นอนตะแคงซ้าย หรือนอนตะแคงขวาช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนได้ และหากนอนราบหัวต่ำ หลังจากรับประทานอาหารภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดกรดไหลย้อน
นอนตะแคงซ้าย ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนได้ จริงหรือ? ตามที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนอนตะแคงซ้าย ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
มีข้อมูลทางวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันที่อธิบายความสัมพันธ์ของการนอนตะแคงซ้าย สามารถลดโอกาสที่จะเกิดกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากมีรายงานจากการวิจัยพบว่า นอนตะแคงขวา อาจทำให้เกิดการไหลย้อนของกรดได้มากกว่าการนอนตะแคงซ้าย การนอนตะแคงซ้ายหรือขวานั้นช่วยเรื่องอาการเสบร้อนจากกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากถุงเก็บอาหารในกระเพาะจะอยู่ทางด้านซ้าย เมื่อเรานอนตะแคงซ้าย ถุงจะย้อยลงรูเปิดหลอดอาหารที่ลงไปยังกระเพาะจะอยู่เหนือระดับกรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะ ฉะนั้นกรดจึงจะไม่ไหลย้อนขึ้นมา
แต่เมื่อใดก็ตามที่เรานอนตะแคงขวา รูเปิดหลอดอาหารจะอยู่ต่ำกว่าระดับของกรดและอาหารในกระเพาะ ทำให้สามารถย้อนกลับมาได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนมากขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การไหลย้อนของกรดมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลด้วยนอกเหนือจากท่านอน ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม งดการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ ไม่ควรนอนหรือเอนหลังภายใน 3 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร เป็นต้น
ผศ.(พิเศษ) นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช ให้คำแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน
- ควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
- ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดหรือคับเกินไป
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการ ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น กาแฟ อาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด น้ำอัดลม เป็นต้น
- ไม่กินอาหารจนอิ่มกินไปโดยดพาะมื้อเย็น
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไป
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ควรนอนหรือเอนหลังภายใน 3 ชั่วโมง หลังมื้ออาหาร
- หนุนหัวเตียงสูงอย่างน้อย 6-8 นิ้วขึ้นไป