หน่วยงานโบราณคดีท้องถิ่นมณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน เปิดเผยการขุดพบกลุ่มหลุมศพอายุมากกว่า 2,000 ปี ทั้งหมด 445 หลุม ซึ่งถือเป็นข้อมูลล้ำค่าสำหรับการศึกษาการฝังศพและแนวปฏิบัติอื่นๆ ในยุคโบราณ
รายงานระบุว่ากลุ่มหลุมศพจากยุคจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (475-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) อยู่ห่างจากหมู่บ้านเซวียจวงของเมืองหลินเฝินไปทางเหนือราว 500 เมตร ถูกค้นพบหลังจากทีมสำรวจที่นำโดยสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซีดำเนินงานนานกว่าหนึ่งปี
ต้วนซวงหลง นักวิจัยของสถาบันฯ เผยว่าหลุมศพกลุ่มนี้มีทั้งขนาดเล็กและขนาดกกลาง พร้อมกับฝังวัตถุทางวัฒนธรรมมากกว่า 700 ชิ้น เช่น เครื่องสัมฤทธิ์ ของใช้ทำจากเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา หยก และกระดูก
ทั้งนี้ ต้วนเชื่อว่าสิ่งที่ค้นพบเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐจนถึงยุคราชวงศ์ฉิน (221-207 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
(ภาพจากสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซี : ตะขอเข็มขัดทำจากสัมฤทธิ์ที่ขุดพบในเมืองหลินเฝิน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน)
(ภาพจากสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซี : หม้อสามขาดินเผาที่ขุดพบในเมืองหลินเฝิน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน)
(ภาพจากสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซี : แหวนหยกที่ขุดพบในเมืองหลินเฝิน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน)
(ภาพจากสถาบันโบราณคดีมณฑลซานซี : ดาบสัมฤทธิ์ที่ขุดพบในเมืองหลินเฝิน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน)