พระมหาชนก ต้นแบบผู้มีวิริยะไม่ท้อถอย

พระมหาชนก ต้นแบบผู้มีวิริยะไม่ท้อถอย
โดย...สมาน สุดโต

ชาดกนี้เป็นเรื่องที่ 2 ในพระเจ้าสิบชาติ และกลายเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงนิพนธ์ตามท้องเรื่องโดยดัดแปลงเล็กน้อย ฉบับที่ได้รับความนิยมสูงคือฉบับการ์ตูน

เรื่องพระมหาชนกนเกิดในกรุงมิถิลา โดยมีกษัตริย์นามว่าพระเจ้ามหาชนก ปกครอง พระองค์มีพระโอรสอยู่ 2 พระองค์ 

องค์โตคือพระอริฏฐ มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเชี่ยวชาญในการรบ  

องค์เล็กคือ พระโปลชนก จิตใจอารีสุขุมรอบคอบฉลาดเฉลียว 

ครั้นเมื่อพระเจ้ามหาชนกสวรรคต อริฏฐโรสองค์โตได้ขึ้นครองราชสมบัติ 
 
แต่ด้วยความละโมบของอำมาตย์ ที่ไปเพ็ชทูลพระอริฏฐว่าโปลชนกผู้นัอง คิดขบถ จะเป็นอันตรายต่อบัลลังก์ ถ้าไม่ทรงทำอะไร อีกไม่นานบัลลังก์ของพระองค์จะต้องลุกเป็นไฟ 

กษัตริย์อริฏฐ ฟังบ่อยๆ จึงเชื่อ สั่งจองจำโปลชนกผู้น้อง

ส่วนโปลชนก เมื่อถูกจองจำ ทั้งที่ไม่มีความผิด จึงอธิษฐานว่าถ้าเราผิด เครื่องพันธนาการและประตูที่ปิด จงอยู่อย่างเดิม

แต่ถ้าไม่ผิดขอให้เครื่องพันธนาการจงหลุดและประตูที่ปิดจงเปิดออก

ด้วยบุญญาบารมีเครื่องพันธนาการ จึงหักออก ประตูก็เปิด

พระโปลชนกก็หนีออกจากที่คุมขังไปอาศัยอยู่ที่เมืองชายแดน ประชาชนที่จงรักภักดีติดตามไปด้วย เมื่อแรกตั้งใจจะยกทัพไปเจรจากับพระอริฏฐผู้พี่ แต่อำมาตย์ชั่ว กลับทูลว่าโปลชนกจะมาชิงราชสมบัติ

จึงเกิดสงคราม

อริฏฐชนกรบแพ้และก่อนตาย พี่น้องทำความเข้าใจกันได้ อริฏฐกษัตริย์จึงฝากลูกเมียกับโปลชนก

ส่วน มเหสีของกษัตริย์อริฏฐชนก ตั้งท้องอยู่ กลัวภัย จึงเก็บของมีค่าติดตัว และปลอมตัวเดินทางไปกาลจัมปากนคร

แต่ไม่รู้ทิศทางจึงนั่งที่ศาลาข้างทางเพื่อสอบถามทางที่จะไปเมืองนั้น

ด้วยอานุภาพพระโพธิสัตว์ในครรภ์ของพระมเหสี ที่ร้อนถึงท้าวสักกะเทวราช ท่านจึงแปลงเป็นชายแก่ขับเกวียน

ผ่านมาไถ่ถามคนเดินทาง เมื่อทราบจุดหมาย จึงพาส่งถึงเมืองนั้นและให้นั่งในศาลาแห่งหนึ่ง ในเวลาเดียวกัน

พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ มาพบมเหสีนั่งที่ศาลางามสะดุดตาสอบถามแล้วรับอุปการะในฐานะน้องสาว


 
ต่อมามเหสีคลอดราชกุมาร นางจึงตั้งพระนามตามพระอัยกา(ปู่)ว่าพระมหาชนก

ส่วน พระมหาชนกเมื่อเป็นเด็กมีเรื่องชกต่อยกับเด็กวัยเดียวกันที่ล้อเลียนว่าลูกไม่มีพ่อ

จึงถามแม่ว่าใครเป็นพ่อ แม่ก็บอกว่าพราหมณ์ทิศาปาโมกข์นั้น

แต่ไม่เชื่อ คะยั้นคะยอจนมเหสีบอกความจริง

เมื่อรู้ว่ากษัตริย์ แห่งมิถิลานครเป็นพระราชบิดา
พระองค์จึงตั้งพระทัยร่ำเรียนศิลปะวิชาทุกแขนง จนแตกฉานและเมื่ออายุ 16 ปี คิดทำการค้าหาทุน ไปยึดมิถิลานคร จึงขอทรัพย์กึ่งหนึ่งของแม่เอาไปลงทุน

พระมเหสีผู้เป็นแม่ไม่เห็นด้วยเพราะค้าขายทางมหาสมุทรเสี่ยงภัยสูง แต่พระมหาชนกมั่นใจ จึงมอบทรัพย์ที่นำติดตัวมาจากมิถิลานคร
ให้ตามที่ขอ

เมื่อมีทุนจึงซื้อสินค้าลงเรือเดินสมุทร พร้อมพ่อค้าวาณิช เพื่อไปค้าขาย ที่สุวรรณภูมิ

ขณะที่เรือแล่น ท่ามกลางมหาสมุทร เกิดพายุแรงทำให้เรืออัปปาง

บรรดาพ่อค้าวาณิชวิงวอนเทพต่างๆให้ช่วย ในขณะว่ายน้ำ จึงเป็นอาหารปลาและเต่า

ส่วนพระมหาชนก ได้ปีนเสากระโดงเรือ แล้วโดดให้ไกลจากสัตว์น้ำที่กัดกินมนุษย์ แล้วว่ายน้ำบ่ายหน้าไปทิศทางที่คิดว่ามิถิลานคร ตั้งอยู่
และวันที่สำเภาของพระมหาชนกออัปปางนั้น ตรงกับวันที่กษัตริย์โปลชนกแห่งมิถิลานคร สวรรคต 

พระมหาชนก ว่ายน้ำด้วยความเพียร ถึง 7 วันความเพียรกล้าหาญยังเหมือนเดิม ในวันที่ 7 เป็นวันอุโบสถ จึงบ้วนปากด้วยน้ำทะเล สมาทานอุโบสถศีล ไม่ละไม่ล้างวิริยะ "ความเพียรนี้จึงจัดเป็นปรมัตถะบารมี"

จะกล่าว ถึงนางมณีเมขลา ผู้เฝ้ามหาสมุทร เห็นพระโพธิสัตว์ ทำความเพียรไม่ลดละเช่นนั้น ก็ปรารถนาจะไปช่วย แต่ก็ลืมไป จนกระทั่งเข้าวันที่ 7 นึกขึ้นได้ จึง จึงเหาะมาที่ พระมหาชนก ที่ว่ายน้ำอยู่ จึงตรัสแก่ มหาชนกว่า ท่านกำลังเผชิญมรณภัยกลางมหาสมุทรเพราะอะไร มหาชนกได้เห็นรูปนางและเสียงไพเราะจึงคิดว่าเป็นเทพธิดา จึงอ้อนวอนให้ช่วยจากมรณภัย

นางเมขลาฟังเรื่องราวทั้งหมดจึงตกลงช่วย อุ้มพระมหาชนกเหาะ มาวางที่มงคลทิพย์อาสน์ในอุทยานของโปลชนก 

ส่วนพระมหาชนกนอนหลับสนิท จนกระทั่งราชรถเสี่ยงทายแห่งมิถิลนคร มาเกย 

บรรดาอำมาตย์จึงปลุกด้วยเสียงดุริยางค์ คิดว่าถ้าไม่มีบุญบารมีต้องตกใจ วิ่งเตลิดไป แต่มหาชนก เมื่อถูกปลุกด้วยเสียงดุริยางค์ ตื่นขึ้น ไม่ตกใจ และไม่ลุกขึ้น กลับพลิกตัวนอนต่อ อำมาตย์แน่ใจว่ามีบุญญาธิการ จึงเปิดผ้าคลุมเท้าดู ลักษณะ พบว่า เป็นผู้มีบารมี มิใช่สามารถ ปกครองแค่หนึ่งทวีปเท่านั้น อาจถึง 4 ทวีปก็ได้

จึงเชิญให้ประทับ เหนือบัลลังก์เพื่อปกครองมิถิลานคร

ต่อมาเสกสมรส กับ พระนางสีวลี ราชธิดา ของ โปลชนก มีราชบุตร 1 องค์ตั้งพระนามว่า ฑีฆาวุกุมาร

(จบตอนที่ 1)

TAGS: #พระมหาชนก