ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนถือว่าทำหน้าที่ฤดูร้อนได้ถูกต้องสุดๆ เพราะทั้งอุณหภูมิที่ไม่ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียสในแต่ละวัน ยังไม่นับค่า uv index ที่ทำผิวไหม้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง
UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต หรือเรียกว่า “ความแรงของแดด” เป็นการวัดการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในพื้นที่หรือเวลานั้นๆ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี พ.ศ. 2535 และได้นำมาปรับใช้ใหม่โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2537 สำหรับความแรงของแดดเมืองไทยในจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับที่สูง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา (คลิก)
ระดับความรุนแรงของ UV Index หรือ ความแรงของแดด สามารถจำแนกได้ดังนี้ สีสัญลักษณ์/ ระดับความแรง/ การป้องกัน
0–2.9 สีเขียว “ความรุนแรงต่ำ” สวมแว่นกันแดดในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง
3–5.9 สีเหลือง “ความรุนแรงปานกลาง” ควรปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า หากต้องอยู่กลางแจ้งให้หลีกเลี่ยงในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแสงมากที่สุด
6–7.9 สีส้ม “ความรุนแรงสูง” ปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า สวมหมวก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ อยู่กลางแจ้งให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
8–10.9 สีแดง “ความรุนแรงสูงมาก” ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อผ้ากันแดด สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และไม่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
11+ สีม่วง “ความรุนแรงสูงจัด” ควรระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด สวมหมวกที่สามารถปกปิดได้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานกว่า 3 ชั่วโมง
ควรดูแลผิวตัวเองด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอหรือแพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก สามารถป้องกันตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม เพื่อสุขภาพผิวพรรณและดวงตาในระยะยาว
ค่า UV index วันพรุ่งนี้ (3 เมย.) ช่วงเที่ยงจะขึ้นไปถึง 12 ซึ่งสูงมาก สำหรับคนเอเชียผิวขาวเหลือง ใช้เวลาไม่เกิน 28 นาทีจะผิวไหม้แดด ช่วงเวลาที่ไม่ควรออกแดด หรือต้องปกป้องผิวจากแดดคือ 9.00-17.00 โดยประมาณ
— Thidakarn (@thidakarn) April 2, 2024
ข้อมูลจาก https://t.co/UllF67GrPi pic.twitter.com/OZgCRdFyDV
ปัญหาด้านสุขภาพโดยอาจส่งผลแบบเฉียบพลันและเรื้อรังต่อสุขภาพของผิวหนัง ตา และระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผิวไหม้ หรือที่เรียกว่า Sunburn โรคกระจกตาอักเสบ และโรคมะเร็งผิวหนัง ข้อแนะนำในการป้องกันรังสี UV จากดวงอาทิตย์คือ ควรตรวจสอบค่า uv index ทุกวัน อยู่ในที่พักอาศัย อาคาร ในร่ม ที่กำบังแดด ในช่วง 09:00 - 15:00 น. ควรสวมหมวกปีกกว้างเพื่อให้มีร่มเงาถึงคอ ใส่แว่นกันแดด ปกป้องดวงตาและผิวรอบดวงตา สวมชุดป้องกันรังสี เช่น เสื้อผ้าแขนยาว เนื้อผ้าทอแน่น สุดท้ายควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF50 ก่อนออกข้างนอกทุกครั้ง