นักวิชาการวิเคราะห์ ทางปฏิบัติยังไม่ชัดว่า "พิธา" จะได้นั่งเป็นนายกคนใหม่ แม้ว่าในหลักการจะเลือกตั้งได้เสียงข้างมาก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การเมืองเรื่องการตั้งรัฐบาลใหม่ตอนนี้ ต้องพิจารณาแยกออกกัน 2 ส่วน คือ ในแง่ของหลักการ กับในแง่ของข้อเท็จจริง ซึ่งในแง่ของในหลักการตอนนี้ถือว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมาก เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
แต่ในของข้อเท็จจริงตอนนี้ พรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองต่างๆ รวม 6 พรรค ได้จับมือกันหลวมๆ ที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลรวมกัน แต่ยังต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกมาก โดยเฉพาะการแบ่งกระทรวงให้แต่ละพรรคจะเป็นที่พอใจและเดินไปร่วมกันได้หรือไม่
"การจับมือร่วมรัฐบาลของ 6 พรรคการเมือง ตอนนี้ถือว่ายังไม่ชัดเจน จนกว่าจะมีการนั่งแถลงข่าวเซ็นเอ็มโอยูร่วมกัน ซึ่งจะถือว่าความชัดเจนการร่วมรัฐบาลจะมีมากกว่าในปัจจุบัน" นายธนวรรธน์
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ในส่วนการเป็นนายกรัฐมนตรีของ นายพิธา ที่ตอนนี้มีเสียงพรรคร่วมอยู่ที่ 310 เสียง และต้องการเสียง สว.ยกมือสนับสนุนให้เป็นนายกอีก 66 เสียง นั้น ในแง่หลักการถือว่าสามารถทำได้ แต่ในแง่ของข้อเท็จจริงไม่ง่ายและยังบอกไม่ได้ว่าจะได้สว. ได้ตามที่ต้องการหรือไม่
"ในทางปฏิบัติผมถือว่ายังไม่ชัดว่า สว. จะยกมือให้นายพิธาครบตามที่ต้องการหรือไม่ ผมจึงมองว่าตรงประเด็นนี้ยังห้าสิบห้าสิบ คือทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้เท่ากัน" นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ด้านเศรษฐกิจวันแรกหลังการเลือกตั้งตลาดหุ้นติบลบแรง ส่วนหนึ่งมองได้ว่านักลงทุนยังกังวลเรื่องการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีแกนนำเป็นพรรคก้าวไกลจะสำเร็จหรือไม่ และการที่หุ้นสัปทานได้รับผลกระทบ ทำให้นักลงทุนกังวลนโยบายของรัฐบาลใหม่จะกระทบต่อการดำเนินงานของหุ้นสัมปทานที่ถืออยู่
"จากที่ผมประเมินจากนักวิเคาะห์การลงทุน ประเมินว่า การที่ พิธา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรียากกว่าที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี" นายธนวรรธน์ กล่าว