เว็บไซต์ Sohu ของจีนมีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการที่กัมพูชาประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากรที่ในช่วงแรกถูกรัฐบาลทรัมป์ขึ้นสูงถึง 49% ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียน แต่ต่อมาในเวลาหลังจากที่มีการเผยแพร่บทความนี้ ทรัมป์ ประกาศว่าได้ลดภาษีให้กัมพูชาเหลือ 36% เท่ากับไทย
บทความของ Sohu ได้ตั้งคำถามว่า "คุณยอมรับได้หรือไม่ที่ประเทศหนึ่งจะลงนามในข้อตกลงที่คล้ายกับสัญญาขายตัวเองเพื่อรักษาโรงงานเสื้อผ้าของตัวเองไว้?" คำถามนี้ผู้เขียนส่งไปถึงกัมพูชาโดยตรง
บทความอธิบายว่า "ยกตัวอย่างกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม สหรัฐกล่าวว่าหากกัมพูชาไม่เจรจา สหรัฐจะใช้ไม้แข็ง 49% แล้วกัมพูชาล่ะทำอย่างไร? กัมพูชายอมก้มหัวและตอบรสนองทันทีโดยลงนามในข้อตกลงเพื่อช่วยเหลือตนเองอย่างรวดเร็ว สิ่งที่กัมพูชายอมสละคืออำนาจอธิปไตยในนโยบาย แต่สิ่งที่กัมพูชาช่วยไว้ได้คือเส้นชีวิตการส่งออก" พร้อมถามอีกครั้งว่า "ดังนั้นนี่คือการเคลื่อนไหวที่ชาญฉลาด (ของกัมพูชา) หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการถดถอยกันแน่?
อุตสาหกรรมของกัมพูชาก็คือเสื้อผ้า รองเท้า และสิ่งทอ แต่สินค้าพวกนี้ถูกระบุว่าเป็นสินค้าสวมสิทธิ์จากจีน และ "เงื่อนไขใหม่เขียนไว้อย่างชัดเจน ตราบใดที่พบว่าผลิตภัณฑ์จีนส่งผ่านกัมพูชา อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 40% โดยตรง เรียกว่าป้องกันการเลี่ยงภาษี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการปิดกั้นจีนและบีบคั้นกัมพูชา" หากกัมพูชายังทำเช่นนี้ต่อไปคนหลายแสนคนจะต้องตกงาน
บทความจึงตั้งคำถามอีกครั้งว่า "ฮุน มาเนต จะไม่วิตกกังวลได้อย่างไร เขาเพิ่งดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเดียว และด้านหนึ่งก็มีปัญหาเศรษฐกิจและอีกด้านหนึ่งก็มีปัญหาในภูมิภาค" ฮุน มาเนต จึงต้องยอมอ้อนน้อมกับสหรัฐฯ โดยจะตรวจสอบสินค้าสวมสิทธิ์จากจีน ซึ่งเท่ากับปิดกั้นจีนไปโดยปริยาย
บทความเตือนไว้ว่า "บางคนบอกว่านี่เป็นเรื่องของปฏิบัตินิยม เพราะผู้คนต้องอยู่รอด ปกป้องงานและการส่งออก นี่เรียกว่าความจริง แต่ข้าพเจ้าอยากจะบอกว่าความจริงก็มีราคาของมันเช่นกัน"
บทความชี้ให้เห็นว่าข้อตกลงกับกัมพูชาเกี่ยวกับภาษีศุลกากร อำนาจอธิปไตย โดยในช่วงต้นปี 2023 ข้อตกลงที่คล้ายกันปรากฏในข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งในสามประเทศช่วยเหลือบริษัทจีนลักลอบนำสินค้าเข้าประเทศ"
"ครั้งนี้ (เงื่อนไขดังกล่าว) ส่งตรงไปยังกัมพูชา และประเทศทางผ่านคือเป้าการคำนวณ ข้าพเจ้าได้อ่านบันทึกกลยุทธ์จีนของสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งระบุอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างการควบคุมการค้าในประเทศที่สาม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าจีนเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยอ้อมผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กัมพูชาได้กลายเป็นตัวอย่างทั่วไปในครั้งนี้" บทความเตือนว่า"แต่ปัญหาคือ ไม่ใช่แค่สินค้าเท่านั้นที่ผูกติดกับจีน แต่รวมถึงห่วงโซ่อุตสาหกรรมด้วย ลองยกตัวอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา วัตถุดิบมากกว่า 80% มาจากจีน แม้ว่าการส่งออกจะมาจากบริษัทกัมพูชา แต่ภายในยังคงเป็นผ้า กระดุม และสีย้อมของจีน"
ด้วยการใช้แนวทางนี้ เท่ากับสหรัฐฯ กำลังประกาศการแยกตัว หรือทำ Decoupling กับจีน โดยหยุดการพึ่งพาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน แต่เพื่อทดลองการทำ Decoupling จึงใช้ใช้กัมพูชาเป็นตัวอย่าง (หรือหนูลองยา)
"ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าวันหลังจากที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ กลุ่มเจ้าของโรงงานเสื้อผ้าขนาดเล็กและขนาดกลางในกัมพูชาได้จัดการประชุมเพื่อหารือถึงวิธีการแจ้งคำสั่งซื้อส่งออก หลายคนไม่สามารถอธิบายได้ว่าการตรวจสอบแหล่งที่มาหมายถึงอะไร เจ้าของโรงงานรายหนึ่งกล่าวตรงๆ ว่า วัสดุยังคงอยู่ในกวางโจว เราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าผลิตในกัมพูชา"
บทความนี้วิเคราะห์ว่า ในระยะสั้น กัมพูชาได้รับโอกาสหายใจ แต่ในระยะยาวช่องทางเชื่อมโยงระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่่านกัมพูชาอันเป็นเหมือนพื้นที่สีเทา กำลังถูกตัดขาดทีละขั้นตอน
"คำถามคือ เราควรทำอย่างไรหลังจากช่องทางถูกตัดขาด ตลาดอุปสงค์ในประเทศของกัมพูชาสามารถรองรับโรงงานเสื้อผ้าได้มากมายขนาดนั้นหรือไม่? ข้าพเจ้าค้นหาข้อมูลการบริโภคในภูมิภาคของธนาคารพัฒนาเอเชีย ในปี 2023 รายได้ต่อหัวต่อปีของกัมพูชาจะอยู่ที่ประมาณ 1,800 เหรียญสหรัฐ ไม่ต้องพูดถึงการซื้อเสื้อผ้า เพราะหลายคนยังคงกังวลเกี่ยวกับมื้ออาหาร" ดังนั้น กัมพูชาไม่สามารถรองรับตลาดจีนได้อีกต่อไป
"เพื่อนถามมาว่าคิดว่าการทำแบบนี้ คือ การขายตัวเองมั้ย ข้าพเจ้าว่าคำนี้หนักไปและเบาไป เหตุผลก็คือว่ามันเป็นการสูญเสียพื้นที่การค้าอิสระเพื่อแลกกับความผ่อนปรนของสหรัฐฯ เหตุผลก็คือว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายหรือไม่ขายเท่านั้น มันเป็นการเลือกแบบเฉยๆ ถ้าคุณไม่ลงนาม ตลาดจะพังทลายทันที ถ้าคุณลงนาม คุณจะต้องยอมรับข้อตกลงแบบรวมกลุ่มมากขึ้น ในอนาคต ถ้าสหรัฐฯ ขอให้คุณตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าที่ท่าเรือแห่งหนึ่ง คุณจะไม่กล้าให้ความร่วมมือหรือไม่?" บทความระบุ
บทความสรุปว่า "หลายคนบอกว่าการเคลื่อนไหวของฮุน มาเนตเป็นความสมจริงที่ชาญฉลาด แต่ข้าพเจ้าสงสัยจริงๆ ว่า ครั้งต่อไปที่สหรัฐฯ มาเคาะประตู (ของกัมพูชา เหยื่อรายต่อไป) จะเป็นอุตสาหกรรมอื่นหรือไม่" สหรัฐฯ จะมาถามกัมพูชาอีกครั้งว่า จะยอมพึ่งจีนต่ออีกหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะลดภาษีให้อีก ถ้าแบบนี้แล้ว กัมพูชาควรก้มหัวต่อไปหรือไม่?
บทความชี้ว่า ฮุน มาเนตไม่ได้แค่เคลื่อนไหไปตามสถานการณ์ แต่กำลังก้าวเดินบนเส้นทางใหม่ คำถามคือ จีนจะหวนกลับมาบนเส้นทางนี้ ซึ่งก็คือการเชื่อมโยงกับกัมพูชา ได้หรือไม่?
โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo
1. Cambodia's Prime Minister Hun Manet Photo by TANG CHHIN Sothy / AFP
2. US President Donald Trump Photo by ANDREW CABALLERO-REYNOLDS / AFP