Green Finance เครื่องมือยกระดับภาคเกษตรและอาหารไทย

Green Finance เครื่องมือยกระดับภาคเกษตรและอาหารไทย
Green Finance เครื่องมือยกระดับภาคเกษตรและอาหารไทย สู่ความยั่งยืนด้วยแนวคิด G-R-E-E-N

Krungthai COMPASS ประเมินว่า Green Finance หรือการเงินสีเขียวเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ ขณะที่ภาคเกษตร และอาหารทั่วโลกซึ่งมีการปลดปล่อยมลพิษจากการดำเนินกิจกรรมอยู่ในลำดับต้นๆ กลับมีระดับ Green Finance ที่ยังต่ำ โดยหากเทียบเม็ดเงินต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรและอาหารอยู่ที่เพียง 3.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่ำกว่าภาพรวมทุกธุรกิจทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 17.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แต่คาดว่าในปี  2568-2573  ความต้องการ  Green Finance ในภาเกษตรและอาหารจะเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากมูลค่า Climate Finance ซึ่งเป็น  Subset  หนึ่งของ  Green  Finance ที่คาดจะสูงกว่าระดับมูลค่าในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ราว 7-44 เท่า

Green Finance ในภาคเกษตรและอาหารจะเป็น Key enabler ที่ช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหา Climate Change รับมือกับปัญหาความเปราะบางของภาคเกษตรไทย ขณะที่สถาบันการเงินในต่างประเทศและไทย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มตื่นตัวในเรื่อง Green Finance ในภาคเกษตรและอาหารมากขึ้น

Krungthai COMPASS แนะนำ หากไทยจะผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมควรใช้แนวคิด GREEN คือ G-Government-ภาครัฐมีส่วนสำคัญในการผลักดัน R-Reward-การสร้างแรงจูงใจในการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน E-Educate-เร่งสร้างองค์ความรู้ด้านการเงินที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม E-Engage-การกำหนดเป้าหมายที่วัดได้อย่างชัดเจนร่วมกัน และ N-Network-สร้างความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง