เพิ่มฉลากและภาพคำเตือนบนบรรจุภัณฑ์แอลกอฮอล์ ช่วยลดจำนวนคนดื่มได้จริงหรือ?
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สมาคมผู้ประกอบการท้องเที่ยวและบริการ โรงแรม ร้านอาหาร และเครื่องดื่มแอลกอฮบ์ รวมตัวจัดงานเสวนาเพื่อแสดงเจตจำนงคัดค้าน ร่าง ประกาศคณะกรรมการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. ....
ตามที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ออกร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. .... โดยร่างประกาศฯ ดังกล่าวบัญญัติให้ต้องปิดรูปภาพและข้อความคำเตือนลงบนพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ30 หรือร้อยละ 50 ของพื้นผิวบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ ขวด และกระป๋อง รูปภาพคำเตือนดังกล่าวมลักษณะเป็นภาพถ่ายแสดงความรุนแรงหรืออุบัติเหตุและโรคภัย ขนาดใหญ่ลงบนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับกรณีบรรจุภัณฑ์ยาสูบ
เครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เห็นตรงกันว่า ร่างประกาศฯ ฉบับนี้ไม่สมเหตุสมผล ไม่สอดคล้องหรือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเร่งผลักดันการฟื้นฟูและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ขัดกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ด้านท่องเที่ยวและด้านอาหาร อีกทั้ง จำกัดเสรีภาพของผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคจนเกินสมควร
นางสาวเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) กล่าวว่า "ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ถือว่าใหม่ เคยมีการพูดถึงมรปี 2009 และอีกครั้งในปี 2014 ทั้งยังได้มีความกังวลมาจากกรมการค้าระหว่างประเทศว่าสิ่งที่เราทำไม่เป็นสากล เพรากสากลใช้วัญลักษณ์เล็กๆ เช่น ดื่มไม่ขับ และ ท้องไม่ดื่ม ซึ่งผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตในประเทศ และ ผู้นำเข้าได้มีการทำสัญลักษณ์ทั้งสองมาใส่ด้วยความสมัครใจตั้งแต่ปีก่อน การไม่เป็นสากลนี้ถือว่าเกินไป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ในหมวดหมู่ 'อาหาร' โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) หากทำแบบนี้กับกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่เป็นน้ำอัดลม ขนมกรอบแกรบจะต้องทำด้วยเพราะอยู่ในหมวดเดียวกัน"
หากเทียบกับกรณีบรรจุภัณฑ์ยาสูบที่มีการบังคับใช้ให้ใส่ภาพและคำเตือนบนบรรจุภัณฑ์ มองว่าทำให้คนสูบบุหรี่ลดลงหรือไม่ น.ส.เขมิกากล่าวว่า เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะคนไม่กลัว จำเป็นต้องเปลี่ยนภาพให้น่ากลัวยิ่งขี้น" นั่นเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าการใส่ภาพและคำเตือนไม่ได้ช่วย แต่การให้ความรู้เกี่ยวกับการดื่มแก่เยาวชน และการบังคับใช้กฎหมายเช่นเรื่องเมาแล้วขับ นั้นเป็นทางออกที่ดีกว่า เดิมทีผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคำเตือน เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค บางรายเพิ่มขนาดคำเตือนให้ใหญ่กว่าข้อกำหนด จึงอยากเสนอให้เปลี่ยนจากภาพน่าเกลียดเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากลดีกว่า
ยังไม่รวมถึงการทำลายภาพลักษณ์และลดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ลงไป บางแบรนด์ที่นำเข้าราคาสูงหลักหมื่นหลักแสน บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการดีไซน์เพื่อบ่งบอกตัวตนของแบรนด์ เป็นที่นิยมในการเก็บสะสมของเหล่านักดื่ม การใช้กฎดังกล่าวเป็นการลดคุณค่าแบรนด์ และลดคุณค่าของงานดีไซน์ ทั้งยังเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการรายเล็กเนื่องจากการใส่คำเตือนนั้น แต่ละภาพ 1 พันขวด/ กระป๋อง เท่ากับว่าเดิมทีถ้าผู้ประกอบการมีกราฟิกเพียงแค่ 1 แบบต้องปรับเพิ่มเป็น 6 แบบถือเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ผลิตและสุดท้ายกระทบต่อผู้บริโภค คาดการณ์ว่าหากกฎหมายนี้มีการบังคับใช้จะมีผู้ประกอบการหายไปจากท้องตลาดราวร้อยละ 50
"ไม่มีประเทศไหนทำ แต่ไทยจะเป็นประเทศแรกที่ทำ ลองคิดว่าถ้าเราเป็นเจ้าของแบรนด์ ขวดละแสน คงไม่อยากส่งมาไทย มันตัดสินใจได้ง่าย ว่าเมืองไทยไม่ใช่ที่ที่ควรขาย เพราะไม่ศิวิไลซ์ หรือเราต้องกินของหนีภาษีต่อไป" น.ส.เขมิกาตั้งคำถาม
น.ส.สุวิสุทธิ์ โลหิตนาวี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไร่องุ่นและผลิตไวน์องุ่น ตัวแทนจากแบรนด์ไวน์ไทยและร้านอาหาร (GRANMONTE)กล่าวว่า "กรานมองเต้ (GranMonte) จากเขาใหญ่ เป็นของชูหน้าชูตาประเทศไทย เสิร์ฟผู้นำในการประชุมเอเปค 2022 และเป็นความภูมิใจของกระทรวงพาณิชย์ แต่พอหันหลังขวดกลับมา เราจะขายขี้หน้าแค่ไหน"
"ผู้ประกอบการเสียโอกาสในการทำธุรกิจ นักท่องเที่ยว ผู้บริโภคเสียอารมณ์ รัฐเสียรายได้ ไวน์ถูกรังสรรค์ปรุงแต่งด้วยความรักและศิลปะ ดื่มด้วยสุนทรียะ หากมีการออกกฎหมายให้ปิดภาพไม่น่าดู ลองคิดดูว่า นี่คือไวน์ที่จะไปเสิร์ฟผู้นำโลก มูลค่าที่ภาครัฐต้องการจะหายไป" น.ส.สุวิสุทธิ์กล่าว
กรมควบคุมโรคได้ เปิดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศฯ นี้ตั้งแต่วันที่ 12 – 29 กุมภาพันธ์ 2567ผ่านเว็บไซต์ https://law.go.th/ ซึ่งเป็นระบบกลางทางกฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา