สรุปสถานการณ์: เมื่ออิสราเอลถูกถูกโจมตีและเข้าสู่ภาวะสงครามตุลาคม 2566

สรุปสถานการณ์: เมื่ออิสราเอลถูกถูกโจมตีและเข้าสู่ภาวะสงครามตุลาคม 2566
สรุปสถานการณ์ เกิดอะไรขึ้นที่อิสราเอล ปาเลสไตน์โจมตีจนเข้าสู่ภาวะสงคราม 

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 อิสราเอลถูกโจมตีและถูกรุกราน จุดเริ่มต้นมาจากการประสานการโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์หลายกลุ่มต่อเมืองต่างๆ ของอิสราเอลที่อยู่ใกล้เคียงปาเลสไตน์ และจุดผ่านแดนฉนวนกาซา ที่ตั้งทางทหารอิสราเอลที่อยู่ติดกัน และพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของพลเรือนอิสราเอล นี่เป็นความขัดแย้งโดยตรงครั้งแรกภายในดินแดนอิสราเอลนับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2491 

สงครามครั้งนี้เรียกว่าอะไร?
สำหรับฝ่ายปาเลสไตน์ เรียกว่า "ปฏิบัติการอัลอักศอท่วมถาโถม" (Operation Al-Aqsa Deluge) ฝ่ายอิสราเอลเรียกวว่า "ปฏิบัติการดาบเหล็ก" (Operation Swords of Iron) เหตุการณ์นี้มักเรียกกันว่า "อินติฟาเฎาะฮฺ ครั้งที่ 3" ซึ่งคำว่า ""อินติฟาเฎาะฮฺ" หมายถึงการการลุกฮือ หรือขบวนการต่อต้าน ในภาษาอาหรับร่วมสมัยหมายถึงการลุกฮือต่อต้านการกดขี่โดยชอบด้วยกฎหมาย และมักใช้กับการลุกฮือของปาเลสไตน์ต่ออิสราเอล

เบื้องหลังของเหตุการณ์นี้
อิสราเอลเคยควบคุมฉนวนกาซาเอาไว้ แต่ในปีพ.ศ. 2536 อิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ลงนามในสนธิสัญญาออสโลเพื่อจัดตั้งหน่วยงานปกครองปาเลสไตน์โดยมีการควบคุมการบริหารที่จำกัดในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ตามข้อตกลง อิสราเอลยังคงรักษาการควบคุมน่านฟ้า พรมแดนทางบกของฉนวนกาซา (ยกเว้นพรมแดนกาซากับอียิปต์ ซึ่งอิสราเอลละทิ้งในปี พ.ศ. 2548) และน่านน้ำอาณาเขต

ในปี พ.ศ. 2548 อิสราเอลถอนทหารออกจากฉนวนกาซาเพียงฝ่ายเดียว พร้อมด้วยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลหลายพันคน อิสราเอลจึงอ้างว่ายุติการยึดครองแล้ว อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติอิสราเอลยังคงควบคุมน่านน้ำและน่านฟ้าอาณาเขตของฉนวนกาซาต่อไป แม้ว่าฉนวนกาซาจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลและชาวกาซาไม่มีหนังสือเดินทางของอิสราเอลก็ตาม

ดังนั้นแม้ว่าอิสราเอลจะถอนกำลังออกไป แต่ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาและอิสราเอลก็ยังขัดแย้งกันนับตั้งแต่อิสราเอลถอนตัวออกจากฉนวนกาซาในปี พ.ศ. 2548 ความรุนแรงมากขึ้นหลังกลุ่มฮะมาส (หรือที่นิยมเรียกว่า "ฮามาส") เข้าควบคุมฉนวนกาซาหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งฮามาสเป็นฝ่ายติดอาวุธหัวรุนแรง และไม่ยอมให้มีรัฐอิสราเอล ทำให้เกิดการปะทะกับกลุ่มฟะตะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประนีประนอมให้ปาเลสไตน์อยู่ร่วมกับอิสราเอลได้

ความขัดแย้งนี้นำไปสู่สงครามกลางเมือง และการขับไล่ฟะตะห์อย่างรุนแรงในเวลาต่อมา หลังจากที่ฟะตะห์แพ้การเลือกตั้งให้กับกลุ่มฮามาส นำไปสู่การแยกรัฐบาลปาเลสไตน์ออกเป็น 2 รัฐบาล ชิงพื้นที่ควบคุมสองส่วนของปาเลสไตน์ที่อยู่คนละจุดกัน คือ รัฐบาลปาเลสไตน์ที่มีรัฐบาลฟะตะห์ในเขตเวสต์แบงก์ และรัฐบาลฮามาสในฉนวนกาซา และทำให้ฉนวนกาซาอยู่ภายใต้การปิดล้อมของอิสราเอลและอียิปต์มาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีรั้วกั้นพรมแดนเอาไว้
 
ที่ผ่านมา เกิดเหตุปะทะกันตามรั้วกั้นระหว่างอิสราเอล-กาซาที่ฉนวนกาซา ฮามาสและอิสราเอลเพิ่งเจรจาสงบศึกเมื่อวันที่ 29 กันยายน โดยมีกาตาร์ อียิปต์ และสหประชาชาติเป็นสื่อกลาง ก่อนการโจมตีครั้งล่าสุด มีชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 247 คนถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอลในปี 2566 ขณะที่ชาวอิสราเอล 32 คนและชาวต่างชาติ 2 คนถูกสังหารในการโจมตีของชาวปาเลสไตน์

นอกจากนี้ ยังเกิดการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอลที่บริเวณมัสยิดอัลอักศอในนครเยรูซาเล็มในเดือนเมษายน 2566 หลังจากการละหมาดรอมฎอนในช่วงเย็น ชาวปาเลสไตน์ก็ปิดล้อมตัวเองภายในมัสยิด โดยได้รับแจ้งจากรายงานว่าชาวยิว วางแผนที่จะบูชายัญแพะที่มัสยิด (ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอิสราเอล) เพื่อเป็นการตอบสนอง ตำรวจอิสราเอลได้บุกเข้าไปในมัสยิดพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจล ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 50 ราย 

เหตุปะทะเกิดขึ้นไม่คาดฝัน
1. ผ่านมาจนถึงเมื่อเวลาประมาณ 06:30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ฮามาสได้ประกาศการเริ่มต้นสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิบัติการอัลอักศอท่วมถาโถม" โดยระบุว่าได้ยิงจรวดมากกว่า 5,000 ลูกจากฉนวนกาซาเข้าสู่อิสราเอลภายในช่วง 20 นาที  สื่ออิสราเอลรายงานว่า มีการยิงขีปนาวุธอย่างน้อย 2,200 ลูกออกจากฉนวนกาซา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คนจากการโจมตีด้วยจรวด

2. กลุ่มฮามาสประกาศระดมกำลัง โดยมีผู้บัญชาการทหารอาวุโส ผู้บัญชาการกองพลน้อย Izz ad-Din al-Qassam  โมฮัมหมัด เดอีฟ เรียกร้องให้ "ชาวมุสลิมทุกหนทุกแห่งทำการโจมตี" และโมฮัมเหม็ด เดอิฟ ยังกล่าวว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อ "การดูหมิ่นมัสยิดอัลอักศอ" และเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอลอาหรับ "ขับไล่ผู้ยึดครองและรื้อถอนกำแพง" ซึ่งหมายถึงแนวกำแพงที่อิสราเอลสร้างขึ้นมากั้นปาเลสไตน์

3. กลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ยังเปิดฉากยิงใส่เรือของอิสราเอลนอกฉนวนกาซา ขณะเดียวกันการปะทะก็เกิดขึ้นระหว่างชาวปาเลสไตน์และกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ในส่วนตะวันออกของรั้วรอบฉนวนกาซา ในช่วงเย็นกลุ่มฮามาสยิงจรวดอีกประมาณ 150 ลูกเข้าโจมตีกรุงเทลอาวีฟ เมืองหลวงของอิสราเอล

4. พร้อมกันนี้ กลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ประมาณ 1,000 นายได้แทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลจากฉนวนกาซาโดยใช้รถบรรทุก รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถปราบดิน เรือเร็ว และพาราไกลเดอร์ มีภาพนิ่งและวิดีโอดูเหมือนจะแสดงให้เห็นกลุ่มติดอาวุธและสวมหน้ากากที่สวมชุดดำขี่รถกระบะ และเปิดฉากยิงในเมืองสเดรอต สังหารพลเรือนและทหารอิสราเอลไปหลายคน

5. คลิปวิดีโออื่นๆ ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่าชาวอิสราเอลถูกจับเข้าคุกและรถถังอิสราเอลที่กำลังลุกไหม้ เช่นเดียวกับกลุ่มติดอาวุธที่ขับยานพาหนะทางทหารของอิสราเอล มีรายงานว่ากลุ่มติดอาวุธได้เปิดฉากยิงในงานเทศกาลธรรมชาติกลางแจ้งด้วย ผู้บุกรุกยังถูกพบเห็นที่เมืองนีร์ออซ เมืองเบเอรี และเมืองเนทีฟฮาอาซารา ซึ่งมีรายงานว่าฝ่ายปาเลสไตน์จับตัวประกัน และจุดไฟเผาบ้านเรือน เช่นเดียวกับในกิบบุตซิม (ชุมชนพึ่งพาตัวเองของอิสราเอล) รอบๆ ฉนวนกาซา 

6. มีรายงานการสู้รบที่ฐานทัพเรอิม มีรายงานว่าตัวประกันถูกจับในเมืองโอฟาคิม ขณะที่บ้านเรือนในเมืองสเดรอต ถูกจุดไฟเผา และมีการใช้ยานรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก ยกพลขึ้นฝั่งเมืองซิคิม โดยรวมแล้ว โคบี ชับไต ผู้บัญชาการตำรวจอิสราเอล กล่าวว่าขณะนี้มีสถานที่เผชิญหน้าระดับสูง 21 แห่งทางตอนใต้ของอิสราเอล ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับฉนวนกาซา และผู้บัญชาการตำรวจอิสราเอล ยังประกาศว่าเกิด "ภาวะสงคราม" แล้ว

7. การโจมตีเกิดขึ้นแบบเหนือความคาดหมาย เบื้องต้นฝ่ายอิสราเอลใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome ซึ่งเป็นระบบป้องกันการโจมตีด้วยจรวดที่ดีที่สุดระบบหนึ่งของโลก รัฐมนตรีกลาโหม ยูอาฟ กัลลันต์ได้อนุมัติการระดมกำลังทหารกองหนุนนับหมื่นคน ในการออกอากาศทางโทรทัศน์ นายกรัฐมนตรีเบนยามิน เนทันยาฮูกล่าวว่า "เรากำลังทำสงคราม" นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่า IDF จะเสริมกำลังการจัดวางแนวชายแดนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่น (หมายถึงกลุ่มอื่นในปาเลสไตน์หรือประเทศอื่น) "ทำผิดพลาดในการเข้าร่วมสงครามครั้งนี้"

8. ข้ามคืนวันที่ 7–8 ตุลาคม คณะรัฐมนตรีความมั่นคงของอิสราเอลลงมติให้ดำเนินการหลายชุดเพื่อที่จะ "การทำลายขีดความสามารถทางการทหารและรัฐบาลของกลุ่มฮามาสและญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์" ตามคำแถลงของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วน IDF กล่าวว่าได้โจมตีเป้าหมายในฉนวนกาซาโดยใช้เครื่องบินขับไล่ มีรายงานว่าโจมตีบริเวณทางทหารของกลุ่มฮามาส 17 แห่ง และศูนย์บัญชาการปฏิบัติการ 4 แห่ง  

ยอดตายและเจ็บทั้งสองฝ่าย
• ชาวอิสราเอลมากกว่า 300 คนถูกสังหาร
บาดเจ็บ 1,590 ราย กลุ่มฮามาสอ้างว่าได้จับนักโทษชาวอิสราเอล 53 คนแล้วส่งพวกเขาไปยังฉนวนกาซา นอกจากนี้ยังอ้างว่าได้จับกุมพลตรี นิมรอด อาโลนี นายทหารรพะดับสูงของอิสราเอล 

• กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ในฉนวนกาซารายงานจำนวนผู้บาดเจ็บในหมู่ "พลเมืองจำนวนมาก" รายงานระบุในภายหลังว่ามีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 198 ราย และบาดเจ็บอีก 1,610 ราย ชาวปาเลสไตน์ 20,000 คนต้องพลัดถิ่น

• กันตา ริจาล เอกอัครราชทูตเนปาลประจำอิสราเอล กล่าวว่า พลเมืองของเนปาลอย่างน้อย 7 คนในอิสราเอลได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีครั้งนี้ และชาวเนปาลเหล่านี้พร้อมด้วยชาวเนปาลอีก 10 คนถูกกลุ่มฮามาสควบคุมตัวไว้ที่ฟาร์มเกษตรกรรมในเมืองอาลูมิม

ปฏิกริยากลุ่มการเมืองสองฝ่าย
ปาเลสไตน์ประกอบด้วยกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ขัดแย้งกันเองบ้างและเป็นพันธมัตรกันบ้าง และทั้งกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มที่เคลื่อนไหทางการเมืองเป็นหลัก การโจมตีดังกล่าวนำโดยกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ รวมถึงฮามาสหรือฮะมาส (Hamas), ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (PIJ) และแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP) กลุ่มเหล่านี้ไม่ยินยอมให้มีการตั้งรัฐอิสราเอล  

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนฝ่ายการเมืองก็ร่วมวงด้วย มาห์มุด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ แห่งกลุ่มฟะตะห์  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยขัดแย้งกับฮามาสมาก่อน และประนีประอนมกับการตั้งรัฐอิสราเอล กลับแสดงการสนับสนุนการโจมตีดังกล่าว โดยระบุว่าชาวปาเลสไตน์มีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองจากการยึดครองของอิสราเอล 

พรรคฝ่ายค้านที่สำคัญทุกพรรคในอิสราเอลได้เสนอให้มีรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฉุกเฉิน แม้แต่กลุ่ม Forum 555 และกลุ่ม Brothers in Arms ที่จัดการคว่ำบาตรเกณฑ์ทหารเพื่อประท้วงการปฏิรูประบบศาล ก็ยังเรียกร้องให้กองหนุนเข้ารับราชการหากถูกเรียกตัว

Photo - Ecrusized, influenced by user Rr016. - Own work, NYT Made using OpenTopoMap data. /( CC BY-SA 4.0)

TAGS: #อิสราเอล #ปาเลสไตน์ #กาซา #สงคราม