออะไร และ ทักษะในการใช้ชีวิตและทำงานที่จำป็นในอนาคตอันใกล้ และไกลควรมีองค์ประกอบอย่างไรในมุมมองจากมิติสังคม
อย่าพลาดงานนี้จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ โดยสถานที่จัดงานคือ สิทธาคาร ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา อย่าพลาดนะครับ
บทความโดย รองศาสตราจารย์ ณัฐวุฒิ พิมพา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล