ไม่ใช่แค่วงการการเมืองที่ผู้คนต้องเจ็บปวดใจ เมื่อรรคการเมืองที่เทคะแนนให้กลับมาหักหลังความศรัทธา อาการนี้เรียกว่า Betrayal trauma
ความปวดใจเพราะถูกทรยศ (Betrayal trauma) เป็นคำที่คิดค้นขึ้นมาโดย เจนนิเฟอร์ เฟรด (Jennifer Freyd) นักวิจัยด้านจิตวิทยาชาวอเมริกัน เมื่อปี 1994 เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอาการบาดเจ็บ (ทางใจ) จากการถูกหักหลัง เมื่อผู้คนหรือสถาบันที่บุคคลที่คนๆ หนึ่งไว้วางใจ กลับละเมิดความไว้วางใจต่อกัน ทำให้คนๆ นั้นเกิดความเครียด ความผิดหวัง และความบอบช้ำอย่างรุนแรงทางจิตใจ
การถูกทรยศหักหลังจนเจ็บปวดใจเกิดขึ้นได้จากหลายสถานการณ์ เช่น ถูกย่ำยีช่วงวัยเด็กจากคนที่เลี้ยงดูมา หรือคนทั่วไปที่รู้สึกเชื่อมั่นในสถาบันหรือองค์หนึ่งๆ ไว้วางใจว่าพวกเขาจะช่วยปกป้องพวกเขา แต่สถาบันเหล่านั้นทำตรงกันข้าม ความเจ็บปวดทางจิตใจแบบนี้เรียกว่า Institutional betrayal หรือการถูกทรยศโดยสถาบัน
การถูกทรยศโดยสถาบัน เช่น สมาชิกในสถาบันหรือหน่วยงานหนึ่งถูกกระทำย่ำยีมา อาจจะเกิดขึ้นภายในสถาบันที่เขาสังกัดอยู่ แล้วคนๆ นั้นพยายามให้สถาบันที่ตนเองสังกัดช่วยเหลือ แค่สถาบันกลับทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ อาจเพราะต้องการปกป้องชื่อเสียง จนพยายามปิดปากบุคคลนั้น ทำให้เหยื่อรู้สึกเหมือนกับถูก "โจมตีครั้งที่สอง" ซึ่งอาจทำให้ผลกระทบของการบาดเจ็บทางใจรุนแรงขึ้นไปอีก
ตัวอย่างข้างต้นเป็นแค่ตัวอย่างรวมๆ มันยังมีการทรยศโดยสถาบันอีกหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ Government betrayal หรือความเจ็บปวดจากการถูกทรยศโดยรัฐบาลหรือองค์กรทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง
"ความเจ็บปวดใจเพราะรัฐบาลทรยศ" คือความรู้สึกว่าถูกชักจูงให้เข้าใจผิด ถูกหักหลัง หรือถูกละเมิดสิทธิโดยหน่วยงานของรัฐ คำว่าหน่วยงานของรัฐอาจหมายถึงรัฐบาล, หน่วยงานราชการ ไปจนถึงตำรวจและทหารที่แทนที่จะปกป้องประชาชนกลับมาทำร้ายประชาชน เช่นในการสลายการชุมนุม
"รัฐบาลทรยศ" ยังหมายถึงการหักหลังโดยพรรคการเมืองต่อผู้มีสิทธิออกเสียงได้ด้วย และมันยังสามารถอธิบายความรู้สึกแบบ "หวานอมขมกลืน" ระหว่างประชาชนที่รักรัฐบาลที่ทำร้ายตนเอง หรือแฟนคลับของพรรคการเมืองที่ทรยศพวกเขา แต่แฟนคลับ (หรือ "ด้อม") เหล่านั้นไม่สามารถสลัดความรู้สึกผูกพันกับพรรคการเมืองได้
การยอมให้เขาหักหลังทั้งๆ ที่เจ็บ เรียกว่า Betrayal Blindness (ไม่ยอมรับรู้ว่าตัวเองถูกหักหลัง) ที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเจ็ยปวดเพราะถูกหักหลัง เพราะเหนื่อ (หรือด้อม) รู้สึกว่าตัวเองยังต้องพึ่งพาสถาบันหรือคนนั้นๆ รู้สึกว่าพวกเขาคือเสาหลัก เปินผู้มีพระคุณ เป็นฮีโร่ ทั้งๆ ที่พวกเขาทำร้ายตนก็ตาม
ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกของคนอิรักต่อ ซัดดัม ฮุสเซน ที่ทั้งรักทั้งกลัว ในชั้นเรียนจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยออรีกอน ประเทศสหรัฐ (Trauma’s Legacy, Psychology 607, Winter 2004)
ชั้นเรียนนั้นถกเถียงกันเรื่อง "การไม่รับรู้ว่าตัวเองถูกทรยศ การเมือง และจริยธรรม" (Betrayal Blindness, Politics, and Ethics) โดยยกตัวอย่างการให้สัมภาษณ์ของชาวอิรักคนหนึ่งที่บอกกับนิตยสาร Smithsonian ว่า "ผู้คนรักซัดดัมเพราะพวกเขากลัวเขา" คนขับรถของฉันซึ่งเป็นชายอายุ 42 ปีชื่ออาลี อธิบายให้ฉันฟัง "นี่เป็นความรักที่มั่นคงมาก เรามักจะกลัวที่จะพูดความรู้สึกของเรา"